มาตามคำขอคุณโสทร

เคยเล่าเรื่องต้นไม้หลายอย่างให้คุณโสทรฟัง 2 ต้นนี้ คุณโสทรอยากเห็น ที่จริงเคยเอาลงให้ดูแล้ว 1 ต้น ครั้งนี้จะให้ดูครบทั้งสองต้น เป็นต้นไม้ที่มีชื่อพ้องกัน ทำให้เกิดการสับสนเป็นอย่างมาก แม้แต่นักวิชาการทางด้านต้นไม้โดยตรงยังสับสนเลย ลองดูนะครับ ใครมีข้อมูลโต้แย้ง หรือแนะนำเพิ่มเติมเชิญได้เต็มที่เพื่อความถูกต้อง

ต้นแรกเท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides) ต้นนี้ชื่อสามัญภาษาอังกฤษยังสับสนมาก

รูปนี้เคยลงไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เป็นที่ใบหยักๆนะครับ และจะเห็นดอกที่มีหนวดคล้ายดอกว่านค้างคาว

เท้ายายม่อมจะมีหัวกลมๆอยู่ในดินใช้ทำแป้งเท้ายายม่อมสำหรับทำขนมไทยหลายชนิด

(รูปนี้เป็นต้นที่ปลูกไว้เอง ตอนนี้ยุบตัวเหลือแต่หัวใต้ดิน)

ต้นนี้ชื่อไม้เท้ายายม่อม (Clerodendrum petalsites) แต่บางที่ก็เรียกเท้ายายม่อมเหมือนต้นข้างบน ชื่ออื่นๆได้แก่ ไม้เท้าฤาษี พญารากเดียว

ดูใบให้ชัดๆ

(รูปไม้เท้ายายม่อมนี้ถ่ายมาจากกรมป่าไม้)

2 ต้นนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือเท้ายายม่อมที่ใช้ทำแป้ง(ต้นแรก)เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนเท้ายายม่อมต้นที่ 2 ที่มีดอกสีขาวนี้ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ประโยชน์ใช้ทำยาสมุนไพร

ความเห็น

ต้นแบบนี้แหละป้าเคยทำขนมให้กิน ใส่กระทงเหมือนขนมกล้วย หรือ ขนมตาลค่ะ แต่ไม่รู้ว่าเขาทำยังไงนะเคยกินเฉยๆค่ะ

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

ที่ว่าต้นนี้แหล่ะหมายถึงต้นบุกใช่มั๊ย เพราะปกติหัวบุกสามารถนำมาทำอาหารได้อยู่แล้ว เอาหัวมาปอกเปลือกออกแล้วนำไปทำอาหารได้เลยไม่ต้องไปทำเป็นแป้งก่อน หรือจะทำเป็นแป้งก่อนก็ได้ ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า Konyakku เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเพราะหัวบุกประกอบไปด้วยสาร glucomannan คนที่เรียนทางด้านโภชนาการย่อมรู้ดีว่ามีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมน้ำหนัก

หมายเหตุ ขอย้ำว่า บุก กับ เท้ายายม่อม เป็นคนละต้นกัน

ใบแบบนี้ ต้นเป็นลายน่ากลัวๆน่ะ ทำขนม ทำแกงส้มได้ด้วยนะ แต่อย่าสัมผัสลำต้นด้วยมือเปล่า เพราะจะคันทั้งวันทั้งคืนเลยค่ะล้างก็ไม่ออก

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

ได้ทั้งความรู้ได้ทั้งอ่านนิทาน ตำนานเท้ายายม่อม ก่อนนอน ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ แบบนี้ครับ สร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ชมกันบ่อยๆ นะครับ ดูจากบล็อกเก่าๆ เห็นมีเถางูเขียวด้วย กำลังอยากรู้เลย แต่อ่านตอนนี้ไม่ไหวแล้ว ขอลาตรงนี้...

ตามรอยพ่อหลวง เรียนรู้แนวคิด ใช้ชีวิตพอเพียง

หน้า