ราคาพืชผักปลอดภัย ที่ว่าการ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (๕ พ.ย. ๒๕๕๓)
รายงานราคาพืชผักปลอดภัย ณ ที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ประจำวันศุกร์ ที่ ๕ พ.ย. ๒๕๕๓ โดยผู้นำเกษตรกรรายย่อย บ้านโสกตลิ่ง อ.บ้านไผ่
คะน้า(เล็ก) ๓๐-๓๕ต้น ๑๐บาท
ผักหวานบ้าน ๑๒ยอด ๕บาท
ผักกาดหอม ๘ต้น ๕บาท
หอมแบ่ง ๑๐ต้น ๕บาท
กะเพรา ๑๓ยอด ๕บาท
ผักกาดเขียวน้อย ๒๕ต้น ๕บาท
ผักชีจีน ๘ต้น ๕บาท
คื่นฉ่าย ๘ต้น ๕บาท
ใบแมงลัก ๘ยอด ๓บาท
ถั่วพู ๖ฝัก ๕บาท
น้อยหน่าดิบ ๓-๕ลูก ๑๐บาท
ยอดชะอม ๕๐ยอด ๑๐บาท
*******************************************************
ป.ล. รายงาน ในเดือนตุลาคม ที่ขาดหายไปเนื่องจาก ผู้นำเกษตรกรรายย่อย ติดภาระกิจสำคัญ ตลอดเดือน ตุลาคม
- บล็อกของ 2s
- อ่าน 6830 ครั้ง
ความเห็น
ตี๋ ครม.
8 พฤศจิกายน, 2010 - 16:19
Permalink
ต้นละบาท
เมื่อตอนเรียนมหาวิทยาลัย แม่ปลูกต้นหอม,ผักชี ส่งผมเรียน เมื่อวันอาทิตย์ คิดถึงต้นหอมแบ่งของแม่ จะไปหามาปลูกให้หายคิดถึง เจอเจ้าเดียว แล้วก็จับคู่กับผักชีหมดแล้ว ที่ยังไม่มีคู่มี3กำ กำละ5 บาท รวมได้มาประมาณ15 ต้น ลงดินแล้วรอวันเติบโต
ตอนเป็นเด็ก....มีแรง มีเวลา แต่ไม่มีเงิน กลางคน.....มีเงิน มีแรง แต่ไม่มีเวลา ปั้นปลาย.....มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรง
2s
8 พฤศจิกายน, 2010 - 16:41
Permalink
ที่สวน เกือบทั้งหมด
ที่สวน เกือบทั้งหมด ใช้สายพันธุ์ หอมแบ่ง ลับแล (ส่วนที่เหลือใช้ สายพันธุ์ นครพนม และนาโพธิ์) สั่ง หัวพันธุ์ ครั้งละ ๑๐๐ ก.ก. ราคา หัวพันธุ์ ๕๕-๙๐ บาท ในช่วง ตลอด ๓เดือนที่ ผ่านมา ราคาสูงมากต่อเนื่องยาวนาน กว่าทุกๆปีครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
ยายอิ๊ด
8 พฤศจิกายน, 2010 - 16:25
Permalink
ผักงาม
ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูล ผักงามมากค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
2s
8 พฤศจิกายน, 2010 - 16:45
Permalink
อิสาน ผักปลอดภัย ปลูกยาก และไม่สวย ใหญ่เท่า ภาคอื่น
ขอบคุณในกำลังใจ ต่อเนื่องเสมอมาครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
ป้าเล็ก..อุบล
8 พฤศจิกายน, 2010 - 17:41
Permalink
ทำไมถูกล่ะ
ที่อุบล คื่นฉ่าย 2 ต้น 5บาท
ถั่งพูสวยจัง ช่วงนี้คงกินอร่อย
หอมก็เขียวสวย
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
2s
8 พฤศจิกายน, 2010 - 22:49
Permalink
คื่นฉ่ายที่บ้านไผ่ จะชอบต้นขนาดกลาง ครับ
นอกจากใส่ในยำ ในเนื้อเกาหลี แล้ว ร้านอาหารดัง บ้านไผ่ จะใส่ คื่นฉ่ายใน ต้มยำรวมมิตร สั่งครั้งละ ๑-๓ กก. แต่ระยะนี้ ต้องแบ่งปันกัน เพราะ ก่อนฝนจะหมด การเพาะกล้าคื่นฉ่าย ผักกาดหอม ผักชีจีน ทำได้ไม่เต็มที่นักในระยะนั้นครับ
ถั่วพู ปลูกขึ้นค้าง ตาข่าย ให้สูง ๓เมตร ขึ้นไป รับแดด ไม่น้อยกว่า ๙๐% ตัดแต่งใบช่วยบ้าง ให้แสงส่องถูกดอก จะได้ฝักสวย ได้คุณภาพ เกือบทั้งหมดจะปลูกในถุงดำ วางติดต่อกัน ๖-๙ต้น ต่อ ๑เสา รุ่นที่เก็บตั้งแต่เดือนกันยายน ยังเก็บต่อเนื่อง ได้ประมาณ ๕๐ฝักต่อต้นแล้ว คงจะใกล้เคียงที่ตั้งเป้าไว้ ๑๐๐ฝักต่อต้น แต่คนเก็บฝัก ลาไปเยี่ยมลูก หลาน ที่กรุงเทพ ยังไม่กลับ เมื่อทำปุ๋ยหมักตื่นตัวเสร็จแล้ว จะต้องหยิบบันได ถุงพลาสติก กรรไกร ขึ้นเก็บถั่วพู ทุกๆวัน ถ้าเก็บเต็มที่ วันละ ๑๐๐๐ฝัก ก็ทำได้ แต่งานอื่นก็มากมาย ได้แต่ปล่อยฝักที่ไม่ได้คุณภาพสูง ไว้เก็บเมล็ดพันธุ์ โดยจำเป็น ไม่น่าเชื่อว่า จะขายหมดทุกวัน ถ้ามีงาน หรือสั่งพิเศษ ไปฝาก ไปกิน กับญาติพี่น้อง ต้องขึ้นเก็บให้ ตั้งแต่เช้ามืด
เนื่องจากยังเร่งปลูกต่อเนื่องให้ครบ ๕๐๐๐ต้นในปีนี้ และ ๓๐๐๐๐ต้น ในปีหน้า เมล็ดถั่วพูที่เก็บจากฝักแก่ จะหยอดลงถุงดำทันที ที่แกะเมล็ด( ๑๓เมล็ด ต่อฝัก) แยกสายพันธุ์เป็น ๖สายพันธุ์ ความงอกสูงกว่า ๙๐%(ประมาณ ๖-๗วันเริ่มงอก) ช่วงหนาวออกดอกค่อนข้างเร็วมาก ไม่ถึง ๒เดือน หลังหยอดเมล็ด
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
chai
8 พฤศจิกายน, 2010 - 18:07
Permalink
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
2s
8 พฤศจิกายน, 2010 - 22:53
Permalink
ขอบคุณกำลังใจต่อเนื่องผักปลอดภัย
ชัยภูมิ ฝนหยุดตกได้ถึง สองอาทิดย์ แล้วยังครับ จะได้เกี่ยวข้าว เมื่อใดครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
prikhom
8 พฤศจิกายน, 2010 - 22:59
Permalink
ปุ๋ย
ผักงามๆทั้งนั้นใส่ปุ๋ยสูตรอะไรคะ
2s
9 พฤศจิกายน, 2010 - 06:08
Permalink
ปุ๋ยหมักตื่นตัว คือหัวใจของโครงการผักปลอดภัย
แนวคิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ พี่ สมศักดิ์ พดด้วง จากสระแก้ว มาเรียนต่อปริญญาขั้นสูงสุดที่ มข. ท่านเป็นสุดยอดมือปลูกผักที่ไม่ได้ใช้อะไรเลย ท่านอธิบาย ลำดับ การพัฒนาศึกษาการปลูกผักของท่าน ตั้งแต่ ใช้ ปุ๋ยหมักธาตุอาหารสูง ปุ๋ยหมักธาตุอาหารต่ำ ปุ๋ยน้ำหมัก และปุ๋ยเศษพืชแช่น้ำ ท่านทำวิธีไหนก็ได้ผลทุกวิธี เพราะ ความเป็นอัจฉริยะ ของท่าน โดยเฉพาะการรัก อดทน สังเกต สีของใบพืช และสาเหตุของโรดแมลงต่างๆ เป็นต้น
เมื่อศรัทธาในแนวทางนี้ ก็ทำการศึกษาพัฒนาทุกๆเรื่อง อย่างจริงจัง ต่อเนื่องยาวนาน แต่ไม่เก่งเหมือนท่าน ทำไปก็ติดอยู่ที่ ปุ๋ยหมักธาตุอาหารสูง ที่เรียกเองว่า ปุ๋ยหมักตื่นตัว ซึ่ง มีฟางข้าว แกลบสด เป็นองค์ประกอบ ถึง ๗๐% มี ปุ๋ยคอก(ขี้วัว) เศษหญ้า ใบไม้ กากกาแฟ ฯลฯ เป็นส่วนประกอบที่ให้ ไนโตรเจนสูง และมี ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หินร็อค(ซึ่ง การปลูกผักอินทรีย์ทั่วโลก อนุญาตให้ใช้ได้ ซึ่งน้อยคนจะเข้าใจถูกต้องว่า ผักอินทรีย์สามารถจะใช้หินร็อค หรือแม้แต่ดินประสิวได้ ควรจะศึกษาทำความเข้าใจให้ถ่องแท้) อาศัยหลักการขนาดความสูงของกองหมัก และเทคนิคการกลับกองไม่น้อยกว่า ๕ครั้ง ภายใน ๔๕วัน จะได้ ปุ๋ยหมักตื่นตัว ที่เป็นเพียงปุ๋ยอย่างเดียวที่ใช้ในสวนทุกวันนี้(ปัจจุบัน ใช้เฉพาะในแปลงผักอย่างเดียวครับ)
ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์พี่สมศักดิ์ พดด้วง ท่านอาจารย์ ดร. มล. อโณทัย ชุมสาย ดร. รอน พิทบลาโด และท่านผู้มีอุปการะคุณสูงสุด ดร. เอฟ เจ เบล ที่ประสิทธิประศาสน์ สร้าง อบรมให้ ปลูกผัก เมล็ดพันธุ์ และติดดิน จนมีทุกวันนี้ เป็นสวนผักปลอดภัยในระดับหมู่บ้าน ที่คนในชุมชน ที่ชื้อผัก ๕บาท ๑๐บาท สามารถมาซื้อได้โดย สนิทใจ จึงใช้คำว่า ผักปลอดภัย(Safe Vegetables) โดยมีนัยยะ ความติดดิน ความธรรมดาเรียบง่าย แต่ไม่ได้ใช้อะไรเลย นอกจากการจัดการองค์รวม และขันติ อดทน ปลูกผัก ๓๖๕วัน เลี้ยงครอบครัว หมู่คณะ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน(เป็นกลุ่มคนส่วนน้อยที่ ไม่เคยมีวันหยุด หรือเดินทางไปที่ไหน นอกจากไปวัด ถ้าไม่ได้อยู่สวน)
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย