ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
ขอออกตัวก่อนนะครับว่า เพิ่งจะมาเป็นสมาชิกใหม่ เห็นสมาชิกหลายท่านนำข้อมูลดีๆมาเล่าให้เพื่อนสมาชิกได้ทราบ เลยเกิดอาการอยากเล่าบ้าง
มาเริ่มกันเลยนะครับ พอดีว่าก่อนหน้านี้ทำงานอยู่ต่างจังหวัดเสียนานตั้งแต่เรียนจบ นานๆทีถึงจะได้กลับบ้านเกิด (จ.ประจวบฯ)
กลับมาทีไร ก็ไม่เคยได้เข้าไปเที่ยวบ้านสวนเลย แต่ตอนนี้ย้ายกลับมาทำงานแถวบ้านแล้ว วันหยุดเสาร์อาทิตย์เลยแปลงร่างเป็นชาวสวนอย่างเต็มตัว
และสิ่งที่ผมอยากนำเสนอให้ทุกท่านได้ดูกัน ก็คือ ผักเหลียง ที่ผมปลูกไว้ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมครับ (นานมากๆแล้วครับ) มันขยายก่อเต็มสวนแล้ว
พื้นที่ประมาณ 7 ไร่ ครับ
วิธีการปลูกของผมนะครับ ผมลองมาทุกวิธีแล้วครับ ยกเว้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1.ตอนกิ่ง ตอนแรกๆ ก็เหมือนจะดีครับ แต่อยู่ไปอยู่ไป ชักเริ่มเหลืองและมุดลงดินไปในที่สุด ถ้ารอดก็ช้ามากครับกว่าจะขยายกอ
2.ปลูกเมล็ด ก็ดีครับ แต่ช้ากว่าจะได้กินยอด
3.ปักชำ รอดยากครับ
4.ขุดไหลมาปลูกครับ อันนี้ดีสุดครับ เดินกอไวกว่าวิธีอื่น
รูปเมล็ดมันครับ (ยังไม่สุก)
รูปไหลต้นเหลียงครับ (หน่อ)
ไหลตันเหลียงขนาดกำลังน่าเอาไปปลูกครับ
เมนูนะนำ ต้มกะทิครับ กินคู่กับน้ำพริกกะปิ อร่อยสุดยอด (บางคนใส่กะปิกับหอมแดงไปด้วยเวลาต้มครับ) และร้านหมูกระทะแถวบ้านผม
กำลังนิยมเอาไปโปรโมทร้านว่ามีใบเหลียงให้กินด้วย ไม่รู้ว่าที่อื่นมีหรือเปล่านะครับ
ศัตรูของต้นเหลียง ผมอ่านมาหลายเว็ปว่าไม่มีแมลงศัดรู แต่ที่สวนผมมีนะครับ ตัวมันคล้ายๆเพลี้ย ตัวสีเขียวๆ มันจะมาดูดน้ำเลี้ยงบริเวณ
ยอดอ่อน ทำให้ยอดอ่อนล่วงหมด แต่ก็ไม่ส่งผลให้ต้นเหลียงตายครับ แล้วอยู่ๆพวกมันก็หายกันไป นานๆทีถึงจะวนเวียนมาเยี่ยมซักทีหนึ่ง
ปัจจุบัน แม่ผมเก็บยอดผักเหลียงขายให้แม่ค้าผักแถวบ้านอยู่ครับ ก.ก. ละ 30-35 บาท ตลอดปี ไม่รู้ว่าที่อื่น เขาขายกันราคาเท่าไหร่
แต่ที่แน่ๆ ผมเห็นแม่ค้า เขาเอาไปทำกำขาย ได้กำไรเป็นเท่าตัวแน่ๆ แม่ผมเก็บผักไปบ่นไป อยากจะขุดทิ้งให้หมด โมโห แต่ก็ไม่เห็นทำเสียที
เรื่องที่ผมอยากจะเล่าก็มีแค่นี้แหละครับ ไว้คราวหน้า ถ้ามีโอกาสจะมาเล่าเรื่องอื่นให้ฟังอีกครับ ยังมีต้นผลไม้อีกหลายอย่างที่ แม่ผมปลูกไว้
(ขอโม้หน่อยนะครับ ว่าบ้านของผมยังกับป่าหิมพานต์ ) สุดท้าย ขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับถ้าผม ทำผิดพลาดประการใดไปครับ
ปล.ในรูปมีพวงกุญแจหมีอยู่ด้วย เพราะต้องการยืนยันว่า ทุกรูปถ่ายเองกับมือครับ
- บล็อกของ chaja
- อ่าน 13032 ครั้ง
ความเห็น
ริมสวนยาง
18 มีนาคม, 2015 - 09:12
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
เป็นการเล่าเรื่องที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งเลยค่ะ น้อง ถูกใจพี่บัวมากๆ ของน้องถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์เลยนะ ตั้งแต่สมัยมัธยม..ยาว น่ะ..เงินทั้งนั้นนะน้อง..บอกแม่ ใจเย็นๆค่ะ พี่ก็ไม่เคยขาย รู้แต่เป็นกำ ค่ะ ปกติ ก็ 10-15 บาท หน้าร้อนเดือนเมษา.กำละ20บาทค่ะ...น้องเขียนบล็อคดีแล้ัวค่ะ.แต่เอ้..ของพี่ก็ไม่ค่อยเห็นแมลงรบกวนนะ ใบไม่ร่วง เห็นเขียวๆอยู่ทั้งปีค่ะ...แล้วเขียนบล็อคมาบ่อยๆนะคะ ..พี่บัวก็มีสวนปลูกใบเหลียงอยู่ที่ชุมพร ค่ะ(เพิ่งเริ่มต้นทำ) สาวก ไบเหลียง แล้วเราเจอกันค่ะ...จุดไหนของประจวบฯจ๊ะ
chaja
19 มีนาคม, 2015 - 00:31
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
บางสะพานครับ
ป้าเล็ก..อุบล
17 มีนาคม, 2015 - 16:41
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
ผักเหลียง กำลังได้ราคาดี
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
นานุวัฒน์
18 มีนาคม, 2015 - 05:38
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
ต้อนรับครับ ที่บ้านนาเอาต้นที่เพาะจากเมล็ดมาปลูก รอดไม่กี่ต้น แถมโตช้าอีก ชอบเมนูต้มกระทิเหมือนกัน
“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”
TuayFoo
18 มีนาคม, 2015 - 09:30
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
ยินดีต้อนรับครับ ชอบผักเหลียงเหมือนกันครับ (แค่ผัดไข่ก็อร่อยแล้วครับ) ได้ต้นตอนไปเที่ยวนครศรีธรรมราชมา 2 ต้น ปลูกอยู่แต่ไม่ค่อยโตเท่าไร
ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข
sujiraporn
18 มีนาคม, 2015 - 13:06
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
แม้จะปลูกค่อนข้างยาก
แต่อร่อยยากที่ลืมเลือนนะนั่น
เสิน
18 มีนาคม, 2015 - 13:14
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
หมายถึงเต็มพื้นที่เลยหรือครับ เก็บกันมันแบบนี้
ผมก็หาเวลาขุดไหลไปปลูกอยู่เหมือนกัน
..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..
chaja
19 มีนาคม, 2015 - 00:35
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
ปลูกแทรกกับต้นยางครับ เต็มพื้นที่
BeeFuu
19 มีนาคม, 2015 - 15:14
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
ตลาดแถวที่ทำงานขายกำละ 20 บาท จะว่าแพงก็ไม่นะ (เพราะค่าขนส่งอีก) ซื้อกินประจำ
"ความสุขของชีวิตในวันนี้ คือทำตามวิถีพอเพียงของพ่อ"
Damras Onsuang
22 มีนาคม, 2015 - 14:57
Permalink
Re: ผักเหลียง (ผักพื้นบ้านภาคใต้)
ที่สวนผมปลูกมาสองปีกว่าครับ กิ่งตอนซื้อจากแม่ค้า ปลูกแทรกในดงยางพาราเหมือนกัน ส่วนใหญ่โตดีครับ สงสัยว่า ไหลที่ว่านี่ นานแค่ไหนครับหลังจากเราปลูกกิ่งตอน มันถึงจะมีไหลโผล่มาให้เราขุดแยกขยายได้น่ะครับ