พุทธรักษาหลากสี
ดอกพุทธรักษา วันพ่อค่ะ....
ดอกสีชมพูนี้ของยายอิ๊ดเองค่ะ พยายามหามาปลูกให้ได้ทุกสี ต้นนี้ได้พันธุ์ มาจาก ลานสกา ทางผ่านไปสวน ลงไปขอดื้อๆๆ กล้าขอ เขาก็กล้าให้ ไม่อายเลย เพราะอยากได้ ส่วนขวามือ ดอกนั้นมาจากขี้มือของยายอิ๊ดเองค่ะ
ภาพดอกพุทธรักษาที่ลอกเพื่อนมาจากมากมาย
จากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maipradab&month=21-09-2009&group=2&gblog=4
จาก http://play.kapook.com/photo/show-85168
จากhttp://gotoknow.org/file/sasinanda/view/277103
ประวัติพุทธรักษา
ถ้าเราย้อนหลังไปในอดีตสักร้อยปี จะพบว่าพุทธรักษาเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและถูกนำมาปลูกอย่าง แพร่หลายในสวนทั้งขนาดเล็กและใหญ่ หลังจากนั้นไม่นานความนิยมก็ลดลงแต่ก็ฟื้นกลับมาอีกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พุทธรักษาเป็นไม้ดอกระดับนานาชาติโดยหลายๆประเทศยอมรับให้เป็นไม้หลักในการ ตบแต่งสถานที่ที่สำคัญๆ ลักษณะช่อดอกที่หลากสีสร้างความเร้าใจให้กับนักจัดสวนยุคใหม่ที่เน้นไม้ที่ ปลูกง่ายและสวยงามอยู่เสมอ
ชื่อไทยของพุทธรักษานั้นไม่มีการบันทึกว่าตั้งโดยผู้ใดแต่เป็นชื่อที่ ไพเราะมีความหมายเหมาะกับวัฒนธรรมของบ้านเราที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำ ชาติที่ชาวพุทธทุกคนควรปกป้องและรักษาไว้ แต่ชื่อสากลที่เรียกว่า แคนนาส์ (Cannas) มาจากศัพท์ของ
ภาษากรีกที่เขียนเป็นอังกฤษว่า (Kanna) ที่หมายถึง ต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นอ้อ มีการเรียกไม้นี้ในต่างประเทศอย่างหลากหลาย อาทิเช่น แคนนา ลิลี่ (Canna lily) อินเดียนช็อตแพล้น (Indian short plant) ฯลฯ ในประเทศสเปน ชาวบ้านนำเมล็ดที่กลมแข็งสีดำมาใช้ทำลูกปัด เครื่องดนตรีที่เรียกว่า โฮชา (Hosha) ของชาวซีมบาเว ที่ใช้ในการเขย่านั้นใช้เมล็ดพุทธรักษาเป็นส่วนประกอบ
พุทธรักษาเป็นไม้ในเขตร้อนตามบันทึกถูกพบครั้งแรกในหมู่เกาะเวสอินดี้ และแถบอเมริกาใต้ จะพบได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอนในเขตต่างๆอย่างไรก็ตามไม้นี้ถูกนำมาพัฒนา เป็นไม้ประดับและขยายพันธุ์ให้ดีขึ้นโดยชาวยุโรปในช่วงเวลาหลายปีนั้นต้นไม้ ได้มีการปรับตัวให้ทนกับทุกสภาพอากาศในประเทศต่างๆแม้ว่าสภาพอากาศในเขตที่ หนาวจัดเป็นอุปสรรคในการปลูกแต่ถ้าสามารถเข้าใจวงจรการเจริญเติบโตของมัน แล้วการใช้เทคนิคต่างๆก็สามารถชนะธรรมชาติได้ในที่สุด
ข้อมูลดีๆจาก: http://www.lilavadee.com
มีความสุขค่ะ ยายอิ๊ดคนงาม
- บล็อกของ ยายอิ๊ด
- อ่าน 9693 ครั้ง
ความเห็น
ยายอิ๊ด
5 ธันวาคม, 2010 - 18:16
Permalink
ป้าแจ้ว
ฝนตกจ้านเหร ที่นี้
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
นายตาโก มารศรี
5 ธันวาคม, 2010 - 16:40
Permalink
ชื่อเป็นมงคล ดอกสวยครับ
ทีบ้านมีสองสี แดงกับชมพู่ สีนี้สังเกตุดูดอกจะอยู่นานครับ
หัวใจสีเขียว
ยายอิ๊ด
5 ธันวาคม, 2010 - 19:02
Permalink
ตาโก หายไปหลายวัน
ไปไหนมาค่ะนี่ หายไป 2-3 วันเลยค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
อาย_สายใย
5 ธันวาคม, 2010 - 17:28
Permalink
ยายอี๊ด
สวยจังค่ะ ฝีมือยายอี๊ด
ยายอิ๊ด
5 ธันวาคม, 2010 - 21:14
Permalink
ขอบใจจ๊ะ
ขอบใจจ๊ะ น้องอาย
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
มาย
5 ธันวาคม, 2010 - 18:58
Permalink
สวยทุกสี
สวยทุกสีค่ะ...
ร่วมรำลึกถึงพ่อด้วยคนค่ะ..
there is a will , there is a way .
ยายอิ๊ด
5 ธันวาคม, 2010 - 21:14
Permalink
ค่ะมาย
ค่ะมาย
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ป้าหน่อย
5 ธันวาคม, 2010 - 19:04
Permalink
ดอกที่3 นับจากล่าง
สวยทุกสีค่ะ
แต่ดอกที่ 3. นับจากล่างขึ้นไป
สีสวยมากค่ะยายอิ๊ด เหลืองแบบนี้ล่ะ
ที่ป้าหน่อยชอบ ไม่รู้จะเรียกเหลืองยังไง
คือไม่แจ่มเกิน นวลกำลังดี สวยจริงๆค่ะ
ลูกอิสานกันดารแท้ แต่บ่อเหี่ยวทางน้ำใจเด้อ
หากแหม่นใหลหลั่งรินปานฝนแต่เมืองฟ้า
มาเด้อพวกพี่น้อง สานสัมพันธ์ให้มันแก่น
ให้ยืนยาวแนบแน่นพอปานปั้นก้อนข้าวเหนียว เด้อพี่น้อง
ยายอิ๊ด
5 ธันวาคม, 2010 - 21:15
Permalink
ป้าหน่อยค่ะ
ใช่ค่ะ สวยจริง เย็นตามากเลยค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
เจ้โส
5 ธันวาคม, 2010 - 19:54
Permalink
ดอกพุทธรักษา
ชอบกลีบดอกที่บอบบางแต่สีสดใส และมีดอกให้ชมตลอด
garden_art1139@hotmail.com
หน้า