ดีปลากั้ง...สมุนไพรไกลโรค
ชื่อพื้นเมือง : ดีปลากั้ง, บีปลาข่อ, ดีปลาข่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria strigosa Willd.
ชื่อวงศ์ :ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กกึ่งล้มลึก อยู่ในวงศ์ACANTHACEAE ลำต้นตรง เปลือกต้นสีเทา เรียบ สูงราว 30-100 ซม. ใบ เป็นใบเดี่ยวขึ้นเรียงตรงข้ามตามต้น รูปทรงรี กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 5-7 คู่ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยไม่มีก้าน เวลาบานกลีบดอกย่อยสีม่วงแกมน้ำเงิน ที่ปลายกลีบแยกเป็นสองปาก มีกลีบเลี้ยงปลายแยกเป็น 4 แฉก ผล รูปทรงแบน พอแก่จัดจะแห้งและแตกได้ในที่สุด พืชชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ :ราก - ต้มแก้ไข้และแก้หืดหอบ โรคความดัน
ลำต้น - ต้มบำรุงโลหิตบำรุงธาตุขับลมในลำไส้ ใบใช้ปรุงอาหาร มีรสขม
ใบอ่อน - ยอดสดรับประทานกับอาหารประเภท ลาบ ป่น แก้โรคเบาหวานดอกใช้เป็นยาขับลมในลำใส้ ทำให้ผายลมและเรอ
ตอนเป็นเด็กเคยเห็นพ่อเก็บมาเป็นผักกินกับลาบ...ผมก็เคยกิน...รสชาดออกขมอมหวาน..หากใครกินขมไม่ค่อยได้แนะนำให้ตากแห้งแล้วบดเป็นผงบรรจุแคปซูลไปเลยครับ...หรือว่าจะผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนทาน...รับรองดีแน่นอ
ภาพนี้เป็นภาพที่ผมเพิ่งซื้อมา ปัจจุบันโตเป็นพุ่มพอควร
หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็ให้ข้อมูลเพิ่มได้นะครับเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นต่อๆไป....ขอให้ได้บายหลุ๋นๆ...ขอให้ได้บุญหลายๆ
- บล็อกของ yoshige675
- อ่าน 27999 ครั้ง
ความเห็น
RUT2518
20 มิถุนายน, 2011 - 18:42
Permalink
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆ
yoshige675
20 มิถุนายน, 2011 - 18:45
Permalink
ไม่เป็นไรครับ...แชร์ความรู้คร
ไม่เป็นไรครับ...แชร์ความรู้ครับ
tikki
20 มิถุนายน, 2011 - 18:51
Permalink
น้องต้น
ใบและต้นของดีปลากั้ง คล้ายกับต้นยอ มากเลยจ้ะ
yoshige675
20 มิถุนายน, 2011 - 18:57
Permalink
ใบยอจะใหญ่กว่ามากครับ...เดี๋ย
ใบยอจะใหญ่กว่ามากครับ...เดี๋ยววันหน้าจะเอามาให้ดูนะครับ
ป้าลัด
20 มิถุนายน, 2011 - 18:55
Permalink
ได้รู้จักสมุนไพรอีกชนิดนึงแล้
ได้รู้จักสมุนไพรอีกชนิดนึงแล้ว ขอบคุณค่ะ:cute:
thiwagonblackcat
20 มิถุนายน, 2011 - 19:02
Permalink
ได้รู้จักต้อนไม่อีกหนึ่ง
ได้รู้จักต้อนไม่อีกหนึ่ง แล้ว
ขอบคุณมากจ้ะ สำหรับข้อมูลดีดี
วิศิษฐ์
20 มิถุนายน, 2011 - 20:08
Permalink
ดีจริง ๆ
ดีปลากั้ง...ท่าทางจะขมนะครับ...
yoshige675
20 มิถุนายน, 2011 - 20:09
Permalink
ออกขมอมหวานครับ...คล้ายกับดีข
ออกขมอมหวานครับ...คล้ายกับดีของปลานิงเลย
saeng77
20 มิถุนายน, 2011 - 20:15
Permalink
่ใช่เป็นต้นเดียวกับที่ทางเหนื
่ใช่เป็นต้นเดียวกับที่ทางเหนือเรียกกันว่าดีกระทิงหรือเปล่า? ดูใบคล้ายกันคะ
yoshige675
20 มิถุนายน, 2011 - 20:30
Permalink
น่าจะใช่นะครับ...เรียกต่างกัน
น่าจะใช่นะครับ...เรียกต่างกันเฉยๆ
หน้า