ตัวดูดน้ำ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

          เคยเขียนเกี่ยวกับ สารดูดน้ำ เก็บความชื้นให้กับต้นไม้มาหลายครั้งหลายหน แต่ไม่ได้พูดกันให้เป็นเรื่องเป็นราว ช่วงนี้ ผมกำลัง สร้างสวนป่า ถึงแม้ว่าปีนี้ฝนจะตกชุก แต่บางครั้งจะทิ้งช่วงไปนาน ผมก็กลัวว่าต้นไม้ที่ผมปลูกยอดจะเหี่ยว หรือตาย เลยต้องหาตัวช่วย (ทางภาคใต้ปลูกยางพารา แม้ฝนทิ้งช่วง ต้นตอตายางที่เอามาปลูกก็จะแตกกิ่งออกได้ตามปกติ

นอกจากว่าจะแล้งนานเป็นเดือน จึงจะมีปัญหา แต่ต้นกล้าไม้ที่ผมเอามาปลูกนั้น เป็นกล้าปีนี้ เพาะจากเมล็ด อายุไม่กี่เดือน ถ้าปล่อยไว้ตามธรรมชาติ ก็คงกลับไปหาธรรมชาติอีก)

          ตัวช่วยที่จะเอามาใช้นี้ เป็นสารดูดน้ำ ที่มีความสามารถดูดน้ำเข้าไว้ในตัวเขาได้ หลายเท่า ว่ากันตามที่เขาโฆษณา ก็ราว 100 กว่าเท่า การปลูกสร้างสวนป่าในภาคอีสาน จะใช้สารนี้กันมาก สองปีก่อน ผมเคยเอาไปใช้กับการปลูกป่าอีกแปลงหนึ่ง ซึ่งเป็นดินทรายจัด ทรายลึกลงไปเป็นเมตร หากไม่ม่ตัวดูดน้ำนี้ช่วยไว้ ต้นไม้ที่ผมปลูกก็คงไม่รอด

          ตัวดูดน้ำนี้ เขาทำมาขายนานแล้ว เข้ามาเมืองไทยแรกๆก็ใช้ปลูกต้นไม้ ปลูกป่า แต่ก็มีคนหัวใส(กว่าผม) แทนที่จะแช่ในน้ำใส ก็กลับไปแช่ในน้ำสี ผลที่ได้ก็จะมีสีในสารนั้น คงจะรู้จักกันดีในชื่อ ดินวิทยาศาสตร์ ใส่ถุงขายถุงละ 5 บาท  10 บาท ซื้อมา 1 กก. ทำขายได้หลายพันบาท

          ต่อมา เขาก็เอาไปใช้ในการทำผ้าอนามัย และต่อมาอีกก็เอาไปใช้ในการทำผ้าอ้อมเด็ก ทำให้ดูดซับน้ำและสิ่งต่างๆได้ดี

แช่ในน้ำสีแดง

ตักใส่ถุงพลาสติก

ดูขนาดของจริง

ถังนี้แช่ในน้ำสีเขียว ใช้ถุงกระเทียม เป็นตัวแยกน้ำส่วนเกิน

ตักออกมาจากถัง เตรียมใส่หลุม หลุมละ 1 กระบวย

หลุมไม่ใหญ่ เพราะขุดเอง (ตอนปลูกจริงใช้สว่านเจาะหลุม)

ปริมาณ 1 กระบวยต่อหลุม เทลงไปก้นหลุม

เอาต้นไม้ที่จะปลูกวางลงไป แล้วเอาดินกลบ หลุมนี้จะปลูกแบบกะลา หงาย

 

โตโต้ หลานชายคนกรีดยาง กำลังออกลีลา ไมเคิล แจกสั้น

 

ต่อไปเป็นหมายเหตุ

ที่ต้องมีหมาย เพราะมีเหตุ ก็คือว่า เดี๋ยวจะสงสัยกันว่า ทำไมผมไปเขียนเรื่องที่ใช้สารเคมี (ตัวโพลีเมอร์นี้เป็นสารเคมีแน่นอน) จะผิดวัตถุประสงค์ของเวปหรือเปล่า ผมก็ขอชี้แจงออกตัวไว้ก่อนว่า สารตัวนี้สลายตัวได้ตามธรรมชาติ (เพราะในแปลงที่ผมปลูกเมื่อสองปีก่อน โพลีเม่อร์ หาไม่เจอแล้ว) ต้นไม้ที่ผมปลูกเป็นไม้ยืนต้นไม่ได้นำมารับประทาน กว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็อีก 20 - 30 ปี (คือคนปลูกคงไม่ได้ใช้แน่นอน แม้ว่าจะขอสัก 6 แผ่นก็คงไม่ทัน)

เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราเอามาแนะนำให้ทำใช้กันในเวปนี้ ก็ยังมีพวกสารเคมีอีกหลายชนิด เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว (ตอนนี้ผมเลิกใช้สบู่เหลว มาใช้สบู่ก้อน ที่ทำจากน้ำมันและโซดาไฟ(ก็สารเคมีอีกนั่นแหละ)

ความเห็น

ลุงพูนครับ ที่บ้านผมใช้ตัวอุ้มน้ำ แบบเป็นสารอินทรีย์แต่ไม่ร้อยเปอร์เซนท์นะครับ เป็นสารตามธรรมชาติที่ช่วยรากพืชดูดน้ำ ที่ผมใช้อยู่เป็น ผงๆเอาโรย ก้นหลุมและ โคนต้น มีแร่ธาตุต่างๆ และ สารเคมีบ้างส่วน เมื่อลงไปในดิน จะเกาะราก ช่วยพืชดึงน้ำ ไม่ได้ อุ้มน้ำในดิน โดย ตรง จนมีอีกท่าน คิดสร้าง สารอินทรีย์ร้อยเปอร์เซนท์ อุ้มน้ำ ออกมาใหม่ โดยการเอาดินเหนียวที่มีลักษฯะไม่อุ้มน้ำมาพัตนา ให้เป็นดินเหนียวผงที่สามารถอุ้มน้ำได้ และที่สำคัญ มวลของดินเหนียวที่เปลี่ยนขั่วประจุไฟฟ้านี้ ยังไปหุ้มเม็ดทราย ให้กลายเป็นเม็ดดิน ด้วย ใช้ครั้งเดียว อยู่ได้ ยี่สิบปี อัตตราส่วน ยี่สิบห้ากิโล ต่อกี่ตางรางเมตรไม่แน่ใจต้องไป อ่านข้างถุงอีกครับ ผมซื้อมา ลองดูก่อน เพราะราคาแพง
ของแบบนี้ที่นี่ยอมรับครับ มี นวัตกรรมใหม่ๆ ทางเกษตรอินทรียออกมามากด้วย โดยเฉพาะ เรื่องบำรุงดินทราย
เห็นด้วยกับลุงพูนครับ สารเคมีก็มี ทั้งจากธรรมชาติ และจาก สารสังเคารห์ เราห่างสารเคมีสังเคราะห์ได้มาก หน่อยก็ ยังดี เท่านั้นเอง ที่บ้านก็ ไม่ปรอดสารสังเคราะร้อยเปอร์เซนท์ครับ เพราะใช้ตัว ช่วยพืชดึงน้ำเข้ารากแบบเก่านี่มี สารสังเคราห์ ผสมสารอินทรีย์ แต่ปีนี้ เต็มร้อยเลยครับ เพราะเปลียนตัวอุ้มน้ำใหม่เป็น สารอินทรีย์ล้วนๆ
สารอุ้มน้ำ ผมใส่หน้าบ้านเพราะลอก หน้าดินออกไม่มาก หลังบ้านไม่ได้ใส่ อะไร คงประหยัดได้เยอะอยู่ ใส่สารอุ้มน้ำ เห็นได้ชัดครับ ว่าต้นไม้แข็งแรงจริงๆ
ขอบคุณลุงพูนที่เปิดบล็อกให้ได้แรกเปลี่ยน ความรู้กันครับ

          ต้องขอขอบคุณคุณตุ้ย ที่เปิดหูเปิดตาผมครับ

          สมัยที่ การใช้สารพัดสารเคมีเพื่อการเกษตร ยังรุ่งเรือง การคิดค้นก็จะเน้นไปทางนั้น แต่พอกระแสปลอดสารพิษเข้ามา การคิดค้นก็จะเปลี่ยนแนวทางไปเหมือนกัน เสียดายที่ผมเรียนวิชาปฐพีวิทยามาเพียงนิดเดียว แต่ก็ยังพอรำลึกถึงเนื้อหาบทเรียน การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าบนอนุภาคของดิน ได้บ้าง

          ตัวอุ้มน้ำ ที่ผมนำมาใช้ เวลาผมเอาไปแช่น้ำให้เขาดูดน้ำ ผมจะไม่แช่ในน้ำเปล่า น้ำธรรมดา แต่ผมจะผสมน้ำหมักลงไปด้วย เพราะฉนั้น ในสารอุ้มน้ำที่ผมใช้ นอกจากจะอุ้มน้ำแล้วยังช่วยอุ้มอาหารไว้ให้พืชด้วยครับ

ข้อมูลดีมาก ๆ เลยครับ...อธิบายเห็นภาพชัดเจนดีครับ..

 

ขอบคุณครับ

ปกติ รายละเอียดจะมีเพิ่มขึ้นตามที่มีคนเข้ามาถาม มาแสดงความคิดเห็น หากไม่มีใครเข้ามาคุยด้วย ข้อมูลมันก็จะด้วนๆ ครับ

ใช่โพลิเมอร์หรือเปล่าครับ แต่ผมเห็นในทีวีเขาใช้ต้นกล้วยแทนครับแต่เห็นในทีวีนานแล้ว

อ่าน

          เป็นโพลีเมอร์ ครับ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ไทยเก่งในเรื่อง โพลีเมอร์ แต่ยังไม่เห็นเอามาทำตัวดูดน้ำครับ

          ปกติอินทรีย์สาร ฮิวมัส มีความสามารถในการดูดน้ำมากกว่าน้ำหนักตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องปลูกเป็นสวนป่า คงต้องอาศัยตัวช่วย อย่างไรก็ตาม ในสวนป่าของผม ก็จะมีสวนกล้วย ประคองต้นไม้ที่ผมปลูกด้วยครับ คือปลูกคนละแถว ปีต่อๆไป ต้นกล้วยก็จะมาแทน โพลิเมอร์ แต่ตอนเริ่มต้น ก็ต้องอาศัยโพลิเมอร์ก่อนครับ

ถ้าธรรชาติไม่ช่วยเรา เราก็พึ่งพาสารเคมี

ที่จริงไม่ได้คิดพึ่งสารเคมีครับ แต่ว่าคราวนี้จำเป็น ก็ใช้ตามความจำเป็นครับ

สวนยางผม ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีมากว่า 7 ปี ใช้แต่ปุ๋ยชึวภาพ และน้ำหมักชีวภาพ ผลผลิตก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม โรคก็เป็นน้อยลง

ถ้าผมปลูกยางเหมือนเดิมก็คงไม่ต้องอาศัยโพลีเมอร์ เพราะต้นยางยังไงๆ ก็ทนแล้งได้ดี แต่ต้นกล้าไม้ป่า ไม้ยืนต้นนี่ซิครับ ถ้าฝนทิ้งช่วง ผมต้องหามาปลูกใหม่

เรียนลุงพูนครับ  ผมอ่านแล้วมีประโยชน์เพราะไม่ว่าที่ไหน ๆ ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงหมดแล้ว ต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ช่วยครับ อยากทราบรายละเอียดทั้งหมดของสารตัวนี้ครับ  สั่งซื้อได้ที่ไหน วิธีใช้ตามขั้นตอน ปริมาณการใช้ การเรียนรู้จากผู้รู้แล้วเป็นการเรียนลัดครับ ขอบพระคุณลุงพูนครับ 

ลุงพูนคะ ที่นิวซีแลนด์ก็ใช้กันอย่างแพร่หลายค่ะตอนนี้ ส่วนมากจะใช้ในหน้าร้อน เพราะร้อนมากแดดแรง แบบเผาได้ทุกอย่าง แล้วเวลาแดดออกน้ำจะระเหยออกไปเร็วเวลารดน้ำ ก็เลยมีตัวนี้เป็นตัวช่วยสำหรับปลูกต้นไม้ หรือผลไม้ค่ะ ส่วนดินผสมสำเร็จรูปก็มีผสมมาเป็นบางยี่ห้อค่ะ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอินทรีย์หรือเปล่า

หน้า