ดูงานการเกษตรประเทศไต้หวัน (สมบูรณ์)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ผมได้มีโอกาสไปโครงการแลกเปลี่ยนของมหาลัยทางด้านพืชสวนเป็นโครงการโคระหว่างม.จงชิงกับม.เกษตร ไปทั้งคณะ17คน เป็นเวลา 20 วัน  เลยนำมาให้พี่ๆชมกันครับ  (อัพเท่านี้ เยอะมากๆอยู่20วันไม่ค่อยได้หยุดดูงานตามศูนย์วิจัยต่างๆ บ้านเกษตรกร  ซึ่งเด็กเขายังไม่ได้ชมสิ่งดีๆแบบนี้เท่าเราเลย  ผมไม่ค่อยเก่งภาษาสักเท่าไหร่ ถ้าสงสัยอะไรผมจะถามอาจารย์มาให้ครับ แบบทางเทคกะนิคอะครับ มีบางอย่างผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ)

การเกษตรที่ไต้หวันส่วนใหญ่เป็นของคนรวยเพราะมีที่ดิน เขาจึงสนใจในด้านเกษตรมาก ๆ ลงทุนสูง ได้ผลผลิตดี คุณภาพดี ราคาดี ข้าวบ้านเขาเป้นข้าวเมล็ดสั้น เหนียว เขาใช้เครื่องปลูกเป็นแถว แปลงนี้เป็นแปลงอินทรีย์ ประเทศเขาเป้นประเทศส่งออกสิ่งต่างๆเป็นอันดับ6ของโลก มีประชากร23ล้านคน ขับรถจากเหนือลงใต้ใช้เวลา5ชม. ค่าเงินพอๆกับบ้านเรา มีคนไทยไปทำงานแสนคน ส่วนใหญ่ทำภาคอุตสาหกรรม

น้ำ ใสสะอาดมาก มีการปล่อยเป็ดลงแปลงกินหอย ใส่น้ำจุลลินทรีย์เขาใช้น้ำนมเปรียวนำมาหมัก ปลูกพวกตะไคร้ไล่แมลงรอบแปลง ไม่เผาตอซัง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ขี้ไก่(เหมือนคน ค้นคนเลยที่อยู่บางปลาม้ามีที่ทำนา100ไร่)   การใส่ปุ๋ยเคมีถ้าใส่มากไปเกินความจำเป็นจะทำให้ต้นข้าวอ่อนแอได้ครับ  เคยได้ยินโครงการปุ๋ยสั่งตัดไหมครับ ที่อ.ดร ทัศนีย์ ทำไว้ ผมเคยไปติดตามท่านไปแนะนำชาวบ้านของโครงการพระดาบฏ ท่านให้วิเคราะห์ค่าดิน และ ค่าปุ๋ยเคมี ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช เหมือนการตัดเสื้อครับ ที่ขายๆสูตรต่างๆท้องตลาดจะเป็นเสื้อโหล   เราต้องนำมาแก้ให้เราใส่ให้ได้พอดี ไม่ให้หลวม หรือคับ 

รูปนี้เป็นแปลงสวนสาธารณะบ้านเขาให้คนเช่าปลูกผัก ไว้ขาย ไว้ทานในครอบครัว

ส่วนใหญ่ทุกอย่างจะเป็นอินทรีย์หมด

มาชมไม้ผลกันบ้างครับนี้คืนพุทรา เขาตัดแต่งแก่งแล้วเทรนให้เลื่อยไปตามลวดทำแบบองุ่น    ทำคล้ายบ้านเรา  ลูกใหญ่สู้บ้านเราไม่ได้(พันธุ์นมสด)

แก้วมังกรคุมฟาง เปิดไฟ น้ำหยด บ้านเขาราคาแพงคนนิยมทานเพราะคนจีนชอบอะไรที่เป็นสีแดงๆ  การทำเกษตรต้องมีข้อมูลครับอะไรที่คนปลูกมากๆก็หลีกเลี่ยง เพราะประเทศเราปลูกพืชได้เหมือนกันทั้งประเทศ

 

lk]ujกำลังติดผลปลูกโดยมีพลาสติกคลุม ป้องกันฝนสาเหตุของการเกิดโรค ช่วยคุมอุณหภูมิ

อันนี้เป้นแปลงองุ่นพันธุ์เคียวหก เขาปล่อยให้หญ้าคลุมดิน(อินทรีย์) ส่งขายญี่ปุ่น 

รส ชาติดีครับหวานนุ่ม ยังสุกแก่ไม่เต็มที่ องุ่นที่สุกดูที่ก้านจะมีสีน้ำตาล

ส่วนเกษตรกรเขาปลูกองุ่นทำไวน์ซึ่งมีการสนับสนุนจากรัฐให้เงินลงทุนเรื่อง เครื่องจักรอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ ซึ่งต่างจากบ้านเรางบทั้งประเทศ100บาท ภาคเกษตรได้มา3.3บาท บ้านเราเป็นประเทศอุตสาหกรรมนะครับ (ฟังเขามา T T )

อัน นี้เป็นห้องวินิจฉัยโรคพืชบริการให้เกษตรกรฟรี หรือส่งรูปเข้าเมลถามได้  ถ้าเป็นบ้านเราก็เด็ดใบเป็นโรคแล้วไปถามร้านค้าขายยา หรือเซลแมน พี่ๆเป็นโรคไร เอ๊าเอานี่ไป500บาท อ่านตามฉลาก  ผสมผิดบ้างถูกบ้าง

 

 

 

 

ศูนย์ วิจัยสารเคมีซึ่งที่นี่ทันสมัยเป็นเงินของรัฐครึ่งเอกชนครึ่ง ผ่านมาตรา ฐานTAP GAP ออกานิค เครื่องที่เห็นราคาประมาณ 40 ล้านบาท ตรวจจำแนกสารได้กว่า100ชนิด มีเครื่องLC 8 เครื่อง GCMS 12 เครื่อง และมีกระจายไปตามมหาลัยต่างๆ เขาตรวจให้เกษตรกรฟรีครับถ้าบ้านเราจะคิดอยู่ที่ประมาณตัวอย่างละ4พันบาท  มีไว้สู้กับมาตราฐานและการกีดกันทางตลาด

 

 

 

มา ดูผลไม้ที่ตลาดกลางกันบ้าง น้อยหน่าที่นี้หวานคล้ายน้อยหน่าหนังบ้านเรา แตงโมลูกใหญ่หวาน  และผลไม้เขตกึ่งหนาว ราคาแพงดีครับมีทั้งนำเขาและภายในประเทศ ส่วนไม้ผลเขตร้อนแพงมากๆ มะพร้าวลูกละ 40 บาท  เราคงสงสัยว่าทำไมผลไม้บ้านเขาถึงสู้กับผลไม้นำเข้าได้เพราะคนเขา มี40%อนุรักษ์กินผลไม้ผลิตในประเทศอีก60%ชอบผลไม้ต่างประเทศ ซึ่งทำให้ผลไม้ที่ผลิตออกมาจะหมดก่อน เรามากินผลไม้ไทยกันเถอะครับญี่ปุ่นมังคุดลูกละ100 บาท เงาะ 3 ลูกร้อยเชียวนะ

 

รูปนี้ผลไม้นำเข้าของเขาซื้อมาขายไป เราเคยได้ยินไหมครับสิงคโปร์ส่งออกมะม่วงอันดับ 3 โลก  เพราะรับจากไทยและฟิลิปปินส์ไปขายต่อ

 

แตงโม และตระกูลแตงบ้านเขาอร่อยสุดยอดครับ ลูกใหญ่มาก

 

 

 

 

มะม่วงพันธุ์เออร์วินครับสีแดงลุกใหญ่ส่งออกดีต่างประเทศชอบทาน และก็อีกพันธุ์นวลคำ บ้านเราไม่ค่อยนิยมรสชาติไม่ดีกลิ่นแรง อกร่องอร่อยกว่าเยอะๆ^^

 

 

 

ทุเรียน บ้านเราส่งไปขายที่ไต้หวัน ถามเด็กไต้หวันว่าชอบกินป่าวเขาบอกเหม็นกลิ่นแรง ผมว่าคนแกะเขาแกะไม่เป็นมีรอยช้ำ หรืออาจไว้นาน สุกบ้างดิบบางปนๆกันไปราคาก็แพง 

 

 

เป็น แปลงหน่อไม้น้ำ ซึ่งรสมันๆกรอบๆคล้ายๆเมล็ดบ้านเรา หมู่บ้านนี้มีกลุ่มสหกรณ์21 คนมีหน่วยงานสนับสนุน ขายได้เงินมูลค่า15000ล้านบาท ในพื้นที่1500 เฮกตาร์ปลุกคล้ายข้าวมีการเปิดไฟให้น้ำอุ่นเต็มน้ำอุ่นเวลาน้ำเย็น  หน่อไม้น้ำที่ดีต้องมีน้ำที่สะอาด  ซึ่งมีถึ่นกำเนิดมาจากประเทศเราและแถวอินโดเราน่าจะปลูกเป็นการค้า ได้         5หน่อ100บาท

 

 

 

 

 

(ยายคนนี้ปลูกผักทานเองถึงได้อายุยืน อยู่อย่างพอเพียง) ที่ไต้หวันก็มีปัญหาเหหมือนบ้านเราคือเด็กวัยรุ่นไม่ค่อยสนใจทำการเกษตร

 

 

หม่อนครับหรือมัลเบอร์รี่เป้นยาระบายอย่างดี ที่นี้มีการรวบรวมพันธุ์และส่งเสริมเกษตร ที่โครงการหลวงบ้านเราก็มีหลายพันธุ์

บ้านเรามีพันธุ์เชียงใหม่ บุรีรัม (แบล็ค หวานไม่มีขน)

ต้นนี้องุ่นต้น รสชาติเหมือนน้อยหน่าลักษณะคล้ายองุ่น

 

 

หมู่ บ้านนี้ปลูกเสาวรสเป็นสหกรณ์ปลูกได้ดีเพราะบริเวณเป็นแอ่งกะทะของภูเขาทำให้ เชื้อโรคต่างๆเขามาได้น้อย บ้านเขาปลูก1ปีเก็บผลแล้วตัดทิ้งเลย เกษตรกรเขามีการวางแผนกันดีทำอย่างไรไม่ให้ล้นตลาด แต่ละจังหวัดก็มีแต่ละอย่างที่ขึ้นชื่อ  เสาวรสบ้านเรามีน้ำขายแล้วครับกล่องละ10บาท ของดอยคำโครงการหลวง วิตามินซีสูงดี

  

 

กล้วยไข่เขาเอาพันธุ์บ้านเราไปผสม  ยังไม่หวานเท่าบ้านเรา บ้านเรากินไปถึงขั้นร้อนใน

 

 

กล้วยหอมส่งออกญี่ปุ่นบ้านเขาต้องเอาเสามาปักกันพายุ  (สหกรณ์บ้านลาดเราลูกใหญ่กว่า)

 

ชมพู่เขา ซึ่งเขาได้นำพันธุ์ทับทิมจันทร์เราไปปลูกซึ่งเป้นที่นิยมอย่างมาก

มาต่อไม้ดอกกันบ้างนะครับ ได้มีโอกาศไปงาน ฟลอล่าเอ็กโปร 2010 อินไต้หวัน ก่อนงานหมดสิบวัน เขาทุ่มทุนสร้างร่วม4พันล้าน

 

ถ่ายไม่ค่อยเก่ง อยากให้ชมกันครับ เพื่อเอามาประดับบ้านเราได้บ้าง

 

ฟา แลนนอฟซีป เป็นกล้วยไม้อันดับ1ของประเทศเขาครับส่งออกเป็นอันดับต้นๆของโลก  บ้านเราก็พวกหวายครับที่ส่งไปไต้หวันและต่างประเทศ หวายที่ไต้หวันราคาแพงมากครับ

 

 

คนเยอะมาก

 

 

ถนน สวยกว่าสุพรรณบ้านผมนิดหน่อย ผังเมืองเขาเป็นระเบียบมากเนื่องจากเคยโดนปกครองโดยสหรัฐและญี่ปุ่นและมาจีน บ้านเขารถน้อยครับส่วนใหญ่ขับมอไซด์กะจักรยาน เพราะค่าที่จอดรถมันแพง กฎหมายบ้านเขาทำผิดปรับตังอย่างเดียวและปรับแพงมากคนไทยเคยไม่ใส่หมวกกัน น็อคโดนไป2หมื่น เงินเดือนแทบหมด

 

อนุสาวรีย์เจียงไทเช็ค สวยมากๆ

 

 

 

คนจริงครับยืนเฝ้าท่านเจียง ห้ามกระพิบตา

 

 

 

แมลง ในนาข้าวครับว่างๆลองจับมาดูตัวไหนอารักข้าวอันไหนควรกำจัด ถ้าเราฉีดยาฆ่าแมลงหมด ตัวห้ำตัวเบียนก็จะตายหมด ระบบทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปหมดสารพิษตกค้าง10ปีครับ

 

ชบา เป็นที่ฮิตอยู่ตอนนี้ในไต้หวัน เขาพัฒนาพันธุ์อย่างไม่หยุด ส่งขายญี่ปุ่นและจีน บ้านเราก็ไม่คึกครื้นเท่าไหร่แล้วอาจเพราะบ้านเรามีพันธุ์ไม้เขตร้อยที่น่า สนใจเยอะกว่า

 

โป้ ยเซียนไล้หนามเขาบอกว่าแพงพันธุ์ใหม่  คนจีนชอบมากๆเป็นพืชมงคลของเขา ประเทศเขาเลี้ยงนักวิจัยไว้เยอะมากครับ โดยส่งเด็กเขาไปเรียนต่างประเทศ พอจบแล้วดึงกลับมาพัฒนาประเทศเขาโดยเปิดโอกาสให้อยู่ไต้หวัน8เดือน อีก4เดือนกลับต่างประเทศ(ฟังพี่คนไทยที่ไต้หวันมา) ส่วนนักวิจัยในไทยเก่งๆเยอะครับตามหลักศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์ ได้การสนับlสนุนหรือปล่าวก็ไม่แน่ใจ

 

 

 

 

โรงเรือนปลูกฟาแลนด์ ปลูกแล้วก็มีร้านจำหน่าย ครบวงจร

 

 

อากาศดีขึ้นได้กับต้นมะม่วง

 

 

ร้านขายดอกไม้ทั้งขายภายในประเทศและส่งออกนอก ราคาไม่แพงประมาณ300-1500บาท

 

 

แป ลงลิลลี่ครับ ไปตอนช่วงไม่ติดดอก ไม้ผลก็ไม่ติดผลเลยไม่มีกรรมวิธีการเก็บเกี่ยวมาฝากเลยครับ  ลิลี่แปลงนี้ขายกันแบบประมูลครับ ราคาขั้นต่ำเป็นแสนขึ้นไม่งั้นไม่ขาย

 

 

ต้นนี้ลืม

 

ยูสโตม่าครับ ปลูกในโรงเรือน ญี่ปุนชอบดอกซ้อนส่วนไต้หวันชอบดอกเดียว  พันธุ์ไทนาน 1

 

 

สีนี้สวยมากครับเขาปรับปรุงพันธุ์ได้ดอกสีสวยๆ

 

 

อันนี้ สแตติสครับ ดอกคล้ายกระดาษชอบอากาศหนาว

 

 

 

 

 

 ขึ้น มาที่สูงกันบ้างครับ สูงกว่าระดับน้ำทะเล3600 กมทะเล อุณหภูมิที่ไปตอนเที่ยงหน้าร้อน 11 องศา  อันนี้เป็นสวนแอปเปิ้ลครับ  ดูการแทรนเกิ่งครับ โน้มลงมา

เห็นเป็นเสาคือที่พ่นยากันโรค  ไปช่วงไม่มีผลผลิตแต่ได้กินแอปเปิ้ลกับสาลี่ อบกรอบ และจิบกาแฟร้อน อร่อยมากๆครับ ประมาณทุเรียนอบกรอบบ้านเรา

 

ที่ นี่ศูนย์วิจัยทางตอนใต้(เขตร้อน)ของบ้านเขาผมเดินนับโรงเรือนอีเแวบ บ้านเขาได้ 20 กว่าเรือนส่วนใหญ่ปลูกกล้วยไม้ซึ่งถือว่าเยอะมากครับ  ราคาที่บ้านเราประมาณเรือนละ1.6 ล้านที่ปางดะปลูกดอกกุหลาบถามพี่ที่โครงการหลวงพี่เขาบอกว่า4ปีคุ้มทุนครับ  (ก่อนไปผมได้ไปฝึกงานโครงการหลวงปางดะ)

อันนี้ลิ้นจี่ครับเขาได้รวบรวมพันธุ์ พันธุ์จักรพรรดิ์ และก็มีพันธุ์ค่อมบ้านเราด้วย ต้นเตี้ยดีเก็บง่าย  

 

 

 

สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์หยาง ซึ่งเป็นอาจารย์ที่จงชิง ท่านมีคุณกับคนไทยมากท่านเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการหลวงไม้ผลเขตหนาว และให้การต้อนรับการไปดูงานในครั้งนี้อย่างดีมากๆๆๆๆครับท่านสุดยอดจริงๆ และขอบคุณพี่ๆที่ศึกษาอยู่จงชิงทุกๆคนที่ค่อยช่วยเหลือดูแลเป็นอย่างดี เป็นคนแปรภาษาให้และพาไปดุงานขอให้พี่ๆจบดร.กันเร็วๆนะครับ

 

 

 

 

สุดท้ายนี้ก็ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านหวังว่าได้ความรู้ไม่มากก็น้อย

ความ รู้ที่พิมได้จาก การฝึกงานโครงการหลวงที่ปางดะ ดูงานที่ไต้หวัน และการประชุมวิชาการพืชสวนครั้งที่10 และความรู้งูๆปลาๆของผม   ประเทศต้องพัฒนาครับความจริงเกษตรกรบ้านเราโครตเก่งทั้งปราศและภูมิปัญญา และพันธุ์พืชที่เรามีอยู่หลากหลายมากๆ ทั้งดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ปลูกอะไรก็ขึ้น ถ้าประยุกต์กับเทคโนโลยี และศาสตร์ต่างๆ จะสุดยอดมากๆครับ

 

Panya  (Boom) KU68  ag-sci7

ความเห็น

ดีจัง  :admire2::cheer3:

.................

เห็นรูปภาพป่าวครับ

เห็นรูปสุดท้ายก็ห้องวินิจฉัย ที่เหลือไม่เ็ห็นครับ  :confused:

น่าสนใจมาเลยค่ะ :cute:

 

 

ขอบคุณครับ น่าจะเห็นหมดแล้ว เน็ทช้าเหอะๆ

ทั้งภาพ และคำอธิบาย สะใจจริงๆค่ะ เดี่ยวนี้ใต้หวันเอาผลไม้ของบ้านเราไปปลูกหมดเลยหรอเนี่ย...แถมป้องกันแมลงได้ดีกว่าบ้านเราอีก มิน่าล่ะ ที่นำเข้าผลไม้ลิ้นจี่มาอเมกานี่สงสัยอยู่แล้วเชียวว่ามันมาไง ที่กล่องมันบอก มาจากใต้หวัน สงสัยมาจากแปลงนี่แน่ๆเลย อั๋ยย๋า แถมมีน้อยหน่าอีก แล้วได้ชิมอะไรมั่งค่ะ รสชาติหวานสู้บ้านเราได้ใหม


อยากชิมองุ่นต้น จังค่ะ รสชาติเมหือนน้อยหน้า แต่ลูกเหมือนองุ่น แปลกดีจัง เขาเอาอะไรมาผสมกับอะไรหนอ ทำไมได้ลูกออกมาเป็นลูกครึ่งดีแท้ ต่อไปก็คงมีทุเรียนรสน้อยหน่า หรือไม่ก็น้อยหน่ารสทุเรียน ฮ่าๆๆๆ

พี่หยอยยังตั้งสติพิจารณาอยู่ แต่รู้สึกคุ้นๆพี่น้องในภาพสุดท้าย ต้องเคยเจอในงานประชุมอะไรสักอย่าง


พี่ว่าเกษตรของอ๊อดที่บันทึกไว้และแบ่งปันพี่น้อง น่าประทับใจกว่านะ

เห็นภาพแล้ว อั๋ยย๋า  ผลไม้บ้านเรา เขาเอาไปวิจัยที่โน้นหมดเลยรึ แล้วก็ส่งออกไปขายทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน ผลไม้บ้านเรากลับส่งออกไม่ได้เลย สงสารชาวสวนน่ะพี่หยอย

แล้วจะพบว่า"การเกษตรแผนใหม่"บ้านเราทำไมถึงอับจนนัก


แต่เกษตรดั้งเดิมยังพึ่งได้ ช่วยให้หลายๆหมู่บ้านรอดได้ โชคดีที่กรมวิชาการเกษตรเข้าไปไม่ถึง ฮาๆๆๆๆๆ

ที่นำเสนอข้อมูลประกอบภาพดีๆมาให้ชมเองครับ


หน้า