rintnn
15 มกราคม, 2011 - 11:40
Permalink
:dong: หาโอกาสไปพักผ่อนบ้างนะคร๊าบ
พอเพียง ก็ เพียงพอ
เทอดศักดิ์ ตุมรลุนทร
15 มกราคม, 2011 - 11:57
อยากให้แนะนำวัดด้วยเพราะได้เพียง๕วัด
ปีนี้จะลองใหม่:bye:
เทอดศักดิ์
15 มกราคม, 2011 - 12:53
1.วัดใหญ่ชัยมงคล (วัดเจ้าพระยาไท หรือวัดป่าแก้ว) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักถ้ามาจากตัวเมืองข้ามสะพาน สมเด็จพระนเรศวร-มหาราช แล้วจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยก เลี้ยวขวาไปไม่ไกลก็จะเห็น ป้าย มีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเซียเลี้ยวเข้าแยกอยุธยา แล้วพบพระเจดีย์ใหญ่กลาง ถนนก็เลี้ยวซ้ายวัดนี้ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อพ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงพระศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท"ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรง สร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับ พระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริม พระเจดีย์ให้ ใหญ่และสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัด สุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระ เกียรติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ ชัยมงคล วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้ายแล้ว เพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ 2.วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” หรือ "วัดพระนางเชิง" 3.วัดธรรมิกราช เป็นวัดสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดมุขราช เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งสร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือ พระเจ้าธรรมิกราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองสังขบุรี ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. 2153) ทรงบูรณะวัดและสร้างวิหารหลวงเพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ และที่วิหารหลวงแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของเศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง ปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สำหรับวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้น พระราชมเหสีของพระองค์ทรงสร้างพระวิหารถวายตามคำอธิษฐานที่ขอให้พระราชธิดาทรงหายประชวร ไว้ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือของพระเจดีย์สิงห์ล้อม 52 ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ช้างล้อม พระพุทธไสยาสน์มีความยาว 12 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ที่ฝ่าพระบาทปิดทองประดับกระจก 4.วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ด้านเหนือของคูเมือง(แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระ-ราชวังหลวง มีชื่อเดิม ว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวใน กรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาทีหลังในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อ สำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบ อย่างเดิมไว้ และได้เชิญพระพุทธรูปศิลานั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี จากวัดมหาธาตุไว้ในวิหารน้อย ซึ่งอยู่ฝั่งขวาของ พระอุโบสถอีกด้วย พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 6 องค์ ที่มีอยู่ใน ประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามากครับ 5.วัดกษัตราธิราชวรวิหาร อยู่นอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมชื่อ "วัดกษัตรา" หรือ "วัดกษัตราราม" เป็นวัด โบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระปรางค์ใหญ่เป็นหลักประธานของวัดครับ 6.วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก นอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา องค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้น ปัจจุบันเป็นวัดร้าง สิ่งก่อสร้างที่เหลืออยู่ มีพระปรางค์ ศรีรัตนมหาธาตุและเจดีย์ราย ตามพระระเบียงคดรอบพระปรางค์ ความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ วัดนี้เป็น ที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ ซึ่งต้องพระราชอาญา โบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกศ วัดไชยวัฒนาราม ได้รับการประกาศขึ้น เป็นโบราณสถาน ของชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และกรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติ-ศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ดำเนิน การบูรณะ ตลอดมาจนปัจจุบันไม่มีสภาพรกร้างอยู่ในป่าอีกแล้ว และยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่ง ใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาดชมอย่างยิ่ง อนึ่งในการเดินทางไปชมวัดสำคัญในประวัติศาสตร์ ในบริเวณนี้ ท่านอาจเหมาเช่าเรือหางยาว จากบริเวณหลังลานจอดรถฝั่งตรงข้ามพระราชวังจันทรเกษมด้าน ทิศตะวันออกของเกาะเมือง ในอัตราลำละ 300-400 บาท เรือจะล่องไปตามลำน้ำป่าสักไปทางใต้ ผ่านวิทยา ลัยการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดพุทไธสวรรค์ โบสถ์โปรตุเกส วัดไชยวัฒนาราม วัดกษัตราธิราช และเจดีย์พระศรีสุริโยทัยอันสง่างามอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การเดินทางมีรสชาติไปอีกแบบ หนึ่ง โดยเฉพาะเวลาพลบค่ำจะเห็นภาพบริเวณวัดไชยวัฒนารามสวยงามมาก 7.วัดพุทไธสวรรย์ อยู่ริมแม่น้ำด้านใต้ ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ทางทิศ ตะวันตกของเกาะเมือง ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราช แล้วเลี้ยวซ้ายจะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็น ระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธสวรรค์ วัดนี้สร้างขึ้นบริเวณที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองอพยพมาสร้างเมือง ใหม่ เดิมบริเวณนี้เรียกว่า "เวียงเล็ก" หรือ "เวียงเหล็ก" ซึ่งเป็นตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ พระปรางค์ประธานองค์ใหญ่เป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนต้นครับ 8.วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ องค์ใหญ่องค์หนึ่ง ในประเทศไทย พระมงคลพิตรนี้ แต่เดิม อยู่ทางทิศตะวันออก นอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ชลอมาไว้ ทางด้านทิศตะวันตก ที่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดให้ ก่อมณฑปสวมไว้ ครั้งถึงแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าเสือ ยอด มณฑปเกิดไฟไหม้ เพราะอสุนีบาต ทำให้พระศอ ของพระมงคลบพิตรหักตกลง จึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นมหาวิหาร แทนเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ วิหารมงคลบพิตร ถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระวิหารและองค์ พระพุทธรูป ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือไม่งดงามอ่อนช้อย เหมือนของเก่า บริเวณข้างวิหาร พระ มงคลบพิตร ทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับ สร้างพระมรุ พระบรมศพ ของ พระมหากษัตริย์ และเจ้านาย เช่นเดียวกับท้องสนามหลวง ของกรุงเทพฯ 9.วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานคร หรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือ และอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มี
อย่าลืมไปแวะชมวัดท่าการ้องด้วยนะคร๊าบ :bye:
สะตอพลัดถิ่น
15 มกราคม, 2011 - 12:51
:cheer3: ไปอยุธยาบ่อยแต่ไม่เคยไปเที่ยว สวยๆอย่างนี้ต้องแวะเที่ยวตลาดน้ำแล้ว
There are currently 0 users online.
ความเห็น
rintnn
15 มกราคม, 2011 - 11:40
Permalink
สวัสดีคร๊าบ
:dong: หาโอกาสไปพักผ่อนบ้างนะคร๊าบ
พอเพียง ก็ เพียงพอ
เทอดศักดิ์ ตุมรลุนทร
15 มกราคม, 2011 - 11:57
Permalink
สวัสดีครับ เคยไปแต่ได้เพียง๕วัด
อยากให้แนะนำวัดด้วยเพราะได้เพียง๕วัด
ปีนี้จะลองใหม่:bye:
เทอดศักดิ์
rintnn
15 มกราคม, 2011 - 12:53
Permalink
สวัสดีคร๊าบ
พอเพียง ก็ เพียงพอ
สะตอพลัดถิ่น
15 มกราคม, 2011 - 12:51
Permalink
ตลาดน้ำ
:cheer3: ไปอยุธยาบ่อยแต่ไม่เคยไปเที่ยว สวยๆอย่างนี้ต้องแวะเที่ยวตลาดน้ำแล้ว
หน้า