พุทธรักษาหลากสี

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ดอกพุทธรักษา วันพ่อค่ะ....


ดอกสีชมพูนี้ของยายอิ๊ดเองค่ะ พยายามหามาปลูกให้ได้ทุกสี ต้นนี้ได้พันธุ์ มาจาก ลานสกา ทางผ่านไปสวน ลงไปขอดื้อๆๆ กล้าขอ เขาก็กล้าให้ ไม่อายเลย เพราะอยากได้ ส่วนขวามือ ดอกนั้นมาจากขี้มือของยายอิ๊ดเองค่ะ



ภาพดอกพุทธรักษาที่ลอกเพื่อนมาจากมากมาย


จากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maipradab&month=21-09-2009&group=2&gblog=4



จาก http://play.kapook.com/photo/show-85168 


จากhttp://gotoknow.org/file/sasinanda/view/277103 


จากhttp://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=1709:qq-&catid=13:2009-07-22-02-38-10  แบบแคระ



 



ประวัติพุทธรักษา


ถ้าเราย้อนหลังไปในอดีตสักร้อยปี จะพบว่าพุทธรักษาเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและถูกนำมาปลูกอย่าง แพร่หลายในสวนทั้งขนาดเล็กและใหญ่ หลังจากนั้นไม่นานความนิยมก็ลดลงแต่ก็ฟื้นกลับมาอีกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พุทธรักษาเป็นไม้ดอกระดับนานาชาติโดยหลายๆประเทศยอมรับให้เป็นไม้หลักในการ ตบแต่งสถานที่ที่สำคัญๆ ลักษณะช่อดอกที่หลากสีสร้างความเร้าใจให้กับนักจัดสวนยุคใหม่ที่เน้นไม้ที่ ปลูกง่ายและสวยงามอยู่เสมอ


ชื่อไทยของพุทธรักษานั้นไม่มีการบันทึกว่าตั้งโดยผู้ใดแต่เป็นชื่อที่ ไพเราะมีความหมายเหมาะกับวัฒนธรรมของบ้านเราที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำ ชาติที่ชาวพุทธทุกคนควรปกป้องและรักษาไว้ แต่ชื่อสากลที่เรียกว่า แคนนาส์ (Cannas) มาจากศัพท์ของ
ภาษากรีกที่เขียนเป็นอังกฤษว่า (Kanna) ที่หมายถึง ต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นอ้อ มีการเรียกไม้นี้ในต่างประเทศอย่างหลากหลาย อาทิเช่น แคนนา ลิลี่ (Canna lily) อินเดียนช็อตแพล้น (Indian short plant) ฯลฯ ในประเทศสเปน ชาวบ้านนำเมล็ดที่กลมแข็งสีดำมาใช้ทำลูกปัด เครื่องดนตรีที่เรียกว่า โฮชา (Hosha) ของชาวซีมบาเว ที่ใช้ในการเขย่านั้นใช้เมล็ดพุทธรักษาเป็นส่วนประกอบ


พุทธรักษาเป็นไม้ในเขตร้อนตามบันทึกถูกพบครั้งแรกในหมู่เกาะเวสอินดี้ และแถบอเมริกาใต้ จะพบได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอนในเขตต่างๆอย่างไรก็ตามไม้นี้ถูกนำมาพัฒนา เป็นไม้ประดับและขยายพันธุ์ให้ดีขึ้นโดยชาวยุโรปในช่วงเวลาหลายปีนั้นต้นไม้ ได้มีการปรับตัวให้ทนกับทุกสภาพอากาศในประเทศต่างๆแม้ว่าสภาพอากาศในเขตที่ หนาวจัดเป็นอุปสรรคในการปลูกแต่ถ้าสามารถเข้าใจวงจรการเจริญเติบโตของมัน แล้วการใช้เทคนิคต่างๆก็สามารถชนะธรรมชาติได้ในที่สุด


ข้อมูลดีๆจาก: http://www.lilavadee.com


มีความสุขค่ะ ยายอิ๊ดคนงาม

ความเห็น

กำลังสะสมอยู่ค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

แม่ข้าวเหม่าชอบสีชมพูค่ะ แต่จะว่าไปแล้วก็สวยหมดทุกสีเลยค่ะ

ยายอิ๊ด  สวยทุกสีเหมือนกันค่ะ แต่ชอบเป็นพิเศษ เห็นจะเป็นลายจุดเหลืองส้มค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

วันี้ไปวัดเจอสวยๆหลายสีเลย ..แต่ไม้กล้าของได้แค่ด้อมๆมองๆๆไว้หนัหลังลองเสี่ยงดวงดู ชอบสีเหลือเหมือนกันค่ะ..วันี้เจอดอกไม้สีเหลืองเด็มเลย


 แต่ไม่ได้เก็บภาพมา...แงๆๆ

ชีวืตที่เพียงพอ..

ที่ร้านลุงผู้พันในห้างก็แจกค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ยายอี๊ด ครับ ดอกสวยงาม เขาชอบแดดจัด หรือ เปล่า ครับ และทนแล้วได้ดีไหม อยาก หามาปลก เหมือน กันครับ

แต่ส่วนใหญ่ที่เขาปลูกกัน เขาอยู่กลางแจ้งนะคะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

เห็นบ่อยแต่ไม่ค่อ ยได้ซึ้ง  เหมือนชีวิตจริงเลย  ตอนมีพ่ออยู่ไม่ค่อยได้ดูแล  พอท่านจากไปอยากดูแลแต่ก้อทำไม่ได้    พ่อจากไป2ปีแล้วคะ     ดูแลท่านแลทำให้ท่านสบายใจทุกๆวันนะคะ กอ่นที่พ่อจะไม่อยู่ให้เราดูแล                  รักพ่อที่สุดคะ

พ่อยายอิ๊ดจากไปนานมาหลายปีได้แล้วค่ะ แต่ยังฝันถึงเกือบทุกคืนค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

อยากให้ภาพดอกไม้ฝีมือยายอี๊ดไปอยู่บนเสื้อจัง ต้องสวยมากแน่ๆ

หน้า