การปฏิวัติเขียว(The Green Revolution)
การปฏิวัติเขียว(The Green Revolution) ผมได้คัดลอกจากคำนิยม ในหนังสือ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ทางออกของของเกษตรกรรมและอารยมนุษย์" ด้วยความตั้งใจว่าจะให้สมาชิกบ้านสวนพอเพียงได้ทราบที่มาที่ไปของปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพของคนเราที่เป็นอยู่ทุกวัน ผมพิมพ์ไว้หลายวันแล้วแต่ยังไม่เอาขึ้น รอการตอบรับอนุญาตจากสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่รอหลายวันแล้วก็ไม่มีเสียงตอบรับ เอาเป็นว่าผมเอาขึ้นเลย และเขียนอ้างอิงที่มาที่ไปทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับสมาชิก ไม่ได้ทำเพื่อการค้า
##########################
การปฏิวัติเขียว(The Green Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงทศวรรศที่ 6 คือประมาณ 30 ปืที่ผ่านมานี้ โดยเริ่มจากเทคโนโลยีการผลิต เช่นการผสมพันธุ์พืชสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดจนสุขภาพอนามัย และระบบนิเวศวิทยาของโลก
จุดเด่นของการปฏิวัตเขียวอยู่ที่การนำเอาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มาเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตสินค้าเกษตรอย่างได้ผลชัดเจน อย่างเช่นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพันธุ์ข้าว "มหัศจรรย์" ต่างๆเป็นต้น แต่จุดอ่อนของมันคือละเลยต่อผลกระทบด้านอื่นๆ เช่นสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาซึ่งมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนเป็นอย่าง ยิ่ง
โดยอาศัยเงื่อนไขต่างๆ เช่นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆ ในที่สุดระบบการเกษตรในแนวทาง "ปฏิวัติเขียว" ก็กลายเป็นนโยบาบหลักของแทบทุกประเทศ และประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเกษตรกรต่างถูกชักจูงให้ยอมรับระบบการเกษตรดัง กล่าวด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งผ่านระบบการศึกษาและสื่อสารมวลชลนานาชนิด จนกระทั่งกลายเป็นกระแสหลักของระบบการเกษตรในปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุป ระบบการเกษตรปัจจุบันตั้งอยู่บนหลักการใหญ่ๆ เพียง 2 ประการคือ ความมักง่ายและความรุนแรง
"ความมักง่าย" แสดงออกโดยการมองทุกสิ่งอย่างแยกส่วน เช่นมองดินเป็นเพียงพื้นที่สำหรับพืชอาศัยยืนต้น และเป็นแหล่งธาตุอาหารเท่านั้น เมื่อขาดความอุดมสมบูรณ์ก็เพียงแต่ใส่ธาตุอาหารไปโดยตรงในรูปของปุ๋ยเคมี ซึ่งในที่สุดก็พัฒนามาจนไม่ต้องปลูกพืชบนดินก็ได้ กล่าวคือปลูกบนกรวดทรายที่มีสารละลายที่มีสารละลายของธาตุอาหารหล่อเลี้ยงอยู่แทน(Hydroponic)
ส่วน "ความรุนแรง" จะเห็นได้จากการแก้ปัญหาศัตรูพืช เช่น โรครา แมลง วัชพืชหรือสัตว์อื่นๆ เช่นหนูนา โดยการฆ่าหรือทำลายโดยตรงด้วยสารเคมีมีพิษชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยากำจัดเชื้อรา ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช หรือยาเบื่อหนูก็ตาม
ระบบการเกษตรปัจจุบันพยายามแยกตัวออกจากธรรมชาติโดยใช้วิธีการควบคุมและบังคับธรรมชาติไปในทิศทางที่มนุษย์ต้องการเพียงเพื่อสนอง "ความต้องการเทียม" ของคนกลุ่มน้อยที่มีกำลังซื้อ ตัวอย่างเช่นการปลูกพืชในประเทศเขตหนาว หรือปลูกพืชเมืองหนาวในประเทศเขตร้อน รวมทั้งการบังคับให้ต้นไม้ออกผลนอกฤดูกาล เป็นต้น
รูปธรรมอันเป็นผลจากระบบการเกษตรดังกล่าวที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันก็คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกิจการกลุ่มบรรษัทผลิตสารเคมีและเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตร การล่มสลายของเกษตรกรรายย่อย หนี้สินต่างประเทศของประเทศเกษตรกรรม การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศวิทยาตลอดจนปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วไป ในฐานะผู้บริโภคผลิตผลจากระบบการเกษตรนี้
และเมื่อวิเคราะห์เจาะลึกไปอีกพบว่าแท้จริงแล้ว ระบบการเกษตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้กลับมิได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นดังที่กล่าวอ้างกันมาแต่ต้น หากแต่เป็นระบบที่ด้อยประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการผลิตอาหารให้ได้พลังงาน 1 แคลลอรีนั้น ต้องใช้พลังงานในการผลิตถึง 7 แคลอรี ในขณะที่ระบบการเกษตรดั้งเดิมนั้นใช้พลังงานในการผลิตเพียง 1 แคลอรี แต่ผลิตอาหารได้พลังงานถึง 50 แคลอรี ดังนั้นระบบการเกษตรในปัจจุบันจึงใช้ทรัพยากรของโลกอย่างฟุ่มเพือย โดยเฉพาะทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหินก๊าชธรรมชาติ และแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้นขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดของเสียซึ่งเป็นพิษต่อดิน น้ำอากาศ ตลอดจนปนเปื้อนกับอาหารที่ผลิตได้ เป็นพิษต่อผู้บริโภคอีกด้วย
ที่มา :
หนังสือ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ทางออกของของเกษตรกรรมและอารยมนุษย์"
คำนิยมของ เดชา ศิริภัทร หน้า (๙)-(๑๒)
ผู้เขียน มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
ผู้แปล รสนา โตสิตระกูล
สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง
ปล. ขอบคุณน้ามืด ที่ส่งหนังสือมาให้อ่าน
- บล็อกของ sothorn
- อ่าน 154118 ครั้ง
ความเห็น
ตั้ม
22 กรกฎาคม, 2010 - 19:53
Permalink
ซือเฮีย..
นิดๆ..ไม่ถึงกะเอียงกะเท่เร่..เพราะผมก็อยู่แถวอาคารเทพ..ติดกับคาเฟทรีเรีย...รุ่นซือเฮีย..ไม่รุว่ามีชมรมมหาวิทยาลัยชาวบ้านหรือเปล่า (มชบ) ผมสังกัดที่นี่
แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย
ลุงพูน
22 กรกฎาคม, 2010 - 20:00
Permalink
ซือตี๋
ยังไม่มีครับ
sothorn
22 กรกฎาคม, 2010 - 20:03
Permalink
คุยอะไรกัน
ผู้อาวุโสคุยอะไรกัน งง ครับ
ตอนแรกนึกว่าทะเลาะกัน
ลุงพูน
22 กรกฎาคม, 2010 - 20:12
Permalink
ผู้เฒ่าก็ชอบเล่าความหลังไง
ผู้เฒ่าก็ชอบเล่าความหลังไง
แป้ง
22 กรกฎาคม, 2010 - 18:27
Permalink
The Green Revolution
เห็นด้วยกับบทความนี้..ตอนนี้กำลังหัดทำปุ๋ยหมักขี้วัวอยู่.. ไม่ยากอย่างที่คิด
ลุงพูน
22 กรกฎาคม, 2010 - 19:44
Permalink
คุณแป้ง
ถ้าทำปุ๋ยหมักด้วยขี้วัวแล้ว เสนอแนะให้เลี้ยงใส้เดือนด้วยขี้วัว ด้วยครับ
ลุงพูน
22 กรกฎาคม, 2010 - 19:42
Permalink
ผู้เฒ่า ฟูกูโอกะ
สมัยยี่สิบกว่าปีก่อน หนังสือเล่มนี้ได้จุดประกาย การเกษตรอินทรีย์ขึ้น แต่กระแสทุนนิยมยังมาแรง กระแสเกษตรอินทรีย์เลย ไปไม่รอด แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ ความเข้าใจในการทำการเกษตรอินทรีย์ ได้แทกซึมเข้าสู่คนไทยเพิ่มมากขึ้น หลายคนได้นำไปปฏิบัติทดลอง ได้ผลก็มี ไม่ได้ผลก็เยอะ
เนื่องจากแนวทางเกษตรอินทรีย์ เป็นคนละแนวทางกับเกษตรสารเคมี ดังนั้น หากทางราชการยังมั่นคงกีบการเกษตรแบบสารเคมี โอกาสของการเกษตรอินทรีย์คงเกิดขึ้นได้ยาก
แต่ก็มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งได้หันกลับมาทำการทดลองทำเกษตรอินทรีย์แบบจริงๆจังๆ ทั้งที่เรียนรู้มาทางด้านการเกษตรสมัยใหม่ และเรียนรู้มาทางสาขาอื่นๆ ทีมีความเชื่อว่า การเกษตรแบบอินทรีย์ หรือการเกษตรแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษ เคยทำมาหากิน เลี้ยงดูลูกหลานให้เติบใหญ่มาได้ ไม่น่าจะด้อยไปกว่าการเกษตรแบบสารเคมี
บางรัฐบาลในระยะหลังๆ มีนักวิชาการกลุ่มที่สนใจเรื่องการเกษตรอินทรีย์ ได้เข้าร่วมเป็นผู้บริหารประเทศ ท่านเหล่านั้นรู้ดีว่า กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในประเทศนี้ อยู่ที่ไหนบ้าง ทำการเกษตรอินทรีย์ในด้านต่างๆกันอย่างไร และได้ให้ กลุ่มเกษตรอินทรียย์ เหล่านั้น จัดการให้การศึกษาอบรมแก่เกษตรกรทั่วไป ที่สนใจในแนวทางเกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์จึงแผ่ขยายออกไปทั้งจำนวนผู้ผลิต ผู้เรียกร้องที่จะบริโภค อาหารอินทรีย์ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจออกไปแก่คนทั่วไปในสังคม โดยเฉพาะในสังคม online ที่พวกเราเข้ามาเผ้าหน้าจอกันทุกวันนี้
ปุ๊ก
22 กรกฎาคม, 2010 - 19:56
Permalink
กำลังเริ่มค่ะ
ปลูกผักกินเอง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ไม่ใช้สารเคมี..
ทำแค่...พอดี
ใช้อย่าง...พอเพียง
เก็บออม...พอสมควร
3 พอ...เพื่อความสุขในชีวิต
msn kra_pook@hotmail.com
น้อย สวนบุรีรมย์
22 กรกฎาคม, 2010 - 21:12
Permalink
วันก่อนก็ดูสารคดีทางทีวี
วันก่อนก็ดูสารคดีทางทีวี เขาพยายามปลูกข้าวโพดอาหารรสัตว์กันเต็มที่เลย แล้วเอามาให้วัวกิน
เขาว่าข้าวโพด 44 กิโล ได้เนื้อวัว 1 กิโล (อัตราแลกเนื้อนี้ไม่ชัดเจนแต่ก็ทำนองนี้แหละ)
ถามว่าทำไมเราไม่เก็บข้าวโพดไว้เป็นอาหารคน ทำไมเราไม่เลี้ยงวัวด้วยหญ้าแบบเดิม
สวนเกษตรบุรีรมย์การเกษตรแบบเสาร์เว้นเสาร์ เน้นที่เราปลูกเองกินเอง
บริการจัดทำและดูแลเว็บไซต์ ถูก ดี มีประสิทธิภาพ
Tikapus
23 กรกฎาคม, 2010 - 14:04
Permalink
หนังสือเล่มนี้แหละ
หนังสือเล่มนี้แหละ ทำให้มุมมองในชีวิตผมเปลี่ยนไป
หน้า