ชาเขียว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

                              


ชาเขียว ที่คุ้นเคยแต่อาจไม่รู้จัก 


มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่า มนุษย์เรารู้จักนำเอาใบไม้มาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่มตั้งแต่หลายพันปีก่อน  อย่างช่น การดื่ม "ชา" ซึ่งตั้งต้นมาจากแถวๆ   จีนและอินเดีย  ก่อนจะกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มชาอย่างเช่นทุกวันนี้ที่มนุษย์ดื่มชามากเป็นอันดับสองรองจาก "น้ำ"


ชาแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาเขียว ชาดำ ชาอู่หลง ชาทั้ง 3 ชนิดเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดมาจากใบไม้ในตระกูลเดียวกัน  โดยมีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน  คือ  ชาเขียวจะเป็นใบชาที่ไม่ผ่านการหมัก  ขณะที่ชาอู่หลงจะเป็นชากึ่งหมัก  ส่วนชาดำจะมีการหมักใบชาอย่างเต็มที่  และด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักนี่เองที่ทำให้ชาเขียวมีปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนติอ็อกซิแดนซ์ที่ชื่อโพลีฟีนอล(polyphenols) ในปริมาณสูงที่สุดเมื่อเทียบกับชาอีก 2 ประเภทที่เหลือ รวมถึงมีความเชื่อว่าโพลีฟีนอลนี่เองที่เป็นตัวป้องกันสารพันธุกรรมที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ  รวมถึงป้องกันเซลล์จากอนุมูลอิสระหรือ free radicals ที่เกิดขึ้นจากขบวนการทำงานตามปกติของร่างกาย  จากการเผาผลาญอาหาร  จากการใช้พลังงานของเซลล์ในร่างกาย หรืออาจเกิดจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เช่น รังสีอุลตราไวโอเลต ควันบุหรี่ ควันพิษ และรังสีรักษาต่างๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มมีความเชื่อว่า  เจ้าอนุมูลอิสระนี่เองที่มีส่วนในการทำให้ร่างกายเกิดความ "ชราภาพ"  รวมทั้งยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ และอาจจะเป็นด้วยเหตุนี้ที่ทำให้ในตำราสมุนไพรของจีนและอินเดีย มีการใช้ชาเขียวกระตุ้นการขับปัสสาวะและกระตุ้นหัวใจ นอกจากนี้ยังใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปรับอุณหภูมิ ปรับระดับน้ำตาล กระตุ้นระบบย่อยอาหาร  ชาเขียวอาจส่งผลดีต่อสุขภาพหลายประการดังนี้


ชาเขียวกับการลดคอเลสเตอรอล


     มีผลการศึกษาวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคนพบว่าชาเขียวสามารถลดระดับของไขมันคอเลสเตอรอลได้ด้วยการยับยั้งการดูดซึมไขมันจากลำไส้  ในขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มไขมันอิ่มตัวชนิดดีที่ชื่อ HDL (high density lipoprotein)  อีกด้วย และอาจจะเป็นเพราะเหตุนี้คนจีนจึงมักดื่มชาคู่กับอาหารที่มีความมันในแต่ละมื้อ


     มีการศึกษาติดตามดูคนที่ดื่มชาเป็นเวลานาน  และพบว่าการดื่มชาช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้  เพราะทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ลดลง  แต่หากดื่มชาสม่ำเสมอวันละ 3 แก้ว จะช่วยลดการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือ heart attack ได้ร้อยละ 11 โดยทั้งชาเขียวหรือชาดำให้ผลเช่นเดียวกัน


     ชาเขียวกับมะเร็ง โพลีฟีนอลสามารถหยุดยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมได้จากการศึกษากับคนไข้มะเร็งเต้านมระยะต่างๆ จำนวน 472 รายพบว่า ผู้หญิงที่ดื่มชาเขียวส่วนใหญ่มีการกระจายของมะเร็งน้อยกว่า และยังพบว่าผู้หญิงที่ป่วยระยะแรก หากมีการดื่มชาตั้งแต่ 5 แก้วต่อวันตั้งแต่ก่อนป่วยเป็นมะเร็ง เมื่อรักษาจนกระทั่งโรคสงบแล้ว มีโอกาสที่โรคจะกลับมาเป็นใหม่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มชา (แต่คนไข้ที่เป็นโรคในระยะลุกลามจะไม่ได้รับผลนี้)  สำหรับผู้ชายเอง มะเร็งที่สำคัญและพบมากเป็นอันดับต้นๆ คือมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็มีผลการศึกษาทางห้องปฏิบัติการพบว่า ชาเขียวสกัดสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากในหลอดทดลองได้ อย่างไรก็ตาม การดื่มชาเขียวและชาดำสกัดสามารถกระตุ้นยีนที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งให้มีความไวต่อยาเคมีบำบัดลดลง (ซึ่งเป็นสิ่งไม่ดีสำหรับผู้ป่วย) ดังนั้นผู้ป่วยที่กำลังได้รับยาเคมีบำบัดจึงไม่ควรดื่มชา ไม่ว่าจะเป็นชาดำหรือชาเขียว


วันนี้รู้จักชาเขียวกับโรคที่เกี่ยวข้องเพียงเท่านี้ก่อนนะคะเพราะยังมีอีกหลายหัวข้อ นกขอเล่าต่อยอดในวันถัดไปแล้วกันนะคะ


อ้างอิงจากหนังสือ Health Today โดย รศ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล อายุรแพทย์ด้านโลหิตวิทยา


ปีที่ 10 ฉบับที่  114 กันยายน 2553

ความเห็น

สำหรับข้อมูลเพื่อสุขภาพ


ดีมากๆสำหรับทุกคน

เอามาทำไอศครีมก็อร่อยค่ะ เราดื่มชาเขียวบ่อยค่ะ

ชาเขียว ที่ญี่ปุ่น จะดื่มและทานในพิธี ชงชา พร้อมกับขนมหวานค่ะ  เหตุที่ทานกับขนมหวาน เพราะว่า ชาเขียวจะมีรสขม ค่ะ ชาเขียวนำมาใส่ขนมขายตามร้านทั่วไป ใส่ในกาแฟจะอร่อยและชอบเช่นกันค่ะ

ชอบกลิ่นนี้มาก หอม นุ่มนวล

ชอบชาเขียวเหมือนกัน  ชอบกลิ่นหอม   ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะคะ

ทานบ่อยเหมือนกันค่ะ น้ำชาเขียว ชาเขียวปั่น ไอศครีมชาเขียว แต่บางคนอาจจะไม่ชอบทานค่ะเพราะมีความขมของชาปนอยู่

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

อย่างนี้ต้องเปลี่ยนมาดื่มชาเขียวบ้างแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ไม่ว่าชาเขียว ชาอู่หลง ชาจีนทั่วๆ ไป เมื่อเอาใบชาใส่กา

1.-เติมน้ำร้อนลงไปเท่าที่จะกิน สัก 1-3 นาที จึงรินมากิน

2.-เมื่อจะกินถ้วยต่อไป ก็เติมน้ำร้อนลงไปอีก

เช่นเดียวกับข้อแรก

3.-เติมน้ำลงไป 5-6 ครั้ง หรือ จนกว่าน้ำชาจะจาง จึง

เปลี่ยนใบชาใหม่

      เพียงแค่นี้ จะได้น้ำชาที่ร้อนๆ อุ่นๆ หอม ไม่ขม ทำให้

น่ากินขึ้นกว่า น้ำชาเย็นๆ