เที่ยวไปในเยอรมัน ตอนที่ 8 โบสถ์เฟราเอินเคียร์เชอ (Frauen kirche)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

สวัสดีครับพี่น้องชาวบ้านสวนทุกท่าน ในวันที่ 3 ก.ย. 2556 จะขอเล่าต่อจากบล็อคที่แล้วนะครับ หลังจากออกจากพระราชวังดัคเฮ้า ผมก้ได้เข้าไปเดินเที่ยวในเมืองมิวนิค ออกจากตลาดวิคทัวลีนมาร์คท์ ก็ตรงไปยังโบสถ์เฟราเอินเคียร์เคอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองมิวนิคอีกแห่งหนึ่งครับ  จะขอเล่าเกี่ยวกับเมืองมิวนิคสักหน่อยครับ ขอบคุณแหล่งข้อมูลจากวิกิพิเดียครับ ข้อมูลเพิ่มเติมตามลิ้งค์นี้ครับ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81

 

มิวนิก (เยอรมันเกี่ยวกับเสียงนี้ München  (มึนเชิน)อังกฤษMunich) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย (อังกฤษ: Bavaria; เยอรมัน: Freistaat Bayern)

มิวนิกเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ (รองจากเบอร์ลินและฮัมบูร์ก) และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์

มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549(เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ. 2545 - 2554 ของเมือง 60 เมืองในประเทศเยอรมนี

 ท่าอากาศยานนานาชาติฟรานซ์ โจเซฟ สเตราส์ ในมิวนิก เป็นสนามบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงค์เฟิร์ต

 

มิวนิกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1701 (ค.ศ. 1158) เมื่อแคว้นบาวาเรียรวมตัวกันสำเร็จในพ.ศ. 2049 (ค.ศ. 1506) มิวนิกจึงกลายเป็นเมืองหลวงของบาวาเรีย ปี พ.ศ. 2349 (ค.ศ. 1806) มิวนิกเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรบาวาเรียที่สถาปนาใหม่ ในช่วงนั้นมิวนิกถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุโรปพื้นทวีป มิวนิกมีประชากร 100,000 คนเมื่อ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) และ 500,000 คนเมื่อพ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901)

หลังจากถูกโจมตีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ราชวงศ์ที่ปกครองมิวนิกได้หลบหนีไปอยู่เมืองอื่น จึงเปิดโอกาสให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ปกครองมิวนิกแทนในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) แต่ก็ปกครองได้ไม่นานนัก เนื่องจากถูกโค่นล้มโดยกลุ่มนักการทหารไฟรคอปส์

พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีเยอรมันพยายามยึดอำนาจการปกครองมิวนิก การปฏิวัติล้มเหลว ส่งผลให้ฮิตเลอร์ถูกจับกุม กิจกรรมของพรรคนาซีต้องหยุดลง ก่อนที่ฮิตเลอร์จะกลับมามีอำนาจอีกครั้งใน พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) โดยที่ทำการใหญ่ของพรรคนาซีเยอรมันอยู่ในมิวนิก

มิวนิกเสียหายอย่างหนักในสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากถูกทิ้งระเบิดถึง 71 ครั้งในช่วง 5 ปี หลังจากสหรัฐอเมริกายึดครองมิวนิกสำเร็จใน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) มิวนิกก็ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็ว มีประชากรเกิน 1 ล้านคนใน พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)

มิวนิกได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ที่โอลิมปิก สเตเดียม มิวนิกโดยโอลิมปิกครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ ได้บุกเข้าไปสังหารนักกีฬาชาวอิสราเอล ปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกันล้มเหลว ส่งผลให้ตัวประกันชาวอิสราเอลเสียชีวิตทั้งหมด

มิวนิกยังเป็นหนึ่งในเมืองที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 และฟุตบอลโลก 2006

ภูมิศาสตร์

เมืองมิวนิกตั้งอยู่บนที่ราบสูงบาวาเรียตอนบน อยู่ห่างจากตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ไปทางทิศเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร มิวนิกตั้งอยู่สูง 520 เมตร (1,706.04 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านได้แก่ แม่น้ำอิซาร์ และแม่น้ำเวือร์ม

ภูมิอากาศ[แก้]

มิวนิกมีสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีป สภาพอากาศที่รุนแรงบางครั้งเกิดโดยการที่อยู่ใกล้กับเทือกเขาแอลป์ ความสูงของเมืองและความใกล้ชิดกับเทือกเขาแอลป์แสดงถึงการมีปริมาณหิมะตกที่สูง พายุฝนมักจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและคาดไม่ถึง อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน หรือฤดูหนาวและฤดูร้อนอาจแตกต่างกันมาก ลมอุ่นจากเทือกเขาแอลป์ (เรียกว่า ลมเฟิห์น) สามารถเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้รวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง แม้แต่ในฤดูหนาว

ฤดูหนาวมีช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคม เมืองมิวนิกประสบกับฤดูหนาวที่หนาวจัด ซึ่งฝนตกหนักสามารถเกิดขึ้นได้ในฤดูหนาว แต่ไม่บ่อยนัก ช่วงเดือนที่หนาวที่สุดคือมกราคม ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ -1 องศาเซลเซียส (30 องศาฟาเรนไฮต์) หิมะจะปกคลุมอย่างน้อย 2 อาทิตย์ในฤดูหนาว ส่วนในฤดูร้อนจะมีอากาศเย็นสบาย โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 23 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์) โดยเดือนที่ร้อนที่สุดคือกรกฎาคม ช่วงเวลาฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน

 จะมีอะไรบ้างตามมาชมกันครับ

ใกล้กับตลาดจะเห็นโบสถ์เก่าๆและใต้หอนาฬิกา เปิดให้ขึ้นชมวิวของเมืองมิวนิคครับ

ก่อนจะขึ้นขอเข้าไปชมข้างในก่อนครับ สวยเหมือนกันครับ อันนี้ตรงกลาง

 

ภาพนี้ด้านข้างซ้าย

ภาพนี้ด้านข้างขวาครับ

 

ออกจากโบสถ์ก็เจอทางขึ้นไปชมวิวแล้วครับ ทางแคบๆเล็กๆ ค่าเข้าชมคนละ 1.50 ยูโรครับ

เป็นบันไดไม้ครับโครงสร้างข้างในเป็นไม้ทั้งหมดครับ กว่าจะเดินขึ้นไปถึงก็เล่นเอาผมหอบเหมือนกันครับ

 

มองไปเห็นหอคอยคู่ของโบสถ์เฟราเอินเคียร์เชอ อยู่ไม่ไกลจากนี้ครับ

มีกรงเหล็กล้อมไว้ กะด้วยสายตาความสูงประมาณตึก 12 ชั้นครับ

 

เบื้องล่างคือจตุรัสมารีนพลัทซ์และศาลากลางครับ

 

ป่าไม้เยอะๆคือสวนอิงลิสการ์เด้นครับ

ทิวทัศน์โดยรอบเมืองจะเห็นว่าเมืองนี้ไม่ให้มีตึกสูง ที่เห็นสูงๆก็จะเป็นหอระฆังของโบสถ์เท่านั้นครับ

มาถึงแล้วครับหอคอยคู่ของโบสถ์เฟราเอินเคียร์เชอ สร้างในปี ค.ศ. 1494 หรือ 500 กว่าปีที่แล้วครับทำจากอิฐแดง

ที่ห้องใต้ถุนมีหลุมศพของเจ้าชายราชวงค์วิทเทลส์บาท 46 องค์และของพระคาร์ดินัล (นักบวช) ในเขตปกครองเมืองมิวนิคครับ

เป็นโบสถ์์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ ของเยอรมันครับ

ข้างในก็กว้างขวางครับ

เดินต่อมาใกล้กันก็จะเจอโบสถ์ มิชาเอลเคียร์เชอ (Michaels kirche) โบสถ์แนวเรอเนสซองค์ที่มีเชื่อเสียงแห่งหนึ่งในเยอรมัน

ซึ่งข้่างในมีที่ฝังพระศพของพระเจ้าลุดวิกที่ 2 พร้อมด้วยสมาชิกราชวงค์วิทเทลบาค หลังใหญ่และสูงถ่ายภาพไม่หมดครับ 

ข้างในก็สวยงามครับ

ข้างล่างใต้ถุนก็เก็บพระศพครับ

จากจตุรัสมารีนพลัทซ์ ไปยัง จตุรัสคาร์ลส์พลัทซ์ จะเป็นถนนคนเดินครับ

เป็นแหล่งช็อปปิ้งของ ร้านมีชื่อต่างๆครับ

ศิลปินแบบมาร้องเพลงข้างถนนก็มีให้ชม อันนี้มาเป็นคู่ครับ

ถึงจะเป็นในเมืองแต่การปั่นจักรยานก็ถือเป็นปกติ ของที่นี่ครับ

เดินไปผ่านร้านค้าชื่อดังของคนมีเงินครับ

พระราชวังเรสซิเดนซ์ มิวนิค ในวันที่ท้องฟ้าสดใสครับ

ด้านข้างใกล้กันคือโรงละครแห่งชาติครับ ดูเสาหินแล้วใหญ่โตจริงๆครับ

 

ด้านหลังวังเรสซิเด้นซ์ก็จะเป็นโรงละคร หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง โอเปร่าเฮาส์

หลังใหญ่เหมือนกันครับ 

เดินไปดูใกล้มีรอบแสดงหลายวันทีเดียว

ละครเวทีในเยอรมันเป็นการแสดงทีมีผู้คนชื่นชอบเป็นอย่างมาก แต่ก่อนจะเปิดให้เข้าชมแต่ในสังคมบุคคลชั้นสูงครับ เช่น ในพระราชวังของกษัตริย์ครับ ในเยอรมันจึงมีโรงละครเยอะถึง 150 แห่งกระจายอยู่ใน 16 รัฐทั่วประเทศโดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นหลักครับ

สวนโฮฟการ์เด้นตรงกันข้ามกับโรงละครครับ

และใกล้ๆกันหลังนี้ก็คือ  เฮาส์เดอร์คุนสท์ (Haus der Kunst ) พิพิธภัณฑ์สิลปะร่วมสมัย เอาไว้โอกาสหน้าคงจะได้เข้าชมครับ

คราวก่อนเคยบอกว่าเป็นรัฐสภาของบาเยอน ต้องขออภัยด้วยครับ มันเป็นอีกที่หนึ่งไม่ใช่ตรงนี้ครับ

บริเวณข้างๆก็เป็นสวนต้นไม้ร่มรื่นครับ

เดินลอดใต้ถนนมาอีกฟากหนึ่งก็คือสวน อิงลิสการ์เด้น (English Garden ) ครับ เห็นคลองน้ำที่ไหลผ่านสวนก็ดูสดชื่นครับ

 

ลานหญ้าเขียวในสวนผืนใหญ่มากี่ทีก็ไม่เบื่อครับ

 

วันนั้นผู้คนก็มีแต่ไม่มากเหมือนตอนหน้าร้อนครับ อาจจะเป็นเพราะอากศเริ่มเย็นแล้วครับ

และแล้วก็จบทริปนี้ครับ 3 ก.ย. 2556  จากพระราชวังดัคเฮ้า เข้าไปต่อในเมืองมิวนิค กว่าจะกลับเข้าบ้านก็ทุ่มกว่าๆครับ

           สุดท้ายนี้ขอขอบคุณบ้านสวนพอเพียงที่ให้โอกาสผมได้แบ่งปัน

     และขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาชม เจอกันใหม่ในบล็อกต่อไปครับ

 

ความเห็น

มาเที่ยวด้วยคนจ้า ภาพบนเพดานสวยมากๆค่ะ ดูกันตื่นตาตื่นใจเลยน้องสนิท

ต้องยอมรับว่าภาพวาดจิตรกรรมของที่นี่เขาฝีมือและสีสันสวยงามครับ อายุเป็นร้อยปีสีก็ยังสวยครับ ขอบคุณครับพี่สมจิต

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

ถ่ายภาพได้สวยงาม เหมือนโปสการ์ด ไม่ต้องซื้อเลยLaughing ขอก๊อปได้ปล่าว

_________________________  

Our way is not soft grass, it’s a mountain path with lots of rocks. But it goes upward, forward, toward the sun. – Ruth Westheimer

ได้ครับแต่ยกเว้นเพื่อการค้านะ ขอบคุณครับ

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

บ้านเมืองขะเจ้าเป็นระเบียบ สะอาดสะอ้าน วิวกะงามหลาย

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

ต้องยอมรับว่าคนเยอรมันเขาค่อนข้างมีวินัย รักสะอาด และมีจิตสำนึกต่อสังคมและสาธารณะมากทีเดียว บ้านเมืองจึงดูดีขอบคุณครับเอื้อย 

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

ชอบที่เค้าห้ามไม่ให้มีตึกสูงจังค่ะ 

ได้ยินว่าเขากลัวไปบดบังทัศนียภาพของเมือง และที่นี่จะทำอะไรก็ต้องทำประชาวิจารณ์ถ้าส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยก็จบ ขอบคุณครับ 

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

ขอบคุณครับลุงโรส

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

หน้า