สมุนไพรอะไรบ้างช่วยเรื่องเบาหวาน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

  เบาหวาน คือโรคหรือความผิดปกติที่มีลักษณะพิเศษคือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง คำว่าเบาหวาน มาจากคำสองคำคือ “เบา” แปลว่าปัสสาวะ และคำว่า ”หวาน”  ซึ่งหมายถึงมีรสหวานหรือมีน้ำตาลในปัสสาวะนั่นเอง ซึ่งเป็นอาการสำคัญของผู้ป่วยโรคนี้  เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนไตไม่สามารถเก็บกักน้ำตาลไว้ได้  น้ำตาลส่วนเกินก็จะออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน มีมดมาตอมได้

สมุนไพรอะไรบ้างที่สามารถช่วยในเรื่องของโรคเบาหวาน ได้ ช่วยแสดงความเห็น และบอกวิธีการด้วยเพื่อเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจค่ะ.....

 

ความเห็น

อบเชย   

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร.... Plantae
ส่วน ....Magnoliophyta
ชั้น.... Magnoliopsida
อันดับ.... Laurales
วงศ์.... Lauraceae
สกุล..... Cinnamomum
สปีชีส์... C. verum

ชื่อทวินาม       'Cinnamomum verum'
      อบเชย (อังกฤษ: Cinnamon) เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวณ เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม

ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น ตัวต้นจะสูงประมาณ 4 - 10 เมตร ส่วนเปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน เส้นใบหยัก 3 เส้น เวลาออกดอกจะออกที่บริเวณซอกใบ หรือปลายกิ่ง โดยออกดอกย่อยสีเหลืองอ่อนรวมกันเป็นช่อ พืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับอบเชยได้เแก่ ชะเอม กะเพราต้น ข่าต้น สมุแว้ง การบูร เทพธาโร

ในการทำอาหารไทย มักใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกระหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกระหรี่ ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ป หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรลล์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม ใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรทส์เซล และนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย

แท่งอบเชยอบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่น เป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น ใช้ในการแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน ส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า 6 ปี หรือใบกิ่งยังนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อีกด้วย (Essential oil) ซึ่งจะมีมากในอบเชยญวณที่ให้น้ำมันหอมระเหย 2.5%

อ้างอิง นิตยสารแม่บ้าน ปีที่ 31 ฉบับที่ 451, ธันวาคม 2549, หน้า 55

 
จาก
  
 
อบเชยช่วยรักษาเบาหวานได้

คณะนักวิจัยในมาเลเซียพบหลักฐานใหม่ว่า อบเชยเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานเพราะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

หนังสือพิมพ์เดอะ สตาร์ ลงพิมพ์ผลการศึกษานาน 3 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซียว่าเครื่องเทศชนิดนี้ให้ผลดีต่อการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2

ซึ่งเป็นเบาหวานชนิดที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ นายโมฮัมหมัด โรจี หนึ่งในคณะวิจัย
กล่าวว่า นักสมุนไพรทั่วโลกใช้อบเชยรักษาโรคท้องร่วงและข้ออักเสบเพราะมีคุณสมบัติช่วยในการไหลเวียนของกระแสเลือด สมานแผล รักษาหนอง และภูมิแพ้

นอกจากนี้ ผลการทดลองในห้องทดลองปฏิบัติการตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าสารสกัดอบเชยเมื่ออยู่ในเซลล์สามารถทำงานเลียนแบบอินซูลินได้
อินซูลินทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด คนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เซลล์จะสูญเสียความสามารถในการตอบสนองต่อฮอร์โมนชนิดนี้
ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียกำลังประสบปัญหาประชากรเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้น
อันเป็นผลจากวิถีการดำเนินชีวิตที่ทานอาหารไม่เป็นประโยชน์และเป็นโรคอ้วน

 
 
อบเชย     Cinnamomum spp. มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนอินซูลิน ชื่อ เมทิล ไฮดรอกซี่ ชาลโคล โพลิเมอร์ (MHCP) ซึ่งสามารถทำหน้าที่เผาผลาญน้ำตาลทดแทนฮอร์โมนอินซูลิน ที่ร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถผลิตได้ หรืออาจจะผลิตได้น้อย โดยการนำอบเชยมาใช้กับผู้ป่วยเบาหวานนั้น ในระยะแรก ให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานอบเชยควบคู่กับการรับประทานยาแผนปัจจุบันไปก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นปกติมากที่สุด จากนั้นเมื่อผู้ป่วยรับประทานอบเชยอย่างต่อเนื่องนานระยะหนึ่งแล้ว ก็จะสามารถลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันให้น้อยลง และไม่จำเป็นต้องใช้ในที่สุด ( การรับประทานอบเชยอย่างต่อเนื่องเสมือนเป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายให้มีมากขึ้น ไร้ผลข้างเคียงแม้จะรับประทานอย่างต่อเนื่อง)

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากใบเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทอลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ ส่วนการศึกษาวิจัยในคน หมอได้นำใบเตยหอมมาผลิตในรูปแบบชาชง บรรจุซองละ 6 กรัม ให้คนปกติรับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน ผลปรากฏว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานชาชงใบเตยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

จึงนับได้ว่าสมุนไพรใบเตยหอมนั้น เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ เพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้คนไข้ และสามารถทำรับประทานเองได้ โดยนำใบเตยหอมมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นบางๆ ตากแดดให้แห้งนำไปชงกับน้ำร้อนดื่มได้ตลอดเวลา

หรือจะนำใบเตยที่หั่นเรียบร้อยแล้วไปคั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อนๆ จนแห้งดีแล้วก็เก็บในภาชนะที่ปิดฝาสนิท เมื่อจะรับประทานก็นำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม ซึ่งจำนวนครั้งของการดื่มก็ขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาล ถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ควรรับประทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน

สำหรับผลข้างเคียงของเตยหอมนั้น เท่าที่ได้รักษาคนไข้มายังไม่พบ และคิดว่าไม่น่าจะมีผลข้างเคียงอะไร เพราะเตยหอมนั้นจัดเป็นทั้งอาหารและยา นับได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนไข้โรคเบาหวาน

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


ตำมะแว้ง

กันยายนที่ผ่านมา มีโอกาสไปเที่ยว น้ำตกตาดกวางสี เมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินเที่ยวไปในหมู่บ้านชาวขมุ ซึ่งเป็นชนชาติลาวบนที่ราบสูง เรียกว่าลาวเทิง (ชนชาติลาวมี 3 กลุ่ม คือ ลาวเทิง ลาวลุ่ม ลาวสูง) พบชาวขมุกำลังจี่อาหารชนิดหนึ่งเพิ่งปรุงสุกใหม่ๆบนแผ่นใบตองกลมกว้างประมาณ 5 นิ้ววางบนกระด้ง เพื่อตากแดดให้แห้ง เก็บไว้ขาย ขอเขาชิมดู รสชาดขมนำแต่มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำพริกหนุ่มของไทย ชาวลาวที่พาไปเที่ยวบอกว่า ทำจากลูกมะแว้งซึ่งกำลังออกชุกในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ด้วยความที่ผู้เขียนชอบทดลองปรุงอาหารที่ได้ชิมมา กลับบ้าน จึงเอา หอมแกะเปลือก กระเทียมแกะเปลือก พริกหนุ่มจำนวนไม่มากไม่เอาเม็ด ลูกมะแว้งสด และลูกมะเขือพวง เกลือทะเล เอาทั้งหมด ลงไปคั่วแห้งในกะทะเหล็ก จนมีกลิ่นหอม ไหม้นิดๆ เมื่อมะเขือพวงนิ่มแล้ว เอาของที่คั่วทั้งหมดลงครกตำให้ละเอียดพอประมาณ ไม่ต้องเติมน้ำ หรือมะนาว หรือน้ำปลา คลุกกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยมาก ไม่มีรสขมเลย

ถ้าใครเคยทานลูกมะแว้งสด หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า หมากขม กินกับลาบ ก้อยแล้ว จะรู้ว่า หมากขมสมชื่อจริงๆ เคล็ดลับ ทำไมตำมะแว้งถ้วยนี้จึงไม่ขม ภูมิปัญญาภาคใต้ว่าไว้ เอามะเขือพวงซึ่งมีรสขื่น ไปตัดกับรสขมของมะแว้ง จะทำให้หายขม ถ้าต้มยาแล้วขมมาก ให้เอามะเขือพวงต้มกับยาด้วย ทำให้ยาขมน้อยลง

ใครชอบทานน้ำพริก คงจะชอบตำมะแว้งถ้วยนี้ ทั้งอร่อยและมีประโยชน์ เหมาะกับอากาศช่วงปลายฝนต้นหนาว ดีจริง เพราะขับทั้งลมและแก้เสมหะแห้ง และยังเหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน เพราะลูกมะแว้งมีฤทธิ์ช่วยให้น้ำตับอ่อน เดินสะดวกขึ้น นอกจากนี้ลูกมะแว้งจิ้มเกลือยังช่วยลดอาการไอแห้งอีกด้วย

นำมาจาก http://thaiherbclinic.com/node/48

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


พอมีข้อมูลอยู่บ้างเล็กน้อย เลยนำมาให้พี่แจ้ว และเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิกบ้างนะคะ

  หลักการใช้สมุนไพร

1. ใช้ให้ถูกโรค ผู้ที่จะใช้สมุนรีบไพรต้องมีความเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของโรคเหล่านี้ให้แน่ชัดเสียก่อน เพื่อป้องกันการใช้สมุนไพรผิดโรค

อาการเปล่านี้ไม่ควรใช้สมุนไพรรักษา

-        ใช้ยาสมุนไพรมา  3 – 4 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้นหรือทรุดลง

-        เกิดอาการแพ้หลังจากใช้ยาสมุนไพร

-        มีไข้สูง ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ซึมและเพ้อ

-        ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลียและอาเจียน

-        อาการปวดท้องที่บ่งว่าคล้ายไส้ติ่งอักเสบ

-        ปวดท้องอย่างแรง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด ตาลึก

-        อาเจียนเป็นเลือด

2. การใช้ให้ถูกชนิด ผู้ใช้ต้องรู้จักสมุนไพรในต้นที่ถูกต้องเพราะสมุนไพร 1 ชนิดอาจมีหลายชื่อก็ได้

3. การใช้ให้ถูกส่วน สรรพคุณของส่วนต่างๆ ของพืชต้นเดียวกันนั้นอาจต่างกันและสาระสำคัญก็ไม่เท่ากันด้วย

4. การใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรแต่ละชนิดต้องใช้ให้ถูกตามมาตราที่กำหนดไว้ เพื่อที่ยาจะได้ออกฤทธิ์พอที่จะรักษาโรคได้ 

5. การใช้ให้ถูกวิธี รูปแบบยาหลากหลายใช้ในหลายโรค ผู้ใช้ควรคำนึงถึงวิธีการใช้ให้ถูกต้องด้วย เช่น รับประทานก่อนหรือหลังอาหารเวลาใด 

6. การใช้ให้ถูกคน ขนาดยาที่ใช้นั้นต้องคำนึงถึงผู้ใช้ด้วยว่าเป็นเด็กหรือว่าผู้ใหญ่ เพราะสุขภาพของคนเราจะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาแต่ละตัว

 

  

 

 

 ชาเขียวใบหม่อน (ใบหม่อนเลี้ยงไหมบ้านเรา) ชาชนิดนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูก และไม่กระตุ้นประสาทนั้นก็เนื่องจากว่า ชาเขียวใบหม่อนนั้นไม่มีรสฝาดและขมจากสารเทนนินซึ่งทำให้ท้องผูก และยังมีสาร คาเฟอีนในปริมาณที่น้อยมาก คือเพียง 0.01เปอร์เซ็นต์

นอกจากนั้นชาใบหม่อนยังมีสารกาบ้า (GABA) ซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับลดความดันโลหิต มีสารฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงในการลดระดับโคเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีสารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และในชาเขียวใบหม่อนก็ยังมีแคลเซียมในปริมาณที่มากไม่แพ้นมสดอีกด้วย

ข้อดีของชาเขียวใบหม่อนยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ถึง 3 ชนิดด้วยกันคือ เควอเซติน (Quercetin) แคมเฟอรอล (Kaempferol) และรูติน (Rutin) ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็ก ทำให้หลอดเลือดแข็งแรง กระแสเลือดไหลหมุนเวียนดี ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่

 วีธีการทำ

  1. ตัดก้านใบหม่อนสดจากยอดยาวลงมาประมาณ 1 - 1.5 เมตร
  2. ริดใบสวยๆ ที่ไม่เหลือง ไม่เป็นโรค ไม่มีแมลง ทั้งอ่อนและแก่ออกจากก้าน ใส่กะละมังไว้
  3. ล้างใบหม่อนให้สะอาด ใช้กรรไกรตัดก้านใบออกแล้วหั่นใบหม่อนให้มีขนาดกว้างประมาณ 0.5x4.0 เซ็นติเมตร ใส่ตะแกรงให้ใบหม่อนสะเด็ดน้ำ
  4. นำใบหม่อนไปลวกน้ำร้อน 30 วินาที (หรือนึ่งประมาณ 1 นาที) ถ้าลวกในน้ำร้อน จุ่มน้ำเย็นทันที เพื่อรักษาสีเขียวของใบหม่อนให้คงอยู่หลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆจนกระทั่งเป็นชา ผึ่งลมให้แห้งหมาด ๆ

    5.นำใบหม่อนใส่กระทะใบใหญ่ ตั้งไฟอ่อนๆ สวมถุงมือสะอาดๆ แล้วนวดใบหม่อนเพื่อให้แตกกลิ่นออกมาและเพื่อให้ใบหม่อนม้วนตัวไม่  ติดกันเป็นก้อน รวมทั้งได้รับความร้อนจากกระทะอย่างทั่วถึง คั่วในกระทะด้วยไฟอ่อน ประมาณ 20 นาที

    6.แล้วนำไปตากแดดจัด ๆ อีกสัก 1-2 ชั่วโมง หรือถ้ามีเตาอบก็อบที่อุณหภูมิ 80 ํC นาน 1 ชั่วโมง นำมาบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิดเพื่อสามารถเก็บไว้ดื่มได้นาน

มะรุม

        เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ

ขับน้ำตา ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น

ประโยชน์ของมะรุม
       1.ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
      2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
      3.รักษาโรคความดันโลหิตสูง
      4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
     5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
     6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
        7.ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
        8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
       9.รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
       10.รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
       11.เป็นยาปฏิชีวนะ

วิธีใช้

ใบสด

       ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ เด็กแรกเกิด -1 ปี คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1 หยด ต่อ 1-2 วัน ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต - 2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก การรับประทานสุกควรลวกแต่ พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมากใช้ทำสลัดรวมกับผักสดหรือวางบนแซนวิช
ผล   

       รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควรฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือกเช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อใน มาทำแกงกะหรี่ ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิ เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน(เหมือนยำถั่วพลู)  สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอด ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่ ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ไก่อบฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริก ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน(จะใส่เนื้อ หรือไก่ก็ได้ตามแต่ชอบ) ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด เหล่านี้

เมล็ด 

         สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหารได้ รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊าท์รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา เปลือกจากลำต้น นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี * ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท 

กากของเมล็ด

          กากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้

ดอก

           ใช้ต้มทำน้ำชาใช้ดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย
ใบตากแห้ง

             สามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวันแต่ใบแห้งจะขาดไวตามินซีและไวตามินบีตลอลีนและแร่ธาตุบาง จำพวกที่สูญหายในระหว่างการทำให้แห้งควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืดเช่นขวดพลาสติกชนิดทึบเพื่อ กันการเสื่อมคุณภาพแต่คุณสมบัติอื่นๆ ยังคงเดิมเนื่องจากมะรุมเป็นพืชสมุนไพรกลางบ้านดังนั้นการให้ผลย่อมช้ากว่ายาแผนสมัยใหม่การที่จะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า3เดือนและต้องใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจร่างกายจะแข็งแรงอยู่เสมอคนธรรมดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคก็สามารถใช้ได้เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดียิ่ง

 

และสมุนไพรอื่นๆเช่น บอระเพ็ด กุ๋ยช่าย ขึ้นฉ่าย กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบแดง ดอกคำฝอย มะระขี้นก ใบยอ ฯลฯ

 

 

 

ยายอิ๊ด ตาลายไปหมดแล้วจ้า.... ต้องสะสมอ่านเรื่อยๆ แล้ว

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ก็อป มันส์มือไปหน่อย มาอ่านดู เยอะเกินไป ตัวเองก็ตาลายเหมือนกันค่ะ

ใช้ชงเป็นชากินแก้โรคเบาหวาน

ข้อมูล  มีทั้งข้อดีและข้อเสีย   ข้อดี  ลดน้ำตาลในเลือด   ยับยั้งแบ็คทีเรีย(ผู้ที่เป็นเบาหวานและมีแผล ช่วยได้)  ข้อเสีย  ถ้าทานมากไปอาจทำให้น้ำตาลลดลงอย่างรวดเร็ว  ทำให้ช็อกได้

อาทิตย์ที่แล้วพี่แฟนผมเขาเอามาให้ปลูก 2 กระถาง เขาบอกว่าพี่ที่เป็นพยาบาลอยู่เขานแล้วได้ผลดี แต่ผมไม่ทราบชื่อ พอดีเลยช่วยบอกหน่อย

มิตรภาพไร้พรมแดน

แป๊ะตำปึ่งค่ะ ทานเป็นผักได้ทุกวัน ......

นึกออกแล้ว เคยได้ยินชื่อนี้มาคุ้นๆ หู ถึงบางอ้อตอนนี้เอง

ขอบคุณครับ

มิตรภาพไร้พรมแดน

หน้า