การแต่งงาน
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเพื่อนบ้านเขาจัดงานแต่งงานผมก็มีโอกาสได้ไปงานนั้นด้วยแน่นอนว่างานแต่งงานต้องมีเจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งผมเองก็รุู้จักกับเจ้าสาวเป็นอย่างดี ตลอดงานเต็มไปด้วยเสียงเพลงและความสุขของเจ้าบ่าวเจ้าสาวและบรรดาญาติๆ แต่พออยู่ในงานไปนานๆ เลยเกิดความคิดที่ดูจะแปลกขึ้นมาว่า การแต่งงานคืออะไร คือความรักความห่วงใยที่ถึงจุดอิ่มตัวหรือแค่แต่งตามธรรมเนียมกันแน่
ลองคิดดีๆ แล้วผมพบว่าคนทุกคนเมื่อถึงเวลาก็อยากจะแต่งงานกันทั้งนั้นและหวังว่าชีวิตหลังแต่งงานจะต้องราบรื่น เมื่อรุ้สึกอย่างนั้นต่างพอกันดิ้นรนที่จะทำให้ชีวิตแต่งงานสบาย บางคนคิดว่าสิ่งที่ทำให้ชีวิตหลังแต่งงานราบรื่นคือการมีเงินใช้อย่างสะดวก บางคนคิดว่าการอยู่ในที่ที่ตัวเองไม่เคยอยู่น่าจะดีอย่างเช่นต่างประเทศ ซึ่งผมก็ไม่เถียงมันอาจจะสบายจริงๆ ก็ได้ แต่ทำไมสถิติการหย่าร้างกลับเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งๆ ที่ทุกคนอยากมีชีวิตที่ราบรื่น อะไรเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การหย่าร้างเพิ่มขึ้น ทุกคนล้วนแต่อ้างว่า ความเหินห่างและไม่มีเวลาให้กัน แต่ทำไมตอนคบกันถึงมีเวลาไปรับไปส่งกันได้เกือบทุกวัน เรื่องผมสงสัยมานานมากนานจนตัวเองเริ่มกลัวว่าชีวิตหลังแต่งงานของผมจะเป็นแบบนั้น หรือสาเหตุจริงๆ ของการหย่าร้างคือความเบื่อหน่าย
ถ้าเป็นความเบื่อหน่ายจริงก็สามารถอธิบายการเลิกราหย่าร้างได้ทุกอย่าง ตอนที่เป็นแฟนเวลาเจอกันแค่ไม่กี่ชั่วโมงแต่หลังจากแต่งงานเราต้องพบเจอกันเกือบตลอดวันทั้งกลางวันกลางคืน มนุษย์เราพอเจออะไรนานๆ มักจะลืมคุณค่าของมันไปสุดท้ายเราก็จะเบื่อ เมื่อมนุษย์เบื่อก็พยายามอยู่ห่างๆ ผมคิดนี่คงจะเป็นต้นเหตุของความเหินห่างที่ทุกคนอ้าง อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมมักจะได้ยินทางทีวีเวลาดาราหย่ากันก็คือ ยุ่งจนไม่มีเวลาให้กัน แต่ทำไมตอนเป็นแฟนกันคือมีเวลาให้กันได้พากันไปกินข้าวได้ทุกมื้อ สามารถลางานมาเที่ยวได้ โทรหาได้โดยไม่มีเบื่อ ไม่ว่ายุ่งแค่ไหนก็สามารถหาเวลาว่างไปหาเขาได้เสมอ แต่ทำไมแต่งงานกันไปสิ่งเหล่านี้กลับหายไป บางคู่แต่งกันมาหลายปีแต่กินข้าวด้วยกันแทบจะนับครั้งได้ เที่ยวได้ฉะเพาะวันหยุด โทรหากันบ่อยๆ กลับบอกว่าวุ่นวาย ไม่ว่างานจะยุ่งมากหรือยุ่งน้อยมักจะอ้างว่างานยุ่งจนไม่มีเวลา อะไรคือตัวแปรที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ใช่ความเบื่อหน่าย
ถ้าเป็นอย่างงั้นแล้วอะไรคือแปรที่ทำให้ชีวิตคู่ราบรื่นหลายคนคงมีคำตอบอยู่ในใจกันอยู่แล้ว ความซื่อสัตย์ ความเชื่อมั่น ความเสมอต้นเสมอปลายและความรักแท้ แต่นั้นมันเป็นทฤษฎีครับ ความซื่อสัตย์คืออะไร ความเชื่อมั่นมันเป็นยังไง ความเสมอต้นเสมอปลายถึงรู้แต่ปฏิบัติไม่ได้ ความรักแท้ยิ่งแล้วใหญ่แทบจะไม่มีใครเข้าใจความหมายของมันหรือไม่ก็เข้าใจผิดไป
หลังจากผ่านวันงานมาหลายวันผมถึงจะเริ่มเข้าใจถึงความหมายของการแต่งงาน จริงๆ แล้วความหมายของมันจะแปรผันไปตามจิตใจมนุึษย์ มนุษย์จะรู้สึกว่าพบรักแท้ต่อเมื่อเจอคนที่ดูดีกว่าคนที่ตัวเองคบอยู่และเมื่อได้คนนั้นเป็นแฟนก็จะรู้สึกว่านี่ไม่ใช่รักแท้และเริ่มหาใหม่ มนุษย์จะรู้สึกถึงความซื่อสัตย์ก็ต่อเมื่อคู่รักซื่อสัตย์กับตนไม่ใช่ตนซื่อสัตย์กับคู่รัก มนุษย์จะรู้สึกว่าตัวเองเสมอต้นเสมอปลายตลอดเวลาแต่กับคู่รักตัวเองจะเริ่มลังเลและระแวง
หวังว่าคงไม่มีใครสำคาญกับเรื่องที่ผมพล่ามมานะ
- บล็อกของ JC_of_google
- อ่าน 4555 ครั้ง
ความเห็น
ป้าเล็ก..อุบล
1 มกราคม, 2011 - 17:24
Permalink
อย่ากลัวไปเลย
ถ้าเราแน่ใจว่าใช่ ก็ใช่นั่นล่ะ มองให้เห็น ความจริง เช่น ผู้หญิงที่ชอบซื้อหวย เรารับได้มั้ย เล่นการพนัน กินเหล้า สูบบุหรี่ แต่งสวยตลอด ไม่ชอบปลูกต้นไม้ ชอบไปเที่ยวสังสรรค์ ชอบเที่ยวยามราตรี ชอบงานเลี้ยง ไม่ชอบไปวัด หรือว่าสิ่งที่กล่าวมาคือเรา ถ้าสิ่งที่เขาเป็นเรารับได้ ก็โอเค แต่ถ้ารับไม่ได้ ก็ถอย แต่ถ้ามองไม่เห็น อันตรายล่ะ เพราะ ไม่มีใครไปแก้นิสัยของใครได้
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
เจ้โส
1 มกราคม, 2011 - 18:58
Permalink
แต่งเถอะ.....
แต่งเถอะอย่าคิดมาก ถ้าคิดมากเดี๋ยวไม่ได้แต่ง
ก็แล้วแต่มุมมองนะ ตอนเป็นแฟนกันมันก็ต่างคนต่างเก็บสันดานของตัวเองไว้มีอะไรก็อดทน แต่พอแต่งงานไอ้ที่เคยทนได้มันกลับทนไม่ได้ ก็จบที่การหย่าร้าง อย่างเจ้ (ขอยกตัวอย่างตัวเอง) แต่งกับป๋ามาจะ 30 ปี มันก็มีบ้างที่เราสองคนต้องทะเลาะกัน เพราะคนสองคนจะให้เห็นด้วยเออ ออ ห่อหมกด้วยทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ มันอาจจะขัดแย้งกันบ้างก็ต้องเข้าใจและต้องพูดกันไม่ใช่ต่างคนต่างงอน
garden_art1139@hotmail.com
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
1 มกราคม, 2011 - 19:45
Permalink
ไม่แต่งงานก็ไม่รู้ คะ
บางคนก็ถึงกับออกปากว่า นรกมีจริง หลังชีวิตแต่งงาน
จริงๆแล้วถ้าเราจดจำวัตถุประสงค์ของเรา ในวันแต่งงานได้ สิ่งที่เป็น ที่อยู่ ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจกัน ความเบื่อหน่าย หรือความเจ้าชู้ จะไม่เกิดขึ้น
และโดยไม่ต้องอาศัยความอดทนมากนัก เราได้เพื่อนที่ดีที่สุดเพิ่มอีก1คน ที่จะเป็นเพื่อนแท้ต่อกันไปจนวันตาย
หากยังไม่แต่งงาน ก็ยังไม่รู้ แม้คนที่แต่งงานแล้ว เลิกลากันไป ด้วยความไม่รู้จัก ก็มากค่ะ
มาบ่นให้ฟังบ้าง เบื่อไหมคะ หายกันแล้วนะ
แจ้ว
2 มกราคม, 2011 - 06:52
Permalink
ชีวิตย่อมเป็นไปตามกรรม
อนิจจัง
ชวิน
2 มกราคม, 2011 - 07:31
Permalink
ธรรมชาติสร้างมา
ให้คนบางคนจะต้องมีชีวิตคู่ และไม่มีชีวิตคู่ ธรรมชาติสร้างมาแล้ว ถามว่าเราจะฝืนได้ไม่
มันก้อยู่ที่ว่า วิบากกรรม ของแต่ละคน ทำให้ต้องมาเป็นคู่กัน
จงมั่นทำบุญกันเถิด ตอนนี้ หนักจะได้เป็นเบา
พอเพียงเพื่อเพียงพอ
jabee_68@hotmail.co.th
บุญพา
2 มกราคม, 2011 - 09:58
Permalink
การแต่งงาน
รสชาดอย่างหนึ่งของชีวิต ไม่เหมือนการซื้อหวยนะ แต่งแล้วก็คือชีวิตทั้งชีวิต หนักนิดเบาหน่อยก็ต้องอดทนนะ พยายามหันหน้าเข้าหากัน ถ้าหากต่างคน ต่างถือทิฐิ ชีวิตการแต่งงานก็ไปไม่รอดหรอกค่ะ
JC_of_google
2 มกราคม, 2011 - 16:23
Permalink
อะหยั่งหว่า
ก็อย่างที่ผมบอกว่าสิ่งเหล่ามั้นมันเป็นทฤษฎีมีใครทำได้มั้งล่ะ
JC_of_google
2 มกราคม, 2011 - 16:36
Permalink
คุณแก้ว กุ้ก กิ้ก
คุณแก้ว กุ้ก กิ้ก เราติดค้างกันเมื่อไหร่หว่า
ธารน้ำใส
4 มกราคม, 2011 - 13:15
Permalink
คนสองคน มาจากที่
คนสองคน มาจากที่ ต่างสิ่งแวดล้อม ต่างสังคม การเลี้ยงดูต่างกัน มาอยู่ร่วมกันสิ่งสำคัญนั่นคือการปรับตัวเข้าหากัน แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง เพราะไม่มีใครสามารถเปลี่ยนตัวเองเพื่อใครได้ การแต่งงานคือการที่คนสองคนตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันหนักนิดเบาหน่อยก็ต้องท่อยทีท่อยอาศัยกัน ทุกคนหวังจะอยู่ด้วยกันจนตายจากกันทั้งนั้น ไม่มีใครอยากจากกันด้วยการหย่าร้าง แต่ในเมื่อมันถึงที่สุดก็ต้องยอม คิดซะว่ามันไม่ใช่ของเรา เจ้าของเขามาเอาคืน แล้วจะมีความสุขค่ะ
e-mail. puangpech_@hotmail.com
หนูนิว
4 มกราคม, 2011 - 13:37
Permalink
"มนุษย์เป็นสัตว์สังคม"
นักปรัชญาชาวกรีกชื่อ อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" (Social Animal) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันในหมู่มวลสมาชิก ซึ่งอาจเป็นชาติเดียวกัน นับถือศาสนาและพูดภาษาเดียวกัน มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน
พิธีการแต่งงานเป็นกรอบของสังคมเพื่อที่จะบอกให้คนในสังคมเดียวกับเรารับรู้ว่า "ต่อไปนี้คนสองคนนี้ได้ตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว" ในสังคมไทยพุทธ ถือว่าลูกผู้ชายบวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดา ส่วนลูกผู้หญิงการแต่งงาน สินสอด ถือเป็นสิ่งทดแทนพระคุณบิดามารดาเช่นกัน
ส่วนเรื่องการหย่าร้าง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งผู้หญิงได้ออกมาเรียกร้องสิทธิของตนเอง เพราะทุกวันนี้ไม่ใช่แค่ผู้ชายที่เป็นคนหารายได้เข้าบ้านแต่ผู้หญิงก็หารายได้เข้าบ้านได้เช่นกัน ดังนั้น คำกล่าวที่ว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลังจึงเปลี่ยนไป เมื่อต่างคนต่างเรียกร้องสิทธิ์ของตนเอง เมื่อไม่มีใครยอมใคร การหย่าร้างจึงเกิดขึ้น
เราลืมไปว่าาา ครั้งหนึ่งที่เรารักกันไม่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะพูดอะไรก็ยอมได้เสมอ เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่ไม่แน่นอน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาซึ่งการหย่าร้าง
****ถ้าเราทำดีกับคนรักได้เหมือนกับวันแรกที่เรารักกัน การล้างลาจะไม่เกิดขึ้น***
---ป.ล. ปรัชญาในอุดมคติหนูนะคะ ยังไม่เกิดดด 555555
หน้า