เพอร์มาคัลเจอร์ #3 : การวิเคราะห์โซนในการออกแบบภูมิทัศน์

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ได้รับแรงบันดาลจากบล็อกของป้าโน จนทำให้อดรนทนไม่ได้ต้องลุกขึ้นมาเขียนบล็อกเรื่องการวิเคราะห์โซน  การออกแบบโซนในเพอร์มาคัลเจอร์จะคำนึงถึงการใช้อนุรกษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของทั้งคน เครื่องจักร และเชื้อเพลิง  ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรวิเคราะห์พฤติกรรมและเลือกใช้พื้นที่แต่ละโซนตามความถี่ในการใช้งานพื้นที่ และระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปยังพื้นที่ในโซนนั้นๆ

เราควรจะเลือกองค์ประกอบที่ต้องทำกิจกรรมบ่อยไว้ใกล้ๆ ใจกลาง  โดยความถี่ของกิจกรรมอาจจะเกิดจากองค์ประกอบนั้นต้องการการดูแลจากเรา (เช่น ต้องไปให้อาหารไก่) หรือความต้องการของเราในการไปเก็บเกี่ยว/ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบนั้นๆ (เช่น ต้องไปเก็บไข่) ตัวอย่างเช่น เล้าไก่ อาจจะต้องการให้เราไปให้อาหารและเก็บไข่ทุกวัน  ต้องไปให้น้ำทุกสัปดาห์ ต้องไปเก็บมูลไก่ทุกเดือน รวมๆ กันแล้วเราอาจจะต้องเดินทางไปเล้าไก่มากถึง 450 ครั้งใน 1 ปี ดังนั้นถ้าอยู่ไกลก็จะเสียเวลาในการเดินไปกลับนาน สูญเสียทั้งเวลา และกำลังกาย

เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบภูมิทัศน์ เราอาจจะแบ่งการใช้พื้นที่ของเราออกเป็นโซนต่างๆ ดังนี้ (หมายเหตุ เพื่อนสมาชิกอาจจะไม่มีทุกองค์ประกอบตามนี้ เพราะอาจจะไม่มีพื้นที่ใหญ่พอจะแบ่งเป็นทั้ง 6 โซน  แต่ขอให้ศึกษาเอาหลักการ และนำไปประยุกต์ใช้)

โซน 0 : บ้าน

เราต้องอยู่บ้านบ่อยที่สุด  จึงเป็นแกนกลางของระบบ  ซึ่งอาจจะมีองค์ประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวบ้านที่เรามักจะไปทำกิจกรรมบ่อยๆ เช่น ที่เพาะพันธุ์ / อนุบาลพืช, ที่เลี้ยงสุนัข/แมว, ไม้กระถาง หรือไม้ประดับเพื่อความสวยงามอื่นๆ

โซน 1 : สวนหย่อม

เรามักจะต้องไปกิจกรรมทุกวัน และอยู่ในระยะห่างไม่เกิน 6 เมตรจากตัวบ้าน  ตัวอย่างองค์ประกอบที่อยู่ในโซนนี้ได้แก่ ถังน้ำฝน, พืชสวนครัวที่ใช้บ่อยๆ (เช่น พริก มะนาว), สระน้ำขนาดเล็กสำหรับเลี้ยงปลาสวยงาม, ที่เลี้ยงไส้เดือน, ที่วางไข่ของไก่ที่เลี้ยงไว้, ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงสวยงามที่ต้องดูแลบ่อย (เช่น กระต่าย, นก)  ที่นั่งเล่น

โซน 2 : แปลงผัก

เรามักจะต้องไปทำกิจกรรมทุก 2-3 วัน  โซนนี้ต้องการการจัดการน้อยลงมาหน่อย ได้แก่ แปลงปลูกผักที่ใช้เวลาในการปลูกนานขึ้นแต่เป็นที่ปลูกไว้เพื่อรับประทานเองหรือขายเล็กๆ น้อยๆ, ที่เลี้ยงสัตว์ที่ต้องดูแลบ่อย(เช่น เป็ด ไก่ แพะนม วัวนม) หรือแม้นแต่โรงเวิร์คชอพสำหรับงานไม้ หรืองานประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ

โซน 3 : ฟาร์ม

เรามักจะต้องไปทำกิจกรรมทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ได้แก่ แปลงผักปลูกเพื่อขายขนาดใหญ่, นา, แนวต้นไม้กันลม,ไม้ผล  โซนนี้เราดูแลด้วยการคลุมดิน และการจัดการน้ำที่ดีทำให้ไม่ต้องไปดูแลบ่อย หรือเป็นที่หมักปุ๋ย ยุ้งข้าว ที่เก็บฟืน/ถ่าน อาจจะเลี้ยงสัตว์พวกแพะ แกะ ห่าน ผึ้ง หรือวัว

โซน 4 : ป่าปลูก

เราไปทำกิจกรรมเป็นครั้งคราว ควรจะปลูกไม้ยืนต้นที่โตได้เร็ว  เพื่อใช้เป็นฟืน/ถ่าน สำหรับใช้ในบ้าน อาจจะเลี้ยงสัตว์พวกวัว กวาง หรือหมู

โซน 5 : ป่า

เราแทบจะไม่ต้องไปทำกิจกรรมในบริเวณนี้เลย หรือไปเพียงเพื่อท่องเที่ยว หรือพักผ่อน  ถ้าที่ดินของเราติดแนวป่า  โซนนี้จะเหมือนกับการขยายขอบเขตของแนวป่าเข้ามาในพื้นที่ของเรา  เพื่อจะได้สามารถปลูกไม้ยืนต้นที่มีอายุ 20ปีขึ้นไป และสามารถตัดไม้ได้อย่างถูกกฎหมาย

ตัวอย่างของการออกแบบโซนสำหรับบ้านในเมือง เราอาจจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นเพียงโซน 0 - 3 เท่านั้น

หวังว่าเพื่อนสมาชิกคงจะได้แนวคิดไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบภูมิทัศน์และการใช้งานของที่ดินตัวเองบ้างไม่มากก็น้อยครับ  อย่าลืมนะว่าหลักของเพอร์มาคัลเจอร์คือการปรับการใช้พื้นที่ และการดำรงชีวิตให้้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการเบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ และลดของเสียที่เราจะปล่อยกลับไปในธรรมชาติ  เพื่อที่เราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
เพอร์มาคัลเจอร์ #1 : แนะนำแนวคิดเบื้องต้น

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com

ความเห็น

เยี่ยมเลยพี่นึก...เก็บไว้เริ่มปีหน้า...ขอสร้างบ้านก่อน

ชีวืตที่เพียงพอ..

มีเวลาอีกตั้งปีอย่าลืมหาแรงงานถาวร (และฟรี) มาช่วยทำล่ะ :uhuhuh:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:admire: แปลนบ้านกลางน้ำของรุจน์ก็สวยครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ว่าแต่ต้องไปขออนุญาติปลูกไม้ป่าหรือปล่าวค่ะพี่นึก   น่าสนใจมากๆ

แรงกาย+แรงใจ ลงมือทำในวันนี้ เพื่อชีวิตที่พอเพียง

ถ้าเป็นไม้บางประเภท เช่น สัก ยางนา  ที่ปลูกในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ (เช่น โฉนด นส3) จะต้องไปขึ้นทะเบียนสวนป่า และขออนุญาตก่อนตัดครับ  (ปลูกก่อนแล้วค่อยไปจดก็ได้)

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

เยี่ยมมากๆ คับ ขอบคุณหลายๆ คับผม

เดินทีละก้าว  กินข้าวทีคำ  ทำทีละอย่า่ง

:bye:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

เห็นสวนคุณสาวภูธรก็สวย  เอาแปลนสวนที่บ้านมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ บ้างสิครับ :bye:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

หน้า