ยอดเขลียง(เหลียง/เหมียง)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

                ยอดเขลียงที่บ้านแม่ ต้นใหญ่ อายุเกือบจะ 20 ปี แล้วมั๊ง เก็บไม่กี่ยอด ก็เอาไปปรุงได้แล้ว





7 ก้าน เด็ดแล้วได้ 1 กะละมังเล็ก




วันนี้เอาปรุงอาหารแบบบ้าน ๆ แกงเลียงเคย วิธีทำก็ แค่ใส่กะปิกับเกลือและปลาทู แค่นั้นแหละ...เป็นอาหารที่กินเป้นประจำตอนเด็ก ๆ ซดน้ำอร่อยมาก ถ้าเก็บลูกอ่อนใส่ไปด้วยยิ่งอร่อย




 


บล๊อกนี้ยอดเขลียงเพียว ๆ จบแล้วค่ะ


ลักษณะทั่วไปของผักเหลียง :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.

วงศ์ : GNETACEAE

ชื่อสามัญ :ผักกระเหรี่ยง

ชื่อท้องถิ่น :เขลียง,เหลียง, เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช) ผักกะเหรี่ยง (ชุมพร) ผักเมี่ยง, เหมียง (พังงา)

ต้น:ผักเหมียงเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 – 5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ใบ :ใบผักเหมียงมีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 – 10 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก

ดอก :ผักเหมียงมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะออกต่างต้นกัน กล่าวคือหากต้นใดมีดอกตัวผู้จะไม่มีดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อๆ ประมาณ 5 – 8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อๆ ประมาณ 7 – 10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะเริ่มออก ดอกในช่วง เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ผลแก่สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ได้ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน
ผักเหมียงจะออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 5 – 6 ปี

ผล :จะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร มีความยาว ประมาณ 2.5 – 4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน ใน 1 ช่อจะมีผลประมาณ


การปลูกผักเหมียง :

ผักเหมียงควรปลูกในที่ร่ม มีดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีฝนตกชุกและต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการปลูกผักเหมียงมากขึ้น โดยการปลูกแซมสวนยางพารา สวนมะพร้าว และสวนสมรม การปลูกผักเหมียงเพื่อการบริโภคนั้น มักจะตัดต้น ไม่ให้สูงเกินมือเอื้อมถึง

การขยายพันธุ์ผักเหลียง :

สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีคือ การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการใช้ต้นจากราก แขนง

1.การเพาะเมล็ดผักเหลียง

นำเมล็ดมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปเพาะบนกระบะที่มีส่วนผสมของดินทรายกับขี้เถ้าแกลบ กลบให้วัสดุเพาะเสมอเมล็ด รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมล็ดจะเริ่มงอกประมาณเดือนที่ 4 จนถึง 1 ปี ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีอัตราการรอดสูง ทรงพุ่มสวย ทนแล้งได้ดี แต่อายุการเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี

2.การตอนกิ่งผักเหลียง

การตอนกิ่งควรตอนจากต้นหรือกิ่งกระโดงที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป โดยสังเกตเปลือกของกิ่งควรมีสีน้ำตาลอมเขียวเล็กน้อย การควั่นควรควั่นให้ชิดกับข้อ รอยควั่นมีระยะห่างกันเท่ากับเส้นรอบวงของต้นหรือกิ่งที่จะตอน เมื่อควั่นเสร็จแกะเปลือกขูดเนื้อเยื่อเจริญออกให้หมด ใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำจนอิ่มใส่ถุงพลาสติกผูกปากถุง กรีดถุงจากก้นถึงปากถุงนำมาหุ้มที่รอยควั่นผูกเชือกหัวท้ายให้แน่น หมั่นตรวจดูความชื้นอย่าปล่อยให้แห้งรากจะงอกภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน ตรวจดูรากสามารถดูดน้ำได้หรือไม่ เมื่อรากทำงานดีแล้วตัดเอาลงถุงปลูก เมื่อต้นแข็งแรงดีจึงนำลงหลุมปลูก การปลูกด้วยกิ่งตอนจะได้ทรงพุ่มดี ให้ผลผลิตมากและรวดเร็ว

3.การใช้ต้นจากรากแขนง

ผักเหมียงที่มีอายุประมาณ 4 – 5 ปี หากต้นและรากเจริญดีก็จะงอกต้นใหม่ สามารถขุดนำไปปลูกได้ แต่อัตราการรอดตายประมาณร้อยละ 50 – 80 เพื่อเพิ่มอัตราการรอดตายควรนำต้นใหม่มาปลูกในถุงเพาะชำจนมีความแข็งแรงเสียก่อนนำลงปลูก

4.การเตรียมพื้นที่ปลูกผักเหลียง

ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ต้นพันธุ์ที่ใช้ต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง วางต้นพันธุ์ให้เอียง 45 องศา ในหลุมที่ขุดแล้วกลบดินแต่พอแน่น รดน้ำให้ชุ่มใช้ไม้หลักปักผูกเชือกให้เรียบ ร้อยเพื่อป้องกันลม ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือช่วงฝนตกจะช่วยให้ไม่เสียเวลา และแรงงาน ในการรดน้ำ การให้ปุ๋ยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 15 -7 - 18, 15 - 15 - 15 ผสมกับปุ๋ย
สูตร 12 - 5 - 14 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่/ปี กรณีปลูกร่วมในสวนยาง ในสวนไม้ผล ในช่วงต้นฤดูฝนใช้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 -15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่/ปี

5.การเก็บเกี่ยวผักเหลียง

เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อต้นผักเหมียงมีอายุ 2 ปีขึ้นไป เก็บเกี่ยว 15-30 วัน/ ครั้ง เก็บยอดอ่อนถึงยอดเพสลาด ควรเด็ดให้ชิดข้อ ไม่เด็ดกลางข้อหรือตัด เพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนในครั้งต่อไปจะช้า เมื่อเก็บแล้วอย่าให้ใบหรือยอดอ่อนนั้นถูกแสงแดดและลม ควรพรมน้ำแต่พอชุ่ม สามารถเก็บได้นาน ประมาณ 5-6 วัน


โรคและแมลงที่ปรากฏ :

1. โรคใบจุดส่าหร่าย (Agal leaf-spot, red rust)

เชื้อสาเหตุ : Cephaleuros virescens
ลักษณะของโรค : เป็นจุดกลมขนาด 3-5 มิลลิเมตร มองเห็นเป็นขุยฟูเหมือนกำมะหยี่ มีสีเขียวอมเหลือง สีส้มหรือสีน้ำตาลอมส้ม เมื่อขูดจุดแผลจะหลุดโดยง่าย เนื้อเยื่อเป็นสีเหลือง

2.ตะไคร่บนใบ (Leaf epiphyte)

เชื้อสาเหตุ : เป็นการเจริญร่วมกันของราและสาหร่าย
ลักษณะของโรค : เป็นจุดเล็ก ๆ อาจมีสีขาวอมเทา สีเขียวอ่อน หรือสีอื่น ๆ พบในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ทรงพุ่มหนาทึบ ไม่ตัดแต่งกิ่ง

การใช้ประโยชน์จากต้นเหลียง :

ใบผักเหมียงใช้รับประทานสดและประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ ผัดวุ้นเส้น แกงไตปลา และผัดผัก ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหมียงมาทำข้าวเกรียบ

สรรพคุณทางยา - ใบ รับประทานเพื่อบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา และสามารถนำมาใช้ลอกฝ้าได้อีกด้วย

การตลาดและลู่ทางการค้าของผักเหลียง :

ผักเหมียงมีขายทั่วไปตามตลาดชุมชนในภาคใต้ โดยขายเป็นกำ กำละ 5 – 20 บาท แล้วแต่ขนาดกำ โดยปกติแล้วเมื่อนำผักเหมียง มาปรุงเป็นอาหารผักเหมียงจะยุบตัวมาก จึงต้องใช้ในปริมาณมากพอควร ในอดีตผักเหมียงนิยมบริโภคกันในจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และมีการบริโภคกันบ้างแถบจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันนี้ได้มีการขยายพื้นที่การปลูกผักเหมียงมายังจังหวัดในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย เช่น จังหวัดสงขลา เป็นการขยายตลาดมาสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้น คาดว่าผู้บริโภคในกรุงเทพฯและภาคอื่นของประเทศจะบริโภคผักเหมียงกันมากขึ้นตามการเคลื่อนย้ายของประชากร และการให้ข้อมูลการบริโภคที่ทำได้แพร่หลายและกว้างขวางขึ้น

เอกสารอ้างอิง :

กูล จุลแก้ว. 2536. เหมียง ผักพื้นบ้านเศรษฐกิจที่น่าสนใจ. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการผักพื้นบ้าน สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา กรมส่งเสริมการเกษตร. 49 หน้า.
สถาบันการแพทย์แผนไทย. 2542. ผักพื้นบ้านภาคใต้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 279 หน้า.








 



ผักเหลียง(เหมียง)

โดยธรรมชาติผักเหมียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า เจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ พบได้ทั้งบริเวณเนินเขาและที่ราบในความสูงจากระดับน้ำทะเล 2 – 500 เมตร หรือสูงกว่านั้น ในบริเวณที่มีดินร่วนซุยและมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีต้นไม้ปกคลุมให้ร่มเงาเพียงพอ ฝนตกชุกคือมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตรต่อปี ระยะเวลาฝนตกไม่น้อยกว่า 150 วันต่อปีและฝนแล้งติดต่อกันไม่เกิน 45 วัน 


ผักเหมียงจึงพบมากในภาคใต้ตอนกลางฝั่งตะวันตกของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ ตรัง (ฝั่งอันดามัน) ชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นต้น จะสังเกตเห็นว่าผักเหมียงขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมีการปลูกแถบจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากกว่าฝั่งตะวันออก อาจเป็นเพราะปริมาณน้ำฝนชุกและต่อเนื่องในฝั่งตะวันตกจึงเหมาะสมกว่าที่จังหวัดชุมพรได้มีการปลูกผักเหมียงใต้ร่มเงาไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน ชมพู่ หรือร่วมกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ เช่น จันทร์เทศ กานพลู หมาก โดยปลูกให้ผักเหมียงขยายพันธ์งอกไปเป็นกลุ่มใต้ร่มเงา และมีการเก็บเกี่ยวตลอดโดยให้ต้นสูงได้ประมาณศีรษะคน (สวนนายสนั่น – นางบุญหนุน ชูกลิ่น ที่ ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร) ที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลาได้มีการปลูกผักเหมียงในร่องยาง คนใต้นิยมนำมากินเป็นผักเคียงกับขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ อาหารที่ได้รับความนิยมที่ประกอบจากผักเหมียง คือ ผักเหมียงต้มกะทิหรือแกงเคย ผักเหมียงได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้”

ความเห็น

ครูหนิงเพิ่งถึง บางอ้อ   ผักเหมียง  ผักเขลียง  ผักเหมียง  ตกลงเป็นผักชนิดเดียวกัน  เคยคิดอยากหาปลูกเหมือนกัน  ไม่รู้ทางอีสานจะขึ้นหรือเปล่า

น่าจะขึ้นนะครับ แต่ที่จะปลูกต้องร่มมีแดดรำไร และชื้น การันตีได้เลยว่าขึ้น แต่ที่ปลูกทางใต้ส่วนใหญ่นั้นเนื่องจากมีฝนตกชุก ที่บ้านผมก็ปลูกครับปลูกในสวนยาง ข้างคลองเล็ก ขึ้นสวยมาแตไม่มีภาพมาให้ดู ผักเหมียงจะเป็นพืชแซมครับ

ถ้าชีวิตไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันต่อ

E-mail : pinit25@hotmail.com

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลค่ะ  ต้องไปหามาปลูกซะแล้ว ที่บ้านคงปลูกแซมกับต้นไม้อื่นจะได้อาศัยร่ม 

ครูหนิง...ลูกสุกคราวหน้า(ภาพสุดท้าย)จะส่งไปให้ค่ะ...ฝากที่อยู่ไว้นะค๊ะ


น้องเอก พ่อลูกอ่อน ขอบคุณนะค๊ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ  ดูตามรูป  ต้นไม้อายุ 20 ปี เหมือนไม่ใหญ่มาก  

ลำต้นโตช้า เป็นปกติของผักชนิดนี้ค่ะ...คงจะโตได้แค่นี้ แต่ความสูงถูกควบคุมไว้ค่ะ...ไม่อนุญาตให้สูง กลัวเก็บยอดไม่ถึง

ได้เห็นผักเหลียงเต็ม ๆวันนี้ค่ะ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

พี่สร ตำน้ำพริกอีกถ้วยเดียวก็พอแล้วมื้อเย็นนี้

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

แหลงถึงน้ำชุบ ย้ายเข้าบ้านใหม่ ไม่ได้กินน้ำชุบที หมาหม้ายดีปลี วันนี้เลยถอนต้นไปจากบ้านเก่า


     Laughingของผมก็ปลูกมาหลายปีแล้วเหมือนกัน มีต้นใหม่งอกเพิ่มมาเรื่อย ตอนนี้ก็มีหลายต้นครับ ต้มกะทิราดน้ำบูดูอร่อยสุดๆ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

หน้า