การปลูกผักปลอดภัย(ระดับหมู่บ้าน) ด้วยปุ๋ยหมักตื่นตัว
ความเป็นมาของการเข้ามาเว็บไซด์นี้
จริงๆแล้วเป็นการบังเอิญ เพราะชอบใจ ผู้จัดทำเว็บไชด์ที่เก่ง ไอที รักเกษตร และมีความฝัน จะทำเกษตร โดยเฉพาะชอบปลูก และกินผักปลอดภัย (ส่วนตัว ไม่ชอบเรียกว่า ผักอินทรีย์) และคิดว่า รู้จักน้องสาว ที่เป็นอาจารย์หมอ อยู่ รพ. มหาวิทยาลัยสงขลาฯ หาดใหญ่
จบเกษตรบางเขน เรียนทางด้านเมล็ดพันธุ์พืชผัก และทำงานภาคเอกชนมาตลอดชีวิต(ที่เดียว) และขอออกก่อนเกษียณ มาทำสวนปลูกผักปลอดภัย (แทนการตั้งบริษัทเมล็ดพันธุ์ผัก เพราะเหตุผลส่วนตัว) เพราะ หลังจากดูแลทั้งงานวิจัย และผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักมาตลอด โดยเฉพาะประมาณปี ๒๕๔๓ ก็ได้รับมอบหมายให้ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ หรือ ผักออร์แกนิค (Organic Vegetable Seeds) ซึ่งก็เป็นรายแรกๆของประเทศ
ลาออกจากงานภาคเอกชน มาทำสวนผักปลอดภัยเล็กๆติดดิน ในระดับหมู่บ้าน แต่ใกล้อำเภอค่อนข้างใหญ่ คือ อำเภอบ้านไผ่ ขอนแก่น
ความประสงค์ และความตั้งใจ
เห็นว่า สมาชิกมีความตั้งใจจะปลูกผัก (ไม่ว่าจะเรียกว่า ผักอะไร ก็ตาม) และตนเอง ก็ตั้งใจจะคืนคุณให้แผ่นดิน และตอบแทน มหาวิทยาลัย ที่อบรมสั่งสอนมา และตนเองไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แอบแฝง ผักปลอดภัยที่ผลิตระดับหมู่บ้าน ก็ทำไม่ทัน ไม่พอขาย ประกอบกับ อยู่กับพืชผักมายาวนาน ตั้งแต่ใช้สารฯ จนไม่ได้ใช้อะไรเลย นอกจากการจัดการองค์รวม ซึ่งมี ปุ๋ยหมักตื่นตัวเป็นหัวใจสำคัญ กล่าวว่า ทำอะไรไม่เป็น นอกจากปลูกผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักมาตลอดชีวิต
แม้เวลาจะมีไม่มาก แต่ก็ตั้งใจจะถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ ไปพร้อมๆกับ การรายงานราคาผักปลอดภัย แต่ที่ขาดหายไประยะนี้ เพราะที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ มีงานเทศกาลประจำปี และอยู่ในช่วงเกี่ยวข้าว
บทสรุป
การปลูกผักปลอดภัย ไม่ได้ใช้อะไรเลย ยากมาก และยิ่งยากเป็นทวีคูณ ที่จะให้ได้ทั้งปริมาณ และคุณภาพ ตลอด ๓๖๕วัน จึงไม่สงสัยว่า ทำไมมืออาชีพปลูกผักปลอดภัยจึงมีน้อยมาก และถ้าไม่ช่วยกัน ตั้งใจทำจริงจังก็ คงตรวจพบสารฯ ตกค้างทุกๆตลาด
การปลูกผักไว้กินเองมีความสำคัญ แต่การทำ การเรียนรู้ เข้าใจการปลูกผักปลอดภัยทุกๆภาคส่วนอย่างถูกต้องมีความสำคัญมากๆ หรือแม้แต่ ผักอินทรีย์เช่น จริงหรือ การปลูกผักอินทรีย์ ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทุกชนิด
จะตอบให้ทุกคำถาม รู้หรือไม่รู้เท่านั้น แต่จะถูกต้อง ถูกใจ คงจะรับรองไม่ได้ครับ
- บล็อกของ 2s
- อ่าน 25705 ครั้ง
ความเห็น
ป้าเล็ก..อุบล
21 พฤศจิกายน, 2010 - 17:45
Permalink
อยากเห็นรูป
รูปที่เป็นปัจจุบัน แต่ละวัน 2s เอามาประกอบให้เห็นด้วย อยากดู
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
2s
21 พฤศจิกายน, 2010 - 21:01
Permalink
ผักปลอดภัยที่ทำการผลิตในปัจจุบัน สองกลุ่มแรก
นำเสนอ พืชผักแรก คือ หอมแบ่ง ในอาหารอิสาณซึ่งขาดไม่ได้ และยังนิยมนำมาทำส้มผัก แม้ในช่วงหลายๆเดือน จะผลิตมากเต็มที่ แต่ก็ไม่เพียงพอความต้องการ และอากาศแปรปรวน การผลิตค่อนข้างจะต้องพิถีพิถันมากขึ้น
เกษตรกรบ้านไผ่ กว่า 90% ที่ใช้สารเคมี เพราะจะมีปัญหากับสภาพอากาศ เช่น จะใช้สารเคมีคุมเมล็ดหญ้า(เราจึงปลูกในบล็อค และถุงดำ ก็จะมีปัญหาหญ้าน้อย) ใช้สารคุมโรคราที่โคน และราก(เราก็ใช้ปุ๋ยหมักตื่นตัว ที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์) ใช้สารเคมีควบคุมเพลี้ยไฟ(เราใช้ระบบฉีดน้ำฝอย) เป็นต้น
แต่เนื่องจาก หอมแบ่งไม่ใช่พืชหลัก เป็นเพียงพืชหมุนเวียนระยะสั้น(หนึ่งเดือน) ให้พืชอันดับหนึ่งของสวนคือ คื่นฉ่าย ดังนั้นจะเห็นการย้ายปลูกคื่นฉ่ายร่วมในแปลง และเก็บหอมในถุงปลูก จะปลูกคื่นฉ่ายตาม
เก็บหอมแบ่ง แล้วก็จะใล่ปุ๋ยหมักตื่นตัว ให้คื่นฉ่าย
ส่วนตรงแถวตาข่าย จะคำนวณเวลา แล้วปลูก ถั่วฝักยาวสีแดง และสีเขียว(ในถุงดำ) ซึ่งแน่นอนจะมี ถั่วพูเป็น พืชหลัก พืชตระกูลถั่วใช้ธาตุอาหารน้อย และเหมาะเป็นพืชผักสลับกับ คื่นฉ่าย และหอมแบ่งในถุงดำ
หอมแบ่ง ถั่วพู ถั่วฝักยาว ต้องการแดดมาก (แต่ไม่ใช่ 100% ในภาคอิสาณ) ประกอบกับ ต้องให้พืชหลัก คื่นฉ่าย ได้รับแดดในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี การออกแบบ สแลนดำ จะมีเทคนิค ตามที่เห็นในภาพ
การออกแบบแปลง และสแลนดำเพื่อให้ เหมาะสมในหน้าฝน และร้อน ต้องขึงให้ตึง และมีความสูงในการระบายไอร้อน(แม้แต่ในฤดูนี้ ถ้าไม่หนาว ก็ร้อนมากครับ)
ถั่วพู มาแรงมากในปีนี้ แต่ก่อนคิดว่า จะใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์เท่านั้น ทุกวันนี้ ต้องเก็บวัน ละ 3-4รอบ อาทิตย์ ละ 4000-8000ฝัก และช่วงเทศกาลหน้าหนาว คาดว่า จะเก็บ อาทิตย์ละ 10000-15000ฝัก ซึ่งขณะนี้มีตลาดรองรับ หลัก กว่า 80%แล้ว หน้าที่ของเราคือ ฉีดน้ำควบคุมเพลี้ยอ่อนให้ได้ และตัดแต่งใบที่แน่นออกให้ติดฝักมากๆขึ้น(ความผิดพลาดของพวกเรา คือ ชอบทำถั่วพูเป็นไม้ประดับไปด้วย โดยละเลยการกระตุ้นการออกดอก ติดฝัก)
แต่ก่อนโรงเรือน มุงพลาสติค ยูวี แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว โรงเรือนนี้มีอายุย่างเข้าปีที่ สิบแล้วครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
2s
24 พฤศจิกายน, 2010 - 16:14
Permalink
งานสวนผักปลอดภัย รายวันครับ
ตอบไป สองพืชผักแล้ว จะได้นำเสนอรูปปัจจุบันของพืชผักต่อไปครับ แต่ก็ขอรูป ถั่วพู ที่กำลังจะไปส่ง ร้านอาหาร ขาประจำ ช่วงเที่ยงเมื่อวานนี้ โดยร้านอาหาร ส่งขายเป็น กิโลกรัม ส่วนขาประจำ ส่งเป็นกำ เป็นมัด
ภาพที่ชอบถ่าย และดูไม่เคยเบื่อ เมื่อเห็น กระติกน้ำ ขวดน้ำ แก้วน้ำ อยู่ข้างๆ เป็นภาพที่ไม่ต้องการคำอธิบายของ คำว่า ผักปลอดภัย ที่สนิทใจ ทั้งจะหยิบ จับ กิน หรือใส่ตู้เย็น ร่วมกับอาหาร และน้ำดื่ม
พืชเบอร์หนึ่งของสวน คื่นฉ่าย ปีนี้เหนื่อยกันมากๆ เจอฝนตั้งแต่ สิงหาคม ยาวถึงสิ้นเดือน ตุลาคม ไหนจะเพาะ จะปลูก จะเสียหญ้า ถัาไม่ได้ จากถุงดำ กระถาง แปลงบล็อค คงจะขาดตลาดมากๆ นี้ดีแต่เดรียมการไว้ จึงขาดไม่มากแต่ก็ต้องแบ่งปันกันให้ ขาประจำ และมีคำขู่ว่า ห้ามขาดตั้งแต่ช่วง วันเฉลิมพระชนม์พรรษา เป็นต้นไป ทำให้ต้องเพิ่ม ทีมพิเศษ อีกสองทีม ตั้งแต่กลางเดือน พฤศจิกายน เฉพาะ คื่นฉ่าย( และพืชสลับหมุนเวียน ผักกาดหอม หอมแบ่ง ผักชีจีน ฯลฯ)
รุ่นย้ายปลูก ๒๑ตุลาคม ก็คงจะได้เก็บใน ๒-๓วันนี้ ยังคงเป็นสายพันธุ์ ราชพฤกษ์
คื่นฉ่าย สลับ หอมแบ่ง ปีนี้เป็นคู่ที่มาแรงมาก น่าจะได้ชิงเหรียญทอง
หน้าหนาวปลูก ๓หลุม ต่อ ถุง ส่วนหน้าฝน หน้าร้อน ลองคาดดูเองนะครับ จะได้ฝึกทำทดลองย่อยเองบ้าง
พืชที่อยู่กันมา คู่บารมี ตั้งแต่เรียนหนังสือ ผลิตเมล็ดพันธุ์ จนปัจจุบัน คงจะอยู่กันจนกว่า ...
ปลูกแต่ สายพันธุ์ เพื่อ ส้มตำ ต้มยำ ยำๆๆๆ อาหารอีสาณ เป็นสำคัญ ปีหน้าจะปลูกเกือบตลอดปี ขอหยุดเดือนเดียว( คาดเดาเอาเอง เพราะถ้าปลูกเดือนนั้น ก็จะไม่ได้ดูแลพืชผักอื่นได้เลย และต้นทุนต่อต้นสูงมาก แต่โอกาสจะเก็บได้ ครึ่งหนึ่ง แทบจะยากเย็นจริงๆ
ทุกๆรูปแบบ มีเวลาก็ปลูกไป เพราะ ที่มีทุกๆสิ่งทุกวันนี้ก็เพราะ เขา เลยต้องกตัญญู ตอบแทนไปตลอดชาติ
นอกจาก มะเขือเทศ พริกกะเหรี่ยง พริกขี้หนูสวน ก็มี มะเขือเปราะ ที่โปรดปรานมากสุดๆ ลูกเล็ก กรอบๆ ใส่ตู้เย็นไว้ หนึ่งคืน รับประทาน กับ ลาบก้อย แจ่วบอง น้ำพริกทุกๆชนิด เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม... ปีนี้ปลูก แล้วปลูกอีก ไม่พอขาย ไม่พอกิน คิวยาวเหยียด เกือบเท่า แฟนๆ หมอลำฯ ...
ปิดท้ายตอนนี้ ด้วย ผักสลัด หรือผักกาดหอม เพื่อเทศกาลหน้าหนาว มีคำสั่งจอง จนต้องยอมแพ้ ขอปิดรับจอง เพาะ แล้วเพาะอีก ย้ายแล้ว ย้ายอีก เก็บแล้วเก็บอีก
นี่คือ กิจกรรม รูปปัจจุบัน ส่วนคืนนี้ จะนำเสนอ พริกกะเหรี่ยง มะเขือเทศ มะละกอ และปิดท้าย ด้วยปุ๋ยหมักตื่นตัว แต่ต้องคอยหลังไปเก็บถั่วพูก่อนนะครับ
***************************************************
ตั้งแต่ ๑-๑๐ ธันวาคม เป็นประจำ นอกจากประดับ ธง ทำความสะอาดสวน แล้ว ทุกๆคน จะร่วมกัน กอง และกลับปุ๋ยหมักตื่นตัวสูตรที่ จะร่วมกันพัฒนา ร่วมกัน วันละ ๔๕นาที ถวายแด่องค์ราชันย์ และย้ำถึง ความสำคัญของปุ๋ยหมักตื่นตัว ให้กับ สวนผักปลอดภัย
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
chai
21 พฤศจิกายน, 2010 - 18:09
Permalink
ปลูกผัก
เข้ามาอ่านครับ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
แก่
21 พฤศจิกายน, 2010 - 18:48
Permalink
โชคดี
ของบ้านสวนพอเพียงที่มีผู้รู้เข้ามาช่วย ขอบคุณครับ
เจ้โส
21 พฤศจิกายน, 2010 - 19:30
Permalink
2 เอส
ขอบคุณที่เอาข้อมูลดี ๆ มาฝาก ที่บ้านปลูกผักกินเองคะ เหลือกินก็แจก ไม่ค่อยได้ซื้อผักตลาดกิน
garden_art1139@hotmail.com
สายพิน
21 พฤศจิกายน, 2010 - 21:14
Permalink
ขอบคุณ
คุณ 2s ที่ช่วยรายงานราคาผักให้ทราบเป็นระยะ เวลาอ่านรายงานราคาผัก ก็นึกว่าวันนี้กินอะไรที่ปลูกเอง แล้วประหยัดไปเท่าไร...ขอบคุณนะคะ ...และที่ดีใจอีกอย่างคือ ได้ยินคำว่าผักปลอดภัย เพิ่มมาอีกคำหนึ่ง
2s
25 พฤศจิกายน, 2010 - 13:30
Permalink
ที่มาของ ผักปลอดภัย (Safe Vegetables)
ขอบคุณในกำลังใจเสมอมาโดยตลอด คำว่า Safe Vegetables เป็นคำสากลมีความหมายดีมาก เหมาะกับงาน และเป้าหมายในชีวิตที่จะทำ และกำลังทำอยู่ เมื่อจบใหม่ มีโอกาสไปเรียน และฝึกงาน ที่ ศูนย์พืชผักแห่งเอเซีย โชคดีเป็นรุ่นแรก ที่จบ เรื่อง การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผัก ที่นี้ จะมีเป้าหมาย และมีคำนี้ เหมาะกับ เกษตรกร และทุกๆคน ที่เกี่ยวข้องกับ พืชผักปลอดภัย
2S เริ่มมาจากใช้สาร จนไม่ได้ใช้อะไรเลย นอกจาก การจัดการองค์รวม และปุ๋ยหมักตื่นตัว(แม้จะมี ปุ๋ยหินร็อคฟอสเฟตผสม แต่ก็ได้รับอนุญาตให้ใช้ ในการผลิตผักอินทรีย์สากล) 2S อยู่กับเกษตรกร ยากจนในชนบทมาตลอดชีวิต ตั้งแต่จบ แม้ปัจจุบัน เราเป็นทีมแรกๆที่ คิด และรู้สึกเรื่อง ลูกเห็นแตงโม และอยากกิน และขอพ่อ แต่พ่อรีบวิ่งมาห้าม บอกว่า เป็นแตงขาย ไม่ใช่แตงกิน
2S ใช้คำว่าผักปลอดภัย เพราะมีความมุ่งหมาย และจุดประสงค์ ให้พี่น้องเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน(มากมายมหาศาลที่ยังใช้สารฯ) ปรับเปลี่ยนการผลิต มาเป็นลด ละเลิก หลีกเลี่ยง การใช้สารฯ และผลิตผักปลอดภัย และสามารถเลี้ยงชีพ และครอบครัว เป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะใช้เวลาปรับเปลี่ยน นานเท่าไร แต่ถ้าทำได้สำเร็จจะมีคุณค่ามากมายนัก (แตกต่างกับ แนวคิดในส่วนที่เริ่มจากปลูกผักไม่ได้ใช้อะไรเลย หรือผักอินทรีย์ ซึ่งยากมากที่เกษตรกรจะอยู่รอดได้ หรือถ้าได้น่าจะเป็นภาคเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ หรืออะไรที่จะเรียกมากกว่า)
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
21 พฤศจิกายน, 2010 - 21:49
Permalink
อยากรู้เรื่องปุ๋ย
หากเป็นปุ๋ยเคมี เขาจะมีสูตรเร่งดอก เร่งใบ ซึ่งมีค่าต่างกัน
หากว่าเราใช้ปุ๋ยหมัก จะมีสูตรแยกกันเหมือนปุ๋ยเคมีไหมคะ หรือว่าสูตรเดียว บำรุงได้ทุกอย่าง
แล้วปุ๋ยน้ำหมัก(แบบที่ลุงพูนแนะนำ) กับปุ๋ยหมักตื่นตัว มีความแตกต่างกันอย่างไรในการใช้
ช่วยแนะนำด้วยนะคะ
2s
21 พฤศจิกายน, 2010 - 23:47
Permalink
ปุ๋ยหมักตื่นตัว คือหัวใจของโครงการผักปลอดภัย
ปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง) เวลาเรานำมาใช้กับพืชผักเรา จะมีประโยชน์มากน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลัก คุณสมบัติอย่างน้อยทั้งสามประการ ทางด้านกายภาพ(ปรับโครงสร้าง และความอุดมสมบูรณ์ของดิน) ทางด้านชีวภาพ(มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมากมหาศาล) และทางด้านเคมีภาพ(ใช้ภาษาง่ายๆ ว่า ธาตุอาหารพืช) สองข้อแรก ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติแรกๆแน่นอน แต่ข้อที่สาม แม้ว่า ปุ๋ยหมักจะมีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม แต่ก็จะมีธาตุอาหารหลัก เอ็น พี เค ต่ำกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากๆ เสมอๆ และปริมาณที่มีก็มีเพียงบางส่วนที่ละลายน้ำได้ง่าย ซึ่งรากพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ทำให้เสียเปรียบ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง แม้จะใช้ปริมาณที่มากกว่าหลายเท่าก็ไม่ได้หมายความว่า จะพอเพียงต่อความต้องการของพืชผัก
ปุ๋ยหมักตื่นตัวถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขจุดอ่อนนี้โดย เน้นหนักที่ ซี เอ็น เรโช เริ่มต้นให้มีค่าใกล้เคียงกับ 30/1 แม้การวัดค่าจะทำได้ไม่ง่ายนัก แต่ในทางปฏิบัติกลับง่าย และเป็นไปได้ คือ การนำเศษพืช วัสดุ สีเขียว ต่อสีเหลือง 1:1 โดยปริมาตร มากองผสมกัน
ข้อต่อมา การกลับกองบ่อยครั้ง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และทุกๆส่วนของวัสดุกองหมักให้ง่ายต่อการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้ได้อุณหภูมิในกองหมัก ระดับ 60-75 องศาเซสเซียส ที่จะทำลายเชื้อโรคเป้าหมาย และอื่นๆที่ต้องการ แน่นอน ความสูง และขนาดกอง และความชื้น มีความสำคัญ อาทิ เช่น ความสูงของกองปุ๋ยหมัก จะมีความสูงไม่น้อยกว่า 90ซ.ม. เพื่อสามารถรักษาความร้อนของกองปุ๋ยหมักได้ตามต้องการเป็นต้น
สำหรับคำถามเรื่อง ธาตุอาหาร ขอนำตัวอย่างปุ๋ยหมักตื่นตัว สูตร 14, 15, และ16 ซึ่งได้ส่งตัวอย่างปุ๋ยหมักให้ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ตรวจวิเคราะห์ เมื่อ 20กันยายน 2548 โดยสรุปดังนี้
ปุ๋ยอินทรีย์ สูตร 14 pH 7.5 %N 0.90 %P2O5 2.54 %K2O 0.67 %OM 13.29 C/N 9/1 EC 1.65 %Ca 2.90 %Mg 0.38 %S 0.13 %Mn 0.11
สูตร 15 pH 7.4 %N 0.58 %P2O5 1.53 %K2O 0.52 %OM 11.15 C/N 11/1 EC 1.48 %Ca 1.69 %Mg 0.24 %S 0.08 %Mn 0.097
สูตร 16 pH 7.4 %N 0.81 %P2O5 0.81 %K2O 0.84 %OM 14.72 C/N 11/1 EC 2.67 %Ca 1.25 %Mg 0.28 %S 0.18 %Mn 0.10
คงเห็นการแตกต่างเมื่อใช้วัสดุ และอัตราที่แตกต่างกัน ในการกองปุ๋ยหมักแต่ละสูตร ปัจจุบัน สูตรได้ปรับเปลี่ยนเพื่อใช้กับ ผักกินใบ (นำโดยคื่นฉ่าย) และอัตราส่วนธาตุอาหารธาตุหลักโดยเฉพาะสูตร 16 ได้พัฒนาสูงขึ้น เกือบ 4เท่า สำหรับธาตุอาหารหลัก (คื่นฉ่าย เน้นทั้งส่วนต้น และราก) เป้าหมายในการผลิต คื่นฉ่าย ในปีหน้า ประมาณ 20,000 กก. ต่อปี 6-7 รุ่น โดยใช้แต่ปุ๋ยหมักตื่นตัว โดยในหน้าหนาว อัตราการใช้(โรยหน้า) ประมาณ 25-30กก. หน้าร้อน 30-40กก. และหน้าฝน 40-50กก. ต่อ 5ตร.ม. (อนึ่ง จะสลับหมุนเวียนปลูก ผักกาดหอม หอมแบ่ง และผักชีจีน กับ คื่นฉ่าย)
***********************************************************
สำหรับ สูตรปุ๋ยน้ำหมัก ก็คงจะเน้นไปในด้านที่สองเป็นสำคัญ ทางชีวภาพ ด้านจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมากๆ และองค์ประกอบพิเศษอื่นๆ เช่น ฮอร์โมน และเอ็นไซด์ เป็นต้น
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
หน้า