เล่า ... เล่ (จำ)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    หากไม่ฟั่นเฟือ เกินไปนัก ... จำได้ว่า ... กรกฎาคม ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าขึ้นมา “คอนฐม” ... แล้ว Up blog

เล่าเรื่อง “ปลาหุด” ในชื่อ  Blog “ตัวอร่อยดี ... ขี้เลิศกว่า” (คลิก เข้าไปอ่านตรงนี้) 

    มีผู้อ่านบางท่าน Request ให้นำเสนอเครื่องมือ ดัก/จับ “ปลาหุด” ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเล่” ! ...

    ดังนั้น ลงไป สุราษฎร์เที่ยวที่ผ่านมา ... จึงสะพายกล้อง (เรียกซะโก้ เชียว ... จริง ๆ เป็นแค่โทรฯ เลื่อนที่ ... ฮึ ๆ ๆ) ดั้นด้น ขึ้นไปต้นน้ำ ... เจอ “เล่” ... ลั่น Shutter ... เกบบบ ...  เอาภาพมาฝากกก ... ฮืมมมม ...

    ครั้นจะเขียน Blog เข้าจริง ๆ ... เกิดอาการคัดค้านความคิดของตนเองขึ้นมาปุบปับ ...

    ด้วยว่า หากจะเอาภาพที่ได้มา ... Up แล้วเล่า ๆ ๆ ... มันก็จะได้แต่ “เล่ ปัจจุบัน”  ... “รากเหง้า” ของ เล่ ก็ขาดหายไป ... ดู ๆ ไปก็เหมือน โฆษณา ที่ “พูดทั้งหมดเป็นความจริง แต่ พูดความจริงไม่หมด” ...

    จึงตัดสินใจเอาเองว่า จะแบ่งเล่า เป็น “สองตอน”

    ตอนแรก นี้ เป็นการ เล่า “เล่” ... จากที่ “จำ” ได้ แอบแทรก ภาพปัจจุบัน ที่เห็นว่าพอจะเข้ากันได้ ลงไป กลั้วความรู้สึก “แก้ฝืดอารมณ์” ... ก็คงไม่ว่ากัน เพราะ ข้าพเจ้าหาเช่า Time machine นั่งย้อนไปถ่ายไม่ได้ ... ฮึ ๆ ๆ

    ตอนที่สอง เป็นการนำเสนอ “เล่” ... ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน

    เอาเป็นว่า เริ่ม “เล่ แห่งอดีตกาล” ละนะ ...

    กาลครั้นหนึ่ง นาน / ไม่นาน ไม่ทราบ แต่ยังจำได้ว่า สมัยนั้น ในชุมชนบ้านเกิดของข้าพเจ้า เขาจะสร้าง “เล่” 2 แบบ ... แต่สืบทอดมาให้เห็นในปัจจุบันเพียง แบบเดียว ... (จะเล่าในตอนต่อไป) ... ส่วน “เล่” แบบที่หายไป เรียกขานกันว่า “เล่ เปิดท้าย”

    อันว่า      “เล่ เปิดท้าย” ที่ว่านี้ เป็น “เล่” ขนาดใหญ่ กว้าง ประมาณ 8 เมตร – 10 เมตร จะเรียกว่าเป็น “เล่ สาธารณะ” ของชุมชนก็ว่าได้  ... เพราะ สมาชิกในชุมชน ร่วมกันสร้าง ... และใช้ประโยชน์ร่วมกัน

    โอ้ย ...! ... สนุกสนาน กันตั้งแต่เริ่มลงมือสร้าง ... จนแม้ขั้นการใช้ประโยชน์

    เริ่มสร้าง ... กลุ่มผู้ชายของชุมชน ที่มีประสบการณ์ ก็จะไปเลือก “ทำเล ที่ตั้ง” ... คือส่วนที่ลำคลองไหลตรง ไม่น้อยกว่า 100 เมตร เป็นแก่ง น้ำไหลเชี่ยว ... เพราะเมื่อน้ำหลาก ปลาจะพุ่งตัวมาตามน้ำ เรียกว่า “ปลาลงเล่” ง่ายขึ้น ... ซึ่งมักจะเป็นบริเวณที่เคยสร้างมาเมื่อปีก่อน ๆ นั่นแหละ

    

 

 

 

        นี่ ... เป็นภาพ “ทำเล ที่ตั้ง” จะเรียก “ฮวงจุ้ยเล่” ได้รึเปล่าก็ไม่รุ

            แต่ตัว “เล่” ไม่ใช่ “เล่เปิดท้าย” ที่กำลังเล่า นะครับ

 

 

 

 

 

 

    หลังตกลงที่จะสร้างกันได้แล้ว ก็ ร่วมอันออกหาวัสดุในการสร้าง

    สมัยก่อน วัสดุที่ใช้ในการสร้าง หาเอาจากธรรมชาติทั้งสิ้น ตั้งแต่ตัวไม้โครงสร้าง ทำเสา , ตง ฯลฯ ...

    ไม้ไผ่ ทำรั้วเกียด , ฟาก ฯลฯ

    เครื่องยึดโยง ก็ใช้ หวาย และเถาวัลย์ ที่ดารดาษ ในดง

    ได้อุปกรณ์ครบ ... ภาพการร่วมแรง .. ร่วมใจ ของสมาชิกชุมชน ในการสร้าง “เล่” ก็เริ่มขึ้น ... คนใดใครว่าง เมื่อไร ก็มาช่วย โดยไม่ต้องออกปากบอกขาน  ... ไม่มีการแบ่งงาน ... ช่วยตรงไหนได้ ทำตรงนั้น ... ไม่จับผิด เกี่ยงงอน ว่าใครทำ มาก/น้อย ... ยังไม่เป็น ก็ได้รับการชี้แนะ ... เสียงหยอกเย้า ฮา หัว ดังเป็นระยะ ๆ ... ประหนึ่งออกมาเพื่อชำระความเหนื่อยล้า จากการออกแรง

    เริ่มจากตัว “เล่”  ปักเสา ... ซึ่งตอนเด็ก ๆ ข้าพเจ้าชอบงานนี้นัก ...  เพราะเราจะอาสาผู้ใหญ่ ...  ปีนขึ้นไปเกาะปลายเสา เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้การโยกปักเสา ลงง่ายขึ้น ... เสาต้นหนึ่ง ๆ จะมีเหล่า “ทโมน อาสา” ขึ้นไปเกาะอยู่ 4 – 5 คน

    กอดต้นเสา นาน ๆ กอปร ด้วยแรงเหวี่ยงโยก ความล้าของแขนทวีขึ้น ก็ปล่อยตัวหล่นลงน้ำ สนุกดีครับ เป็นเกม ที่เด็ก ๆ ชื่นชอบเกมหนึ่ง ... ก็สมัยนั้น ไม่มีเครื่องโทรฯ ให้เล่น นี่ขอรับ ... ฮึ ๆ ๆ ...

    ปักเสา – กอปร โครงสร้างเสร็จ ก็เริ่มงาน ผูกกรอง ปูฟาก สมัยนั้น ใช้หวายผูก นะขอรับ “เล่” ทั้งลูก (ชาวบ้านเรียกลักษณะนามของ เล่ ว่า ลูก ) ไม่มีการใช้ตะปู แม้แต่ตัวเดียว

 

 

 

   เริ่มจาก ฟาก ที่เรียกว่า “ฟากหน้าน้ำ” ที่เห็นนี่แหละครับ

   จะผูกให้เป็นช่องห่าง นัยว่าให้ขยะ บางส่วน ลอดตามน้ำออกไป ...

   จะมีปลาลอด รอดไปบ้างก็ช่างปะไร ... แค่นี้ก็เอาเปรียบไม่น้อยอยู่แล้ว

 


 

 

 

 

 

     ฟากหน้าน้ำ ที่นำมาให้ดู ยามระดับน้ำปกติ  น้ำก็จะไหลลอดไป

     ยาม “น้ำหลากนอง” ส่วนนี้จะถูกทับท่วมอยู่ใต้น้ำ ... ปลาที่ระเริง สนุกล่องมากะน้ำที่หลาก ส่วนหนึ่ง จะวิ่งขึ้นไปสู่ฟากที่ผูกกรองไว้ อย่างถี่

 

 

 

 

                         นี่ไงครับ ... ฟากกรองถี่ สำหรับดักปลา

      นี่เป็นภาพแทน “เล่” ที่เล่าอยู่ จึงออกจะดูแคบ หากเป็น “เล่” เปิดท้ายที่เล่า จะจุคนที่นั่งยอง ๆ เป็นแถวหน้ากระดาน คอยจ้องเอาสวิงตะครุบปลา ไม่น้อยกว่า 15 คน

 

 

 

 

 

 

    วิธีการจับปลา : ผู้จับ จะนั่งยอง ๆ เป็นแถวหน้ากระดาน ถือสวิงไว้ในมือที่ถนัด  พอปลาพุ่งตัวขึ้นมาตามน้ำ ก็ใช้สวิงครอบลงไป ... แล้วจับเอาตัวปลา

    ท่านอาจสงสัยว่า  “ปลาที่ไหนจะโง่ พุ่งตัวขึ้นมาให้จับนักหนา”

    ก็จะวิสัชนา ให้กระจ่างว่า อันโครงสร้างของ “เล่” ยังมีส่วนที่กัน ควบคุมทิศทางให้ปลา ขึ้น “เล่” อีกอย่าง ... โครงสร้างส่วนนี้ เขาปักเสา เกือบติดริมฝั่ง เหนือตัว “เล่” ทั้งสองด้าน ขึ้นไป โดยปักรวบสอบเข้าหาตัว “เล่” จากนั้น ผ่าไม้ไผ่ ผูกติดไว้ห่าง ... ชาวบ้านเรียกส่วนนี้ว่า เกียด

 

 

 

 

 

    นี่ครับ ... ส่วนที่เรียกว่า “เกียด

 


 

 

 

 

 

 

    ที่จริง ในความทรงจำของ ผู้มีตัวเลขอายุสูง เป็นสมบัติ ... ยังมีอะไร ต่อมิอะไร ที่ตอนนั้นออกจะเสี่ยงภัย แต่ครั้นมาหวน ในปัจจุบัน ก็ให้อดยิ้มคนเดียวไม่ได้

    แต่ขณะเดียวกัน ... ก็ให้เสียดาย ... “อารยะ” ที่ก้าวไปเกือบถึง “โลกพระศรีอาริย์” อยู่แล้ว กลับถูกทับกลบ ด้วยความเห็นแก่ตัว

    เฮอ ... นอกประเด็นอีกแล้วซีเรา ...

                      เอาครับ ... แล้วจะเอา “เล่ จริง” (ปัจจุบัน) มาให้ดู

ความเห็น

เล่ามาอีกค่ะ จะคอยอ่านค่ะ ประสบการณ์อ้อมก็เสริมรอยหยักได้มากเลยค่ะ วิธีจับปลาแบบนี้คล้ายที่ออกรายการคนค้นคน จะเป็นการจับปลาแม่น้ำโขงที่ลาวนะคะ จับได้ทีเป็นร้อยโลเลยค่ะ

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะลุง เป็นความรู้ใหม่ เพราะบ้านหนูไม่มีแบบนี้ค่ะ

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

ขอบคุณมากๆเลยค่ะไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้ความรู้ใหม่ๆเพียบเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆครับ ที่บ้านผมก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันครับ:bye:

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

เป็นความรู้ใหม่ค่ะคุณลุง มารอดูตอนต่อไปค่ะ

เล่าเหลยต่ะ  กำหลังทำท่าติรู้เรื่อง :uhuhuh:

กำลังอินเลยลุง พักโฆษณาเสียแล้ว ค่อยมาอ่านต่อตอนต่อไปค่ะ

นึกภาพตอนชุมชนช่วยกันคนละไม้คนละมือ  น่าชื่นใจ   Laughing

แล้วตอนจับปลาได้หละลุง  จับได้มากน้อยเท่าไหร่ต้องมาหารกันม่ะ  หรือว่าใครจับได้  จับเอา  ถ้าเป็นอย่างนั้นหนูคงกลับบ้านไปต้มแห้วกินแทนปลาแหม่น  เพราะจำได้ว่าตอนเด็ก ๆ ( เล่าความหลังอีกแระ  เหอะ  เหอะ  ..  ) ไปตกปลากะเพื่อน ๆ  เพื่อนเค้าตกปลาได้เอา ๆ  แต่หนูกลับบ้านไซเปล่า  แม่บอก  ..ทำบาปไม่ขึ้น        :confused:

ปอ . ลอ ชาตินี้จะมีบุญได้กินขี้ปลาหุดหม้ายนิ   :uhuhuh:

    "แล้วตอนจับปลาได้หละลุง  จับได้มากน้อยเท่าไหร่ต้องมาหารกันม่ะ  หรือว่าใครจับได้  จับเอา"

           - ใครจับได้เท่าใด เอา ปายยยย ... ด่ายม็ด เลยยยย ! ... แล้วจะเอาไปฝากไปแบ่งให้ตนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ไปร่วมจับ ครับ (ก็แขะบอก ฮั้นแนะ สมัยนั้น เหมือนยู "โลกพระศรีอาริย์")

     "ถ้าเป็นอย่างนั้นหนูคงกลับบ้านไปต้มแห้วกินแทนปลาแหม่น"

           - ไม่ต้องกินแห้ว "จัดได้แหมน" เพราะปลาแถก ขึ้นมาตรงหน้าแขะหนัง นันแนะ ... ขึ้นมาปับ ... ครอบวิ่ง ลงไปปุบ ... แหล่ว มั่นอีไปไหนดาย ...

      แต่ถ้าคี้ขร่านจับ ... ไปยืนแล บนหลิง ข้างเหล แล้วหล่วงยิบในข้องใครก็ได้ ... ดีหวาหลาว เลือกได้ตัวใหญ ๆ ... ไขเต็มพุง .... ฮึ ๆ ๆ

ขี้คร้านจับแต่ยืนแลเพื่อน แถมลวงตัวใหญ่ไขเต็มพุง  กลับบ้าน  

...แม่เห้ยแม่ !!! น่าคบจริง ๆ เพื่อนคนนี้     :objection:

หน้า