การปฏิวัติเขียว(The Green Revolution)
การปฏิวัติเขียว(The Green Revolution) ผมได้คัดลอกจากคำนิยม ในหนังสือ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ทางออกของของเกษตรกรรมและอารยมนุษย์" ด้วยความตั้งใจว่าจะให้สมาชิกบ้านสวนพอเพียงได้ทราบที่มาที่ไปของปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพของคนเราที่เป็นอยู่ทุกวัน ผมพิมพ์ไว้หลายวันแล้วแต่ยังไม่เอาขึ้น รอการตอบรับอนุญาตจากสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่รอหลายวันแล้วก็ไม่มีเสียงตอบรับ เอาเป็นว่าผมเอาขึ้นเลย และเขียนอ้างอิงที่มาที่ไปทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับสมาชิก ไม่ได้ทำเพื่อการค้า
##########################
การปฏิวัติเขียว(The Green Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงทศวรรศที่ 6 คือประมาณ 30 ปืที่ผ่านมานี้ โดยเริ่มจากเทคโนโลยีการผลิต เช่นการผสมพันธุ์พืชสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดจนสุขภาพอนามัย และระบบนิเวศวิทยาของโลก
จุดเด่นของการปฏิวัตเขียวอยู่ที่การนำเอาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มาเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตสินค้าเกษตรอย่างได้ผลชัดเจน อย่างเช่นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพันธุ์ข้าว "มหัศจรรย์" ต่างๆเป็นต้น แต่จุดอ่อนของมันคือละเลยต่อผลกระทบด้านอื่นๆ เช่นสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาซึ่งมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนเป็นอย่าง ยิ่ง
โดยอาศัยเงื่อนไขต่างๆ เช่นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆ ในที่สุดระบบการเกษตรในแนวทาง "ปฏิวัติเขียว" ก็กลายเป็นนโยบาบหลักของแทบทุกประเทศ และประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเกษตรกรต่างถูกชักจูงให้ยอมรับระบบการเกษตรดัง กล่าวด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งผ่านระบบการศึกษาและสื่อสารมวลชลนานาชนิด จนกระทั่งกลายเป็นกระแสหลักของระบบการเกษตรในปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุป ระบบการเกษตรปัจจุบันตั้งอยู่บนหลักการใหญ่ๆ เพียง 2 ประการคือ ความมักง่ายและความรุนแรง
"ความมักง่าย" แสดงออกโดยการมองทุกสิ่งอย่างแยกส่วน เช่นมองดินเป็นเพียงพื้นที่สำหรับพืชอาศัยยืนต้น และเป็นแหล่งธาตุอาหารเท่านั้น เมื่อขาดความอุดมสมบูรณ์ก็เพียงแต่ใส่ธาตุอาหารไปโดยตรงในรูปของปุ๋ยเคมี ซึ่งในที่สุดก็พัฒนามาจนไม่ต้องปลูกพืชบนดินก็ได้ กล่าวคือปลูกบนกรวดทรายที่มีสารละลายที่มีสารละลายของธาตุอาหารหล่อเลี้ยงอยู่แทน(Hydroponic)
ส่วน "ความรุนแรง" จะเห็นได้จากการแก้ปัญหาศัตรูพืช เช่น โรครา แมลง วัชพืชหรือสัตว์อื่นๆ เช่นหนูนา โดยการฆ่าหรือทำลายโดยตรงด้วยสารเคมีมีพิษชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยากำจัดเชื้อรา ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช หรือยาเบื่อหนูก็ตาม
ระบบการเกษตรปัจจุบันพยายามแยกตัวออกจากธรรมชาติโดยใช้วิธีการควบคุมและบังคับธรรมชาติไปในทิศทางที่มนุษย์ต้องการเพียงเพื่อสนอง "ความต้องการเทียม" ของคนกลุ่มน้อยที่มีกำลังซื้อ ตัวอย่างเช่นการปลูกพืชในประเทศเขตหนาว หรือปลูกพืชเมืองหนาวในประเทศเขตร้อน รวมทั้งการบังคับให้ต้นไม้ออกผลนอกฤดูกาล เป็นต้น
รูปธรรมอันเป็นผลจากระบบการเกษตรดังกล่าวที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันก็คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกิจการกลุ่มบรรษัทผลิตสารเคมีและเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตร การล่มสลายของเกษตรกรรายย่อย หนี้สินต่างประเทศของประเทศเกษตรกรรม การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศวิทยาตลอดจนปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วไป ในฐานะผู้บริโภคผลิตผลจากระบบการเกษตรนี้
และเมื่อวิเคราะห์เจาะลึกไปอีกพบว่าแท้จริงแล้ว ระบบการเกษตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้กลับมิได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นดังที่กล่าวอ้างกันมาแต่ต้น หากแต่เป็นระบบที่ด้อยประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการผลิตอาหารให้ได้พลังงาน 1 แคลลอรีนั้น ต้องใช้พลังงานในการผลิตถึง 7 แคลอรี ในขณะที่ระบบการเกษตรดั้งเดิมนั้นใช้พลังงานในการผลิตเพียง 1 แคลอรี แต่ผลิตอาหารได้พลังงานถึง 50 แคลอรี ดังนั้นระบบการเกษตรในปัจจุบันจึงใช้ทรัพยากรของโลกอย่างฟุ่มเพือย โดยเฉพาะทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหินก๊าชธรรมชาติ และแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้นขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดของเสียซึ่งเป็นพิษต่อดิน น้ำอากาศ ตลอดจนปนเปื้อนกับอาหารที่ผลิตได้ เป็นพิษต่อผู้บริโภคอีกด้วย
ที่มา :
หนังสือ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ทางออกของของเกษตรกรรมและอารยมนุษย์"
คำนิยมของ เดชา ศิริภัทร หน้า (๙)-(๑๒)
ผู้เขียน มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
ผู้แปล รสนา โตสิตระกูล
สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง
ปล. ขอบคุณน้ามืด ที่ส่งหนังสือมาให้อ่าน
- บล็อกของ sothorn
- อ่าน 154108 ครั้ง
ความเห็น
จันทร์เจ้า
17 กรกฎาคม, 2010 - 09:32
Permalink
อืม...น่าคิดนะ
ส่วนมาก หรือ แทบจะทั้งหมด ทำแบบนี้กันทั้งนั้น แล้วพวกเรา เป้นชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ จะช่วยอะไรได้บ้างล่ะ
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
sothorn
22 กรกฎาคม, 2010 - 11:18
Permalink
ช่วยอะไรได้บ้าง
จันทร์เจ้า
22 กรกฎาคม, 2010 - 11:33
Permalink
พี่ได้ช่วยแล้วเหรอเนี่ย!!!
ที่ผู้ใหญ่บอกมา พี่ได้เริ่มทำแล้วค่ะ ปลูกผักกินเอง แต่งามเป็นบางอย่าง อาจจะเมล็ดพันธุ์ไม่ค่อยดี(เข้าข้างตัวเองใว้ก่อน) ปุ๋ย พี่ก็ใช้ปุ๋ยหมัก และ ขี้วัว อิอิ ดีใจที่ได้ช่วยอะไรบ้าง
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
คนตูล
17 กรกฎาคม, 2010 - 10:04
Permalink
อะไรๆมันเปลี่ยนไป
เดี่ยวนี้อะไรๆมันก็เปลี่ยนไป ผู้ปลูกผู้ค้าก็คิดแต่ผลกำไรเป็นหลัก ผู้บริโภคก็ต้องการซื้อแต่ของสวยๆงามๆ นับวันความเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่มก็เพิ่มขึ้น อยากให้ทุกคนมีน้ำใจที่จะ แบ่งปัน สร้างสรร พอเพียง เหมือนชาวบ้านสวนฯจังเลยเฮ้ยยยยย
แดง อุบล
22 กรกฎาคม, 2010 - 11:12
Permalink
ดีมากเลย
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะผู้ใหญ่
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
มนต้นกล้า
22 กรกฎาคม, 2010 - 11:19
Permalink
เห็นด้วยมากๆ
พลังงานที่ใช้ปลูก กับผลผลิตที่ได้ มันห่างกันเยอะเนอะ
ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน
หยอง
22 กรกฎาคม, 2010 - 11:33
Permalink
ผมได้หนังสือเล่มนี้จากเจ้านาย
ผมได้หนังสือเล่มนี้จากเจ้านาย
อ่านแล้วรู้สึกชอบมาก เพราะผมก็เดินทางสายนี้
เกษตรธรรมชาติ ทำแล้วมีความสุขที่ยั่งยืน
satjang
22 กรกฎาคม, 2010 - 11:46
Permalink
ขอบคุณพ่อผู้ใหญ่
ประเทศที่เค้าปฏิวัติเขียว เค้าก็เริ่มอยู่ไม่ได้ ยิ่งประเทศที่มีต้นทุนทางธรรมชาติน้อย ๆ สิ่งที่เค้าทำได้ก็ให้ความรู้ผิด ผิด กับประเทศที่เค้าว่า "ด้อยพัฒนา"....ส่งความรู้มากับสื่อ มากับความเชื่อ ....
เล่มนี้ต้องไปหามาอ่านบ้างแล้ว ^ - ^
...2553 ปีที่ 1 ที่เริ่มเดินตามรอยพ่อ...
ตั้ม
22 กรกฎาคม, 2010 - 14:12
Permalink
น่าจะผสมผสานได้
เห็นด้วยกับแนวคิดของการกลับมาสู่วิถีดั้งเดิม อย่างน้อยก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการใช้สารเคมี และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนกว่า แต่ถ้าหากเลือกใช้เทคโนโลยี่บางอย่างผสมผสานเข้าไป โดยศึกษาเปรียบเทียบก่อนก็น่าที่จะพัฒนาควบคู่ไปกันได้ อย่างเช่นหากไม่ใช่ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ก็ต้องพัฒนาสายพันธ์ที่ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น (ไม่ใช่การตัดต่อพันธุกรรม หรือถ้าใช่ก็ต้องศึกษาผลกระทบจนแน่ใจ)หรือพัฒนากระบวนการเพิ่มผลผลิต อัตราการบริโภคเป็นอัตราเร่งตามอัตราการเกิด ขณะที่อัตราการตายน้อยลงจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ ดุลยภาพของการผลิตกับการบริโภค หากไม่ได้ดุลย์กัน ปัญหาก็จะตามมาอีก (ผมเองไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเกษตร การผลิตหรอกนะ แต่มองในอีกมุมหนึ่งที่ห่วงทั้งผลกระทบจากการปฎิวัติเขียว และห่วงทั้งดุลยภาพของการบริโภค)
แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย
ลุงพูน
22 กรกฎาคม, 2010 - 19:45
Permalink
ซือตี๋
พวกเอ็งนี่เอียงซ้าย ป่าววะ (ทำเสียงให้เหมือนๆในอาคารเทพฯ ด้วย)
หน้า