คิดด้วยกัน
ต้นยางที่ตายตัดทิ้งกว่า 300 ต้นเพราะพิษของภัยแล้ง ทั้งที่ยางอายุกว่า 8 ปี
ราคายางขึ้นลงผันผวนกว่าราคาทองคำซะอีก
แถวนี้ปลูกยางเต็มไปหมดเลย และไม่รู้ว่าอนาคตราคายางจะเป็นอย่างไรสำหรับคนที่จะปลูกใหม่คงต้องคิดให้ดีอีก 7 ปี และไม่รู้ว่าราคายางอีก 7 ปีจะถึง 40 บาทไหม เพราะประเทศเพื่อนบ้านของเราเขาก็ปลูก นับว่าเสี่ยงมากสำหรับเรื่องราคา เบี้ยยางพาราก็แพง แต่ก่อน 13 บาท
ตอนนี้ 30 บาท ใครที่จะปลูกควรคิดให้ดีน่ะค้า เพราะต้นทุนสูงมากแต่เสี่ยงเรื่องราคาอยู่มาก
นิกอยู่ที่อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
ก็คงต้องขอข้อมูลพี่น้องที่อุบล ว่าสวนยางเป็นอย่างไรกันบ้าง
มีต้นที่ตายเหมือนกันหรือเปล่าค้า
ต้นยางยืนต้นตาย ต้องตัดออกเพราะเปลือกจะเน่าลงมาเรื่อยๆ
สาเหตุเกิดจาก
-ความแห้งแล้ง
-ปลูกใกล้ลำธาร
-ข้างล่างดินที่ปลูกเป็นหินอยู่ข้างล่างทำให้เกิดความร้อน
- บล็อกของ นิกกี้
- อ่าน 5425 ครั้ง
ความเห็น
rose1000
1 กรกฎาคม, 2010 - 22:15
Permalink
เป็นคำเตือนที่ดี
เป็นคำเตือนที่ดีนะครับ เพราะไม่มีใครล่วงรู้ถึงอนาคตได้ แต่ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและมากพอก็สามารถทำนายอนาคตได้ การศึกษาข้อมูลในสิ่งที่เราจะทำเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความรู้แน่น ข้อมูลแน่น โอกาสพลาดย่อมมีน้อย
นิกกี้
1 กรกฎาคม, 2010 - 22:22
Permalink
ค้า
ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะแล้งได้ขนาดนี้ ที่เขาว่าโลกมันเปลี่ยน มันเป็นจริงแล้วค้า อยากให้พี่น้องที่เวปนี้มองอีกมุม จากคนที่ทำทุกวัน
ไม่ว่าวันนี้มันจะดี....หรือร้าย จงระลึกไว้เสมอว่า "แล้วมันจะผ่านไป"...
นิกกี้
1 กรกฎาคม, 2010 - 22:32
Permalink
เฟสบุ๊ค
ทุกวันจะติดเฟสบุ๊ควันนี้แปลกติดบ้านสวนพอเพียง
ไม่ว่าวันนี้มันจะดี....หรือร้าย จงระลึกไว้เสมอว่า "แล้วมันจะผ่านไป"...
นิกกี้
1 กรกฎาคม, 2010 - 22:30
Permalink
ปลูกมะละกอในสวนยาง
หนูเคยปลูกมะละกอในสวนยางพาราอายุ 3 ปี เนื้อที่ 10 ไร่ ผลที่ได้รับคือยางโตไวมากค่ะ และ ได้ขายมะละกอ ราคา 12000 ต่อตันด้วย
ไม่ว่าวันนี้มันจะดี....หรือร้าย จงระลึกไว้เสมอว่า "แล้วมันจะผ่านไป"...
KASETMCOT
8 กรกฎาคม, 2010 - 00:34
Permalink
นิกกี้
สวัสดีครับคุณนิกกี้เป็นครั้งแรกที่ได้คุยกับคุณนิกกี้ ผมก็เป็นคนหนึ่งเหมือนกันที่คิดจะหาทางซื้อที่ดินแถวนครสวรรค์เพื่อปลูกยาง แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจแล้ว ปลูกพืชสวนผสมดีกว่าได้ผลผลิตทั้งปี แต่ว่าได้แค่วางแผนไว้นะเพราะตอนนี้ยังหาที่ดินไม่ได้เลย แต่สร้างพิมพ์เขียวไว้แล้ว มีที่ดินเป็นของตนเองเมื่อไหร่ลุยทันที ปัจจุบันทดลองปลูกพืชสวนผสม(พืชสามชั้น)ในที่ดินของราชการไปก่อนเพื่อหาประสบการณ์จากการปฎิบัติจริง ยางพาราตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านเราก้าวหน้าไปมากแล้วหากเรามัวแต่ปลูกพืชเชิงเดียวอนาคตมีหวังลำบากแน่นอนเลย
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
1 กรกฎาคม, 2010 - 22:41
Permalink
วางแผยการตลาดด้วย
ในเมื่อเรามีข้อมูลหลายอย่าง ทั้งเรื่องคู่แข่ง เรื่องปัญหา เรื่องราคา
และเราปลูกมาหลายปีแล้ว คงเลิกไม่ได้ ..ก็ต้อง..เตรียมรับมือ ..
ลองวางแผนการขายล่วงหน้าค่ะ
ตั้งเป้าที่เป็นรูปธรรม กำหนดแผนการอย่างชัดเจน สำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และเตรียมการขายที่ดี
น่าจะช่วยป้องกันปัญหา ได้นะคะ
หนูนา
1 กรกฎาคม, 2010 - 23:51
Permalink
ปลูกยาง
แถวบ้านก็ปลูกยางกันแยะ แต่ปลูกแซมสัปปรด กว่ายางจะโตก็ปลูกสัปปรดได้หลายรอบ แต่คนแถวนี้เขาว่าปลูกยางสบาย จ้างคนงานง่ายจ้างเป็นครอบครัว แล้วเขาดูแลทุกอย่าง เพราะแบ่งเงินเป็นเปอร์เซน เจ้าของ หกสิบ คนดูแล สี่สิบ ดูแลตั้งแต่รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า กรีดยาง ทำแผ่น รมควัน แล้วขายทุกสัปดาห์ เจ้าของก็รอรับตังอย่างเดียว คอยเช็กแต่ราคายางว่าวันนี้ได้เท่าไร เขาบอกว่าเขามีรายได้จากยางวันละสามหมื่น เขายังบอกให้หนูนาปลูกบ้างเลย แต่ไม่เอาหรอกไม่ชอบ
นิกกี้
1 กรกฎาคม, 2010 - 23:58
Permalink
to หนูนา
ว้าว ปลูกสัปปะรดน่าสนใจดี คนแถวนี้ส่วนมาเกือบทั้งหมดเขาปลูกมันสำปะหลังกัน
เที่ยงคืนคนอื่นเขานอนหลับสบายแต่เราต้องตื่นมากรีดยาง เรื่องมันเศร้า
อืมแล้วหนูนานี่อยู่จังหวัดไหนเหรอ อยากร้ๆ
ไม่ว่าวันนี้มันจะดี....หรือร้าย จงระลึกไว้เสมอว่า "แล้วมันจะผ่านไป"...
หนูนา
2 กรกฎาคม, 2010 - 00:07
Permalink
ตอบ นิกกี้
หนูนาอยู่หัวหินคะ คุณนิกกี้อยู่ที่ไหนคะ เพราะสัปปรดชอบดินทรายนะ แต่เห็นทางภาคเหนือ กับอีสานก็ปลูกได้แต่ต้องเลือกสายพันธืให้เหมาะ ที่แถวนี้ปลูกสัปปรดมากเพราะมีโรงงานรับซื้อ ขายสดน้อยต้องเป็นที่เหลือจากที่โรงงานไม่รับถึงมาขายสด แต่เดียวนี้มีสัปปรดพันธ์ เพชรบุรี เบอร์ หนึ่ง กินสดรสชาดดีมาก แกะเป็นพูลๆ ได้เลยไม่ต้องใช้มีดปอกก้ได้ แต่ตอนนี้หน่อพันธ์ขาดตลาดอยู่ เคยเห็นเขามาขายที่งาน หนึ่งตำบล
เซพ
2 กรกฎาคม, 2010 - 01:59
Permalink
คิดด้วยกัน
อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ ทำให้เราได้คิดว่าจะทำอะไรก็ต้องรอบคอบ..
แต่ว่าอนาคตอีก7ปีที่ว่ามนุษย์เรายั่งใช่สิ่งของที่ผลิตจากยางอยู่ละครับ เช่นรองเท้าที่เราใช่กันอยู่ทุกวันและอะไรอีกหลายอย่าง"....
แต่อนาคตอีกยาวไกลไม่แน่ ประเทศเพื่อนบ้านก็ปลูกเยอะ...
หน้า