เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
จากบล็อกที่แล้วซึ่งอ้อยหวานจับเอาพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มารวมญาติ จะไม่เชิญต้นอื่นก็กระไรอยู่ แต่ถ้าเชิญหมดก็ไม่ไหวเหมือนกัน เพราะตระกูลนี้เขาใหญ่ไม่ใช่เรื่อง ถือว่าใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากพืชตระกูลกล้วยไม้ (Orchidaceae) และทานตะวัน (Asteraceae) อ้อยหวานขอจับฉลากเอาก็แล้วกัน มาดูกันว่าใครได้รับเชิญให้มารวมญาติที่บล็อกนี้
ขอเชิญต้นแรกค่ะ ต้นล็อกวูด (Logwood) แน่นอนเป็นพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของเม็กซิโกและทางตอนเหนือของอเมริกากลาง
ในศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 19 ล็อกวูด (Logwood) เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง มีการปลูกและตัดส่งขายทั่วยุโรป เนื้อไม้ของล็อกวูดใช้ในการย้อมผ้า
ล็อกวูดมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Haematoxylum campechianum มาจากภาษากรีก Haima = เลือด และ xylon =ไม้ รวมกันก็คือไม้สีเลือด
ล็อกวูดเป็นแหล่งสีย้อมผ้าธรรมชาติที่สำคัญ นอกจากจะใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว ยังใช้ในการย้อมกระดาษอีกด้วย
ล็อกวูดเป็นไม้ขนาดกลาง โตเต็มที่จะสูงประมาณ 15 เมตร เป็นไม้มีหนาม เปลือกไม้มีสีเทาหรือสีน้ำตาล ช่อดอกออกที่ซอกใบ มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมหวาน
พืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ต้นต่อมา ก็ให้สีสันที่สวยสดเช่นกัน ต้นครามแท้ (true indigo) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Indigofera tinctoria เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในทวีปเอเซียและแอฟริกา สันนิษฐานกันว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย
ต้นคราม (true indigo) เป็นพุ่มไม้สูงถึง 2 เมตร
มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงสีม่วง
สีย้อมได้จากการนำใบครามไปหมักกับน้ำ เพื่อให้สารธรรมชาติ indican glycoside ในใบ เปลี่ยนมาเป็นสีคราม
การย้อมสีด้วยต้นคราม (true indigo) นี้มีในประวัติศาสตร์มาเป็นเวลายาวนาน ต้นครามและการย้อมสีด้วยต้นครามมีอยู่ในบันทึกภาษาสันสกฤตเก่าแก่
‘Tellem textiles’ เป็นสิ่งทอโบราณที่เก่าแก่ที่สุดพบในแอฟริกาตะวันตก ค้นพบในถ้ำสำหรับฝังศพในประเทศมาลิ (Mali) เป็นสิ่งทอโบราณในศตวรรษที่ 11 หรือ 12 ย้อมสีด้วยคราม
ต้นครามเทียม หรือเรียกกันว่า ครามป่า, ครามกัวเตมาลา (Guatemalan indigo), ครามใบเล็ก (small-leaved indigo) หรือ Añil มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Indigofera suffruticosa
ต้นครามป่า (Indigofera suffruticosa) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของทวีปอเมริกา ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะแคริบเบียน เม็กซิโก อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ลักษณะต้นเป็นพุ่ม เติบโตสูงถึง 1 เมตร
ต้นครามป่า (Indigofera suffruticosa) จะต่างจากต้นครามแท้ (Indigofera tinctoria) ตรงฝัก ฝักครามแท้จะตรง ถ้าฝักโค้งงออย่างในรูปก็คือต้นครามป่า และต้นครามป่าจะเตี้ยกว่ามาก
เช่นเดียวกับครามแท้ ต้นครามป่า (Indigofera suffruticosa) ก็สามารถนำมาทำสีย้อมผ้าได้เช่นกัน คุณ indigodonna ปลูกครามป่าและทำสีย้อมเอง ดูบล็อกของเธอได้ที่นี่
นอกจากนี้สีครามหรือสี indigo ธรรมชาติยังได้มาจากพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) เช่นต้นวอด (woad) เป็นพืชวงศ์ผักกาด (Brassicaceae) ซึ่งเป็นพืชที่น่าสนใจมากอีกชนิดหนึ่ง อ้อยหวานจะเขียนถึงหลังจากงานรวมญาติวงศ์ถั่ว
พืชที่ให้สีครามหรือสี indigo ธรรมชาติและไม่ใช่พืชวงศ์ถั่ว แต่เป็นพืชวงศ์ไผ่ (Polygonaceae) คือ ต้นครามจีน (Chinese indigo) ในประเทศจีนได้นำใบของต้นครามจีนมาทำสีย้อมผ้ามาตั้งแต่โบราณกาล
โปรดติดตามรวมญาติวงศ์ถั่ว ในตอนต่อไป
ขอบคุณรูป จาก WIKIPEDIA
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/Haematoxylum_campechianum
http://database.prota.org/PROTAhtml/Haematoxylum%20campechianum_En.htm
http://www.prota4u.org/protav8.asp?h=M4,tinctoria&p=Indigofera+tinctoria
http://en.wikipedia.org/wiki/Indigofera_tinctoria
http://indigogrower.blogspot.ca/
http://en.wikipedia.org/wiki/Indigofera_suffruticosa
I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.
ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข
ขอบคุณค่ะ
อ้อยหวาน
- บล็อกของ อ้อยหวาน
- อ่าน 22044 ครั้ง
ความเห็น
เสิน
2 ธันวาคม, 2014 - 09:29
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
รวมญาติได้สีมาใช้ ดีกว่ารวมญาติแล้วตั้งวงเมา ฮ่า
..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..
ริมสวนยาง
2 ธันวาคม, 2014 - 12:35
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
ขอบคุณค่ะพี่อ้อย..ตอนแรก นึกไปว่า เค้านำลำต้นหรือเปลือกไม้มาย้อม ไม่นึกว่าเป็นใบ(คราม) ค่ะ
ไอรินลดา
2 ธันวาคม, 2014 - 15:02
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
พี่อ้อยหวาน... เห็นต้นคราม ทำให้คิดถึงพี่หยอย ประไพ ทองเชิญ มากๆ เลยค่ะ
ป้าต่าย
3 ธันวาคม, 2014 - 12:36
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
บล็อกคุณอ้อยหวานนี้เอาไปประกอบการเรียนให้นักเรียนได้เลย ความรู้ล้วนๆ
คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก
TuayFoo
3 ธันวาคม, 2014 - 14:51
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
Blog นี้ได้ความรู้ใหม่ตลอดเลย ขอบคุณครับ
ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข
TOOK SRONSIT
3 ธันวาคม, 2014 - 19:01
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
เข้ามาบล็อกพี่อ้อยหวานไม่ผิดหวังเลยคะ ได้ความรู้อีกแล้ว ขอบคุณคะพี่อ้อยหวาน
ความสะดวกสบายมีขาย แต่ความสุขเงินซื้อไม่ได้ เพราะความสุขมิใช่เงิน
นานุวัฒน์
3 ธันวาคม, 2014 - 20:44
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
ทำให้นึกอยากปลูกต้นครามเลยครับ
“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”
priraya
3 ธันวาคม, 2014 - 21:38
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
รวมความรู้มาครบครันเลยค่ะ...
Damras Onsuang
4 ธันวาคม, 2014 - 22:13
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง ..รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2
ชอบครับ ได้ความรู้เหมือนได้ไปเที่ยวชมแหล่งต่างๆไปในตัว