ดูงานการเกษตรประเทศไต้หวัน (สมบูรณ์)
ผมได้มีโอกาสไปโครงการแลกเปลี่ยนของมหาลัยทางด้านพืชสวนเป็นโครงการโคระหว่างม.จงชิงกับม.เกษตร ไปทั้งคณะ17คน เป็นเวลา 20 วัน เลยนำมาให้พี่ๆชมกันครับ (อัพเท่านี้ เยอะมากๆอยู่20วันไม่ค่อยได้หยุดดูงานตามศูนย์วิจัยต่างๆ บ้านเกษตรกร ซึ่งเด็กเขายังไม่ได้ชมสิ่งดีๆแบบนี้เท่าเราเลย ผมไม่ค่อยเก่งภาษาสักเท่าไหร่ ถ้าสงสัยอะไรผมจะถามอาจารย์มาให้ครับ แบบทางเทคกะนิคอะครับ มีบางอย่างผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ)
การเกษตรที่ไต้หวันส่วนใหญ่เป็นของคนรวยเพราะมีที่ดิน เขาจึงสนใจในด้านเกษตรมาก ๆ ลงทุนสูง ได้ผลผลิตดี คุณภาพดี ราคาดี ข้าวบ้านเขาเป้นข้าวเมล็ดสั้น เหนียว เขาใช้เครื่องปลูกเป็นแถว แปลงนี้เป็นแปลงอินทรีย์ ประเทศเขาเป้นประเทศส่งออกสิ่งต่างๆเป็นอันดับ6ของโลก มีประชากร23ล้านคน ขับรถจากเหนือลงใต้ใช้เวลา5ชม. ค่าเงินพอๆกับบ้านเรา มีคนไทยไปทำงานแสนคน ส่วนใหญ่ทำภาคอุตสาหกรรม
น้ำ ใสสะอาดมาก มีการปล่อยเป็ดลงแปลงกินหอย ใส่น้ำจุลลินทรีย์เขาใช้น้ำนมเปรียวนำมาหมัก ปลูกพวกตะไคร้ไล่แมลงรอบแปลง ไม่เผาตอซัง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ขี้ไก่(เหมือนคน ค้นคนเลยที่อยู่บางปลาม้ามีที่ทำนา100ไร่) การใส่ปุ๋ยเคมีถ้าใส่มากไปเกินความจำเป็นจะทำให้ต้นข้าวอ่อนแอได้ครับ เคยได้ยินโครงการปุ๋ยสั่งตัดไหมครับ ที่อ.ดร ทัศนีย์ ทำไว้ ผมเคยไปติดตามท่านไปแนะนำชาวบ้านของโครงการพระดาบฏ ท่านให้วิเคราะห์ค่าดิน และ ค่าปุ๋ยเคมี ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช เหมือนการตัดเสื้อครับ ที่ขายๆสูตรต่างๆท้องตลาดจะเป็นเสื้อโหล เราต้องนำมาแก้ให้เราใส่ให้ได้พอดี ไม่ให้หลวม หรือคับ
รูปนี้เป็นแปลงสวนสาธารณะบ้านเขาให้คนเช่าปลูกผัก ไว้ขาย ไว้ทานในครอบครัว
ส่วนใหญ่ทุกอย่างจะเป็นอินทรีย์หมด
มาชมไม้ผลกันบ้างครับนี้คืนพุทรา เขาตัดแต่งแก่งแล้วเทรนให้เลื่อยไปตามลวดทำแบบองุ่น ทำคล้ายบ้านเรา ลูกใหญ่สู้บ้านเราไม่ได้(พันธุ์นมสด)
แก้วมังกรคุมฟาง เปิดไฟ น้ำหยด บ้านเขาราคาแพงคนนิยมทานเพราะคนจีนชอบอะไรที่เป็นสีแดงๆ การทำเกษตรต้องมีข้อมูลครับอะไรที่คนปลูกมากๆก็หลีกเลี่ยง เพราะประเทศเราปลูกพืชได้เหมือนกันทั้งประเทศ
lk]ujกำลังติดผลปลูกโดยมีพลาสติกคลุม ป้องกันฝนสาเหตุของการเกิดโรค ช่วยคุมอุณหภูมิ
อันนี้เป้นแปลงองุ่นพันธุ์เคียวหก เขาปล่อยให้หญ้าคลุมดิน(อินทรีย์) ส่งขายญี่ปุ่น
รส ชาติดีครับหวานนุ่ม ยังสุกแก่ไม่เต็มที่ องุ่นที่สุกดูที่ก้านจะมีสีน้ำตาล
ส่วนเกษตรกรเขาปลูกองุ่นทำไวน์ซึ่งมีการสนับสนุนจากรัฐให้เงินลงทุนเรื่อง เครื่องจักรอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ ซึ่งต่างจากบ้านเรางบทั้งประเทศ100บาท ภาคเกษตรได้มา3.3บาท บ้านเราเป็นประเทศอุตสาหกรรมนะครับ (ฟังเขามา T T )
อัน นี้เป็นห้องวินิจฉัยโรคพืชบริการให้เกษตรกรฟรี หรือส่งรูปเข้าเมลถามได้ ถ้าเป็นบ้านเราก็เด็ดใบเป็นโรคแล้วไปถามร้านค้าขายยา หรือเซลแมน พี่ๆเป็นโรคไร เอ๊าเอานี่ไป500บาท อ่านตามฉลาก ผสมผิดบ้างถูกบ้าง
ศูนย์ วิจัยสารเคมีซึ่งที่นี่ทันสมัยเป็นเงินของรัฐครึ่งเอกชนครึ่ง ผ่านมาตรา ฐานTAP GAP ออกานิค เครื่องที่เห็นราคาประมาณ 40 ล้านบาท ตรวจจำแนกสารได้กว่า100ชนิด มีเครื่องLC 8 เครื่อง GCMS 12 เครื่อง และมีกระจายไปตามมหาลัยต่างๆ เขาตรวจให้เกษตรกรฟรีครับถ้าบ้านเราจะคิดอยู่ที่ประมาณตัวอย่างละ4พันบาท มีไว้สู้กับมาตราฐานและการกีดกันทางตลาด
มา ดูผลไม้ที่ตลาดกลางกันบ้าง น้อยหน่าที่นี้หวานคล้ายน้อยหน่าหนังบ้านเรา แตงโมลูกใหญ่หวาน และผลไม้เขตกึ่งหนาว ราคาแพงดีครับมีทั้งนำเขาและภายในประเทศ ส่วนไม้ผลเขตร้อนแพงมากๆ มะพร้าวลูกละ 40 บาท เราคงสงสัยว่าทำไมผลไม้บ้านเขาถึงสู้กับผลไม้นำเข้าได้เพราะคนเขา มี40%อนุรักษ์กินผลไม้ผลิตในประเทศอีก60%ชอบผลไม้ต่างประเทศ ซึ่งทำให้ผลไม้ที่ผลิตออกมาจะหมดก่อน เรามากินผลไม้ไทยกันเถอะครับญี่ปุ่นมังคุดลูกละ100 บาท เงาะ 3 ลูกร้อยเชียวนะ
รูปนี้ผลไม้นำเข้าของเขาซื้อมาขายไป เราเคยได้ยินไหมครับสิงคโปร์ส่งออกมะม่วงอันดับ 3 โลก เพราะรับจากไทยและฟิลิปปินส์ไปขายต่อ
แตงโม และตระกูลแตงบ้านเขาอร่อยสุดยอดครับ ลูกใหญ่มาก
มะม่วงพันธุ์เออร์วินครับสีแดงลุกใหญ่ส่งออกดีต่างประเทศชอบทาน และก็อีกพันธุ์นวลคำ บ้านเราไม่ค่อยนิยมรสชาติไม่ดีกลิ่นแรง อกร่องอร่อยกว่าเยอะๆ^^
ทุเรียน บ้านเราส่งไปขายที่ไต้หวัน ถามเด็กไต้หวันว่าชอบกินป่าวเขาบอกเหม็นกลิ่นแรง ผมว่าคนแกะเขาแกะไม่เป็นมีรอยช้ำ หรืออาจไว้นาน สุกบ้างดิบบางปนๆกันไปราคาก็แพง
เป็น แปลงหน่อไม้น้ำ ซึ่งรสมันๆกรอบๆคล้ายๆเมล็ดบ้านเรา หมู่บ้านนี้มีกลุ่มสหกรณ์21 คนมีหน่วยงานสนับสนุน ขายได้เงินมูลค่า15000ล้านบาท ในพื้นที่1500 เฮกตาร์ปลุกคล้ายข้าวมีการเปิดไฟให้น้ำอุ่นเต็มน้ำอุ่นเวลาน้ำเย็น หน่อไม้น้ำที่ดีต้องมีน้ำที่สะอาด ซึ่งมีถึ่นกำเนิดมาจากประเทศเราและแถวอินโดเราน่าจะปลูกเป็นการค้า ได้ 5หน่อ100บาท
(ยายคนนี้ปลูกผักทานเองถึงได้อายุยืน อยู่อย่างพอเพียง) ที่ไต้หวันก็มีปัญหาเหหมือนบ้านเราคือเด็กวัยรุ่นไม่ค่อยสนใจทำการเกษตร
หม่อนครับหรือมัลเบอร์รี่เป้นยาระบายอย่างดี ที่นี้มีการรวบรวมพันธุ์และส่งเสริมเกษตร ที่โครงการหลวงบ้านเราก็มีหลายพันธุ์
บ้านเรามีพันธุ์เชียงใหม่ บุรีรัม (แบล็ค หวานไม่มีขน)
ต้นนี้องุ่นต้น รสชาติเหมือนน้อยหน่าลักษณะคล้ายองุ่น
หมู่ บ้านนี้ปลูกเสาวรสเป็นสหกรณ์ปลูกได้ดีเพราะบริเวณเป็นแอ่งกะทะของภูเขาทำให้ เชื้อโรคต่างๆเขามาได้น้อย บ้านเขาปลูก1ปีเก็บผลแล้วตัดทิ้งเลย เกษตรกรเขามีการวางแผนกันดีทำอย่างไรไม่ให้ล้นตลาด แต่ละจังหวัดก็มีแต่ละอย่างที่ขึ้นชื่อ เสาวรสบ้านเรามีน้ำขายแล้วครับกล่องละ10บาท ของดอยคำโครงการหลวง วิตามินซีสูงดี
กล้วยไข่เขาเอาพันธุ์บ้านเราไปผสม ยังไม่หวานเท่าบ้านเรา บ้านเรากินไปถึงขั้นร้อนใน
กล้วยหอมส่งออกญี่ปุ่นบ้านเขาต้องเอาเสามาปักกันพายุ (สหกรณ์บ้านลาดเราลูกใหญ่กว่า)
ชมพู่เขา ซึ่งเขาได้นำพันธุ์ทับทิมจันทร์เราไปปลูกซึ่งเป้นที่นิยมอย่างมาก
มาต่อไม้ดอกกันบ้างนะครับ ได้มีโอกาศไปงาน ฟลอล่าเอ็กโปร 2010 อินไต้หวัน ก่อนงานหมดสิบวัน เขาทุ่มทุนสร้างร่วม4พันล้าน
ถ่ายไม่ค่อยเก่ง อยากให้ชมกันครับ เพื่อเอามาประดับบ้านเราได้บ้าง
ฟา แลนนอฟซีป เป็นกล้วยไม้อันดับ1ของประเทศเขาครับส่งออกเป็นอันดับต้นๆของโลก บ้านเราก็พวกหวายครับที่ส่งไปไต้หวันและต่างประเทศ หวายที่ไต้หวันราคาแพงมากครับ
คนเยอะมาก
ถนน สวยกว่าสุพรรณบ้านผมนิดหน่อย ผังเมืองเขาเป็นระเบียบมากเนื่องจากเคยโดนปกครองโดยสหรัฐและญี่ปุ่นและมาจีน บ้านเขารถน้อยครับส่วนใหญ่ขับมอไซด์กะจักรยาน เพราะค่าที่จอดรถมันแพง กฎหมายบ้านเขาทำผิดปรับตังอย่างเดียวและปรับแพงมากคนไทยเคยไม่ใส่หมวกกัน น็อคโดนไป2หมื่น เงินเดือนแทบหมด
อนุสาวรีย์เจียงไทเช็ค สวยมากๆ
คนจริงครับยืนเฝ้าท่านเจียง ห้ามกระพิบตา
แมลง ในนาข้าวครับว่างๆลองจับมาดูตัวไหนอารักข้าวอันไหนควรกำจัด ถ้าเราฉีดยาฆ่าแมลงหมด ตัวห้ำตัวเบียนก็จะตายหมด ระบบทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปหมดสารพิษตกค้าง10ปีครับ
ชบา เป็นที่ฮิตอยู่ตอนนี้ในไต้หวัน เขาพัฒนาพันธุ์อย่างไม่หยุด ส่งขายญี่ปุ่นและจีน บ้านเราก็ไม่คึกครื้นเท่าไหร่แล้วอาจเพราะบ้านเรามีพันธุ์ไม้เขตร้อยที่น่า สนใจเยอะกว่า
โป้ ยเซียนไล้หนามเขาบอกว่าแพงพันธุ์ใหม่ คนจีนชอบมากๆเป็นพืชมงคลของเขา ประเทศเขาเลี้ยงนักวิจัยไว้เยอะมากครับ โดยส่งเด็กเขาไปเรียนต่างประเทศ พอจบแล้วดึงกลับมาพัฒนาประเทศเขาโดยเปิดโอกาสให้อยู่ไต้หวัน8เดือน อีก4เดือนกลับต่างประเทศ(ฟังพี่คนไทยที่ไต้หวันมา) ส่วนนักวิจัยในไทยเก่งๆเยอะครับตามหลักศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์ ได้การสนับlสนุนหรือปล่าวก็ไม่แน่ใจ
า
โรงเรือนปลูกฟาแลนด์ ปลูกแล้วก็มีร้านจำหน่าย ครบวงจร
อากาศดีขึ้นได้กับต้นมะม่วง
ร้านขายดอกไม้ทั้งขายภายในประเทศและส่งออกนอก ราคาไม่แพงประมาณ300-1500บาท
แป ลงลิลลี่ครับ ไปตอนช่วงไม่ติดดอก ไม้ผลก็ไม่ติดผลเลยไม่มีกรรมวิธีการเก็บเกี่ยวมาฝากเลยครับ ลิลี่แปลงนี้ขายกันแบบประมูลครับ ราคาขั้นต่ำเป็นแสนขึ้นไม่งั้นไม่ขาย
ต้นนี้ลืม
ยูสโตม่าครับ ปลูกในโรงเรือน ญี่ปุนชอบดอกซ้อนส่วนไต้หวันชอบดอกเดียว พันธุ์ไทนาน 1
สีนี้สวยมากครับเขาปรับปรุงพันธุ์ได้ดอกสีสวยๆ
อันนี้ สแตติสครับ ดอกคล้ายกระดาษชอบอากาศหนาว
ขึ้น มาที่สูงกันบ้างครับ สูงกว่าระดับน้ำทะเล3600 กมทะเล อุณหภูมิที่ไปตอนเที่ยงหน้าร้อน 11 องศา อันนี้เป็นสวนแอปเปิ้ลครับ ดูการแทรนเกิ่งครับ โน้มลงมา
เห็นเป็นเสาคือที่พ่นยากันโรค ไปช่วงไม่มีผลผลิตแต่ได้กินแอปเปิ้ลกับสาลี่ อบกรอบ และจิบกาแฟร้อน อร่อยมากๆครับ ประมาณทุเรียนอบกรอบบ้านเรา
ที่ นี่ศูนย์วิจัยทางตอนใต้(เขตร้อน)ของบ้านเขาผมเดินนับโรงเรือนอีเแวบ บ้านเขาได้ 20 กว่าเรือนส่วนใหญ่ปลูกกล้วยไม้ซึ่งถือว่าเยอะมากครับ ราคาที่บ้านเราประมาณเรือนละ1.6 ล้านที่ปางดะปลูกดอกกุหลาบถามพี่ที่โครงการหลวงพี่เขาบอกว่า4ปีคุ้มทุนครับ (ก่อนไปผมได้ไปฝึกงานโครงการหลวงปางดะ)
อันนี้ลิ้นจี่ครับเขาได้รวบรวมพันธุ์ พันธุ์จักรพรรดิ์ และก็มีพันธุ์ค่อมบ้านเราด้วย ต้นเตี้ยดีเก็บง่าย
สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์หยาง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่จงชิง ท่านมีคุณกับคนไทยมากท่านเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการหลวงไม้ผลเขตหนาว และให้การต้อนรับการไปดูงานในครั้งนี้อย่างดีมากๆๆๆๆครับท่านสุดยอดจริงๆ และขอบคุณพี่ๆที่ศึกษาอยู่จงชิงทุกๆคนที่ค่อยช่วยเหลือดูแลเป็นอย่างดี เป็นคนแปรภาษาให้และพาไปดุงานขอให้พี่ๆจบดร.กันเร็วๆนะครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านหวังว่าได้ความรู้ไม่มากก็น้อย
ความ รู้ที่พิมได้จาก การฝึกงานโครงการหลวงที่ปางดะ ดูงานที่ไต้หวัน และการประชุมวิชาการพืชสวนครั้งที่10 และความรู้งูๆปลาๆของผม ประเทศต้องพัฒนาครับความจริงเกษตรกรบ้านเราโครตเก่งทั้งปราศและภูมิปัญญา และพันธุ์พืชที่เรามีอยู่หลากหลายมากๆ ทั้งดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ปลูกอะไรก็ขึ้น ถ้าประยุกต์กับเทคโนโลยี และศาสตร์ต่างๆ จะสุดยอดมากๆครับ
Panya (Boom) KU68 ag-sci7
- บล็อกของ boomcup
- อ่าน 10257 ครั้ง
ความเห็น
guys ka
23 มิถุนายน, 2011 - 22:09
Permalink
ดีจัง
ดีจัง
.................
boomcup
23 มิถุนายน, 2011 - 22:15
Permalink
เห็นรูปภาพป่าวครับ
เห็นรูปภาพป่าวครับ
9att
23 มิถุนายน, 2011 - 22:49
Permalink
เห็นรูปสุดท้ายก็ห้องวินิจฉัย
เห็นรูปสุดท้ายก็ห้องวินิจฉัย ที่เหลือไม่เ็ห็นครับ :confused:
ป้าลัด
23 มิถุนายน, 2011 - 23:15
Permalink
เห็นภาพค่ะ
น่าสนใจมาเลยค่ะ :cute:
boomcup
23 มิถุนายน, 2011 - 23:16
Permalink
ขอบคุณครับ น่าจะเห็นหมดแล้ว
ขอบคุณครับ น่าจะเห็นหมดแล้ว เน็ทช้าเหอะๆ
oddzy
24 มิถุนายน, 2011 - 03:41
Permalink
โอ้โห น้องบูม
ทั้งภาพ และคำอธิบาย สะใจจริงๆค่ะ เดี่ยวนี้ใต้หวันเอาผลไม้ของบ้านเราไปปลูกหมดเลยหรอเนี่ย...แถมป้องกันแมลงได้ดีกว่าบ้านเราอีก มิน่าล่ะ ที่นำเข้าผลไม้ลิ้นจี่มาอเมกานี่สงสัยอยู่แล้วเชียวว่ามันมาไง ที่กล่องมันบอก มาจากใต้หวัน สงสัยมาจากแปลงนี่แน่ๆเลย อั๋ยย๋า แถมมีน้อยหน่าอีก แล้วได้ชิมอะไรมั่งค่ะ รสชาติหวานสู้บ้านเราได้ใหม
อยากชิมองุ่นต้น จังค่ะ รสชาติเมหือนน้อยหน้า แต่ลูกเหมือนองุ่น แปลกดีจัง เขาเอาอะไรมาผสมกับอะไรหนอ ทำไมได้ลูกออกมาเป็นลูกครึ่งดีแท้ ต่อไปก็คงมีทุเรียนรสน้อยหน่า หรือไม่ก็น้อยหน่ารสทุเรียน ฮ่าๆๆๆ
ประไพ ทองเชิญ
24 มิถุนายน, 2011 - 04:04
Permalink
น้อง'oddzy อย่าเพิ่งตื่นเต้นกับเกษตรไต้หวัน
พี่หยอยยังตั้งสติพิจารณาอยู่ แต่รู้สึกคุ้นๆพี่น้องในภาพสุดท้าย ต้องเคยเจอในงานประชุมอะไรสักอย่าง
พี่ว่าเกษตรของอ๊อดที่บันทึกไว้และแบ่งปันพี่น้อง น่าประทับใจกว่านะ
oddzy
24 มิถุนายน, 2011 - 04:11
Permalink
นั้นซิพี่หยอย
เห็นภาพแล้ว อั๋ยย๋า ผลไม้บ้านเรา เขาเอาไปวิจัยที่โน้นหมดเลยรึ แล้วก็ส่งออกไปขายทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน ผลไม้บ้านเรากลับส่งออกไม่ได้เลย สงสารชาวสวนน่ะพี่หยอย
ประไพ ทองเชิญ
24 มิถุนายน, 2011 - 04:22
Permalink
เห็นมั้ย มองให้ถี่ถ้วนเชื่อมโยง
แล้วจะพบว่า"การเกษตรแผนใหม่"บ้านเราทำไมถึงอับจนนัก
แต่เกษตรดั้งเดิมยังพึ่งได้ ช่วยให้หลายๆหมู่บ้านรอดได้ โชคดีที่กรมวิชาการเกษตรเข้าไปไม่ถึง ฮาๆๆๆๆๆ
RUT2518
24 มิถุนายน, 2011 - 05:22
Permalink
ขอบคุณมากครับ
ที่นำเสนอข้อมูลประกอบภาพดีๆมาให้ชมเองครับ
หน้า