กินอะไร ได้อย่างนั้น

หมวดหมู่ของบล็อก: 

กินอะไร...ได้อย่างนั้น


   เห็ดเมื่อวาน


  


วันนี้ได้เก็บดอกแล้ว


 


น้ำหนักที่ได้พร้อมทำความสะอาดแล้วปรุงเป็นอาหารคือ หนึ่งร้อยสี่สิบกรัม



...ได้เห็ดรวมสี่อย่าง(เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางรม เห็ดยานางิ และเห็ดขอน) อย่างละนิดหน่อย กล้อมแกล้มเป็นส่วนชูรสอาหารจริงๆ 



ภาพนี้เป็นภาพยืนยันว่าเห็ดเหมาะกับหอยทากจริงๆ...หอยทากชอบที่ชื้นๆแล้วที่ชื้นๆก็เป็นที่เห็ดชอบด้วย หากกินเห็ดมากไป ร่างกายก็ได้สารอาหารจากเห็ด


เห็ดโตเร็วแล้วก็หมดอายุเร็ว อายุเห็ดไม่ค่อยจะยืนยาว เปื่อยยุ่ยง่าย...บางคนกินเห็ดก็มีผื่นคัน


บ้างสังเกตว่ากินเห็ดเยอะ เป็นเชื้อราในร่มผ้า...ยิ่งอยู่ในถิ่นที่อับๆชื้นๆ...นี้น่าสนใจ เพราะ“กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น” 


....หันกลับมากินอาหารอื่นเป็นหลัก นอกเหนือจากเห็ดที่ใช้เพียงแค่ชูรสอาหารดีกว่า...


จากมุมเห็ดย้ายมาดูต้นไม้...งานนี้เชื่อว่าเป็นความดีของปุ๋ยหมักพอเพียง(อีกชื่อคือ ปุ๋ยหมักตื่นตัวคุณ 2s)


 


ต้นเลื้อยๆอย่างแตงหูฉลาม... ใช้ปุ๋ยหมักพอเพียงล้วนๆไม่ผสมดินเลย ต้นกล้างอกได้ประมาณสิบวัน



...รอบนี้ใบเลี้ยงใหญ่กว่าต้นอื่นที่เคยเพาะมา ...ที่เห็นนี้ออกใบจริงแล้วเป็นใบที่สอง



อีกต้น เป็นต้นฟักทองที่ขึ้นเองจากซอกหิน มีปุ๋ยหมักพอเพียงไปกองไว้ใกล้ๆ ก่อนหน้านี้เอาต้นกล้าคะน้ากับกวางตุ้งไปวางกะให้มีต้นผักกิน ที่ไหนได้ฟักทองกลับโตวันโตคืน ใบใหญ่กว่าฝ่ามือสักสองเท่า....รออีกสักนิด รอปุ๋ยหมักพอเพียงรุ่นสองครบกำหนดว่าจะเอาไปกองไว้อีก คราวนี้จะได้เห็นกันว่าต้นฟักทองที่อยากโตในพื้นที่น้อยๆนี้จะเป็นอย่างไรกับความพอเพียงจากปุ๋ยหมักนี้



 นี่ก็อีกต้นมะเขือเทศที่งอกจากเมล็ดที่ร่วงลงพื้นอย่างไม่ได้ตั้งใจเพาะ  ...ใกล้กันสักคืบหนึ่งก็เป็นปุ๋ยหมักพอเพียงที่กองไว้เพื่อปลูกถั่วฝักยาวเมล็ดพันธุ์จากคุณสาวน้อย...ความสูงของเมล็ดพันธุ์ต้นนี้สูงห้าก้อนอิฐบล็อกที่ก่อไว้เป็นกำแพง กำลังเริ่มให้ดอก ...ใบมะเขือเทศใหญ่มากๆ...รออีกสักพักคงได้เห็นผล


 


ก็อดไม่ได้ที่จะมองดูต้นถั่วฝักยาวที่ว่า มีสามต้น ...เห็นแล้วว่าใบใหญ่จริงๆ นี่รวมเวลาน่าจะเดือนกว่า ...อีกไม่นานเกินรอ ...มาดูกัน


“...กินอะไร ได้อย่างนั้น...”   เอ...เห็นทีต้องพิสูจน์กัน


พิสูจน์กันอย่างง่ายๆด้วยต้นไม้ที่ปลูกได้กินปุ๋ยหมักพอเพียง...ต้นโต ให้ดอกผลที่แข็งแรง...แล้วเราก็กินดอกผลที่แข็งแรง เราก็แข็งแรงตาม...พิสูจน์กันอย่างนี้ดีไหม


หมายเหตุล็อกนี้ขอชื่นชมปุ๋ยหมักพอเพียง เนื่องจากว่าต้นไม้ทั้งสี่ต้นได้แต่ปุ๋ยหมักพอเพียง สังเกตว่าใบโตมาก  รออีกสักระยะคงได้เห็นผล



ความเห็น

ค่ะสำหรับข้อมูลเรื่องเห็ด มีข้อมูลการกินอย่างอื่นอีกไหมคะ นำมาลงด้วยค่ะ

 

 

ขอบคุณค่ะ คุณย่าวรรณที่แวะเยี่ยมชม ข้อมูลอาหารอย่างอื่นมีหลายอย่างเลยค่ะ ที่อยากเรียนเห็นจะเป็นเรื่องข้าว ถั่ว งา นะคะ ที่เป็นอาหารหลัก หากว่าเป็นข้าวหลากหลายสายพันธุ์จะดีมากๆเลยค่ะ โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี มีอยู่รายหนึ่งที่เคยได้รู้จักตัวจริงได้เคยคุยกันไม่กี่ประโยค แต่ทราบข้อมูลจากหนังสือค่ะ ชื่อคุณผาดาว ซึ่งปลูกข้าวสิบสองสายพันธุ์โดยไม่ใช้สารเคมีในแปลงเดียวกัน ด้วยหลักที่ว่าสิบสองสายพันธุ์มีหลากสีแต่ละสายพันธุ์ดูดซับธาตุอาหารจากดินไม่เหมือนกัน เมื่อเป็นรวงก็จะให้สีที่ต่างกัน เมื่อร่างกายได้ธาตุอาหารหลากหลายครบถ้วนก็ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ส่วนถั่วนั้นนอกเหนือจากถั่วหลากหลายชนิดแล้วก็ยังเป็นเรื่องของถั่วอายุยาว ได้แก่เมล็ดมะค่าแต้ มะค่าโมง เมล็ดมะขาม เป็นต้น เมื่อนำมาเพาะงอกปรุงเป็นอาหารทำให้ร่างกายได้ธาตุอาหารที่มากขึ้น เมล็ดถั่วอายุยาวนี้ยังมีระยะเวลาที่รากดูดซับธาตุอาหารเป็นเวลาหลายเดือน ตรงนี้สำคัญมาก เมื่อร่างกายได้ธาตุอาหารที่มีการสะสมเป็นแรมเดือนไว้ที่เมล็ด ร่างกายก็จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการบำรุงอวัยวะและเซล์ลต่างๆเป็นอย่างดีค่ะ งาก็เช่นกันหากว่าได้งาหลายสีหลายสายพันธุ์ย่อมได้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายด้วย


ขอบคุณคุณย่าวรรณมากค่ะ ที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ ส่วนตัวเองนั้น ค่อยๆศึกษาเรียนรู้จากนักธรรมชาติบำบัด ซึ่งในเรื่องข้างต้นนี้ก็ต้องขอขอบคุณ คุณไพโรจน์ อรรคสีวร ซึ่งกรุณาตอบข้อสงสัยให้มาโดยตลอดจึงเข้าใจมากขึ้นค่ะ

ผมปักชำฝักหวานบ้านไว้50 กิ่ง  ถูกหอยทากทำลายไปเกินครึ่ง  ดังนั้น เห็นหอยทากต้องรีบกำจัดเลยครับ

คุณอานนท์ ขอขอบคุณที่แวะเยี่ยมชมบล็อกค่ะ ที่บ้านสังเกตว่าไม่ค่อยมีไส้เดือนฝอย จะมีก็น้อยมากๆ เข้าใจว่าหอยทากคงจัดการกับไส้เดือนฝอย นี้เป็นวงจรชีวิตที่ธรรมชาติจัดสรรกันลงตัว ...


ที่ผานมาเห็นหอยทาก บางทีก็เผลอเหยียบไปบ้าง แต่จะเก็บไปให้ไกลๆต้นไม้ บางทีก็เก็บต้นไม้ให้ไกลๆหอยทาก ต้องขออภัยด้วยนะคะ คุณอานนท์ที่เห็นต่างไปบ้าง ...คือ คิดว่าเขาเองก็พยายามหากินด้วยความสามารถของเขาน่ะค่ะ เลยทำอะไรเขาไม่ได้มากกว่านั้น ทั้งที่เขาเองก็กินต้นไม้ใบหญ้าที่บ้าน บางต้นก็แสนจะหวงมากๆ


สุดท้ายก็ยังมีต้นไม้บางต้นที่หลงเหลือรอดพ้นจากการกินของหอยทาก ก็คิดว่าน่าจะมีวิธีการดีๆ มีบางท่านว่า หากต้นใดแข็งแรงหอยก็จะไม่กิน เราได้กินต้นที่หอยทากไม่กิน เราก็ได้ความแข็งแรงนั้นด้วย(แต่นี่คงไม่ได้หมายถึงต้นอ่อนๆนะคะ)


ต้องขออภัยด้วยอีกครั้งนะคะ หากว่าความเห็นมีแตกต่างไปบ้าง  อีกอย่างที่บ้านก็ปลูกเล็กๆน้อยๆน่ะค่ะ ก็คิดว่าหากผู้เป็นเกษตรกรเต็มตัว ปลูกต้นอ่อนแล้วเจอปัญหาอย่างนี้ คงหนักใจมาก แต่ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจนะคะ ให้ได้วิธีการดีๆ


 

หน้า