ชีวิตคือการเดินทาง ตอน พริ้วไหวดั่งไผ่ต้องลม

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ดุเหว่าส่งเสียงร้อง            a cuckoo's cry --                      

จันทร์ส่องแสงนวลสุกใส    moonlight seeping through  

เปล่งประกายผ่านป่าไผ่     a large bamboo grove            

กลอนไฮกุของท่าน Matsuo Basho

 

บล็อกนี้มาเอาใจคนรักไผ่ อ้อยหวานได้พบเจอไม้ไผ่ในทุกหนแห่งในญี่ปุ่น ในสวน ริมแม่น้ำ บนภูเขา ไม้ไผ่ใกล้ชิดกับชีวิตของคนญี่ปุ่นอย่างแนบแน่น ไม่ว่าญี่ปุ่นจะเจริญก้าวหน้าไปไกลแค่ไหน ตะเกียบ เอ้ย ไม้ไผ่ ก็เกาะตามไปด้วยอย่างเหนียวแน่น จนเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นเลยทีเดียว

 

คนญี่ปุ่นทั้งใช้ (ไม้ไผ่) ทั้งกิน (หน่อไม้)  ไม้ไผ่ใช้สร้างบ้าน ตั้งแต่ รั้วบ้าน หลังคา พื้นบ้าน ประตู หน้าต่าง ไปจนถึงม่าน และมูลี่ ในครัวก็มีผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เต็มไปหมด อ้อยหวานชอบไม้หรือแปรงคนชาที่ทำด้วยไม้ไผ่ น่ารักมาก

 

วันสุดท้ายก่อนลาจากคามาคุระ  คนที่ชอบต้นไผ่มากๆ อย่างคุณผู้ชาย ก็แย้งว่า ช้าก่อน!! ยังไปจากคามาคุระไม่ได้ หากไม่ได้ไปเยือนป่าไผ่ของวัดโฮะโกะกุ-จิ วัดเรืองชื่อ (จากป่าไผ่) ของคามาคุระ

 

ที่จริงเราเคยแวะชมวัดโฮะโกะกุ-จิและป่าไผ่ของวัด เมื่อ 28 ปีที่แล้ว ทุกอย่างเกือบเหมือนเดิม ยกเว้น 28 ปีก่อนไม่มีค่าเข้าชม ตอนนี้เก็บค่าเข้าชมแล้ว แต่ก่อนเป็นทางดิน ซึ่งเป็นธรรมชาติมาก เดี๋ยวนี้เป็นทางหิน

อ่านเวอร์ชั่นที่มีรายละเอียดการท่องเที่ยวและการเดินทางได้ที่ลิงค์ข้างล่างค่ะ

มนต์เสน่ห์ป่าไผ่ วัดโฮะโกะกุ-จิ

 

รูปไผ่ในบล็อกนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นไผ่ของวัดโฮะโกะกุ-จิ

 

ญี่ปุ่นมีไผ่หลายชนิดแต่ที่เห็นมากที่สุดคงจะเป็นไผ่พันธ์ ‘โมะโสะ’ (moso) ป่าไผ่ของวัดโฮะโกะกุ-จิ มีไผ่ โมะโสะ 2000 กว่าต้น สวนญี่ปุ่นก็ต้องมีโรงน้ำชา ดื่มไป ชื่นชมไผ่ไป สุดสบายอารมณ์

 

ไปญี่ปุ่นคราวนี้อ้อยหวานกับคุณผู้ชายได้ไปเดินป่ากันหลายครั้ง การเดินป่า หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Hiking ที่จริงแล้วคำนี้กว้างกว่า ‘เดินป่า’ แต่อ้อยหวานหาคำภาษาไทยให้ตรงกันไม่ได้ เพราะ ‘เดินเขา’ ก็ใช่ ‘เดินทุ่ง’ ก็ใช่

 

คุณผู้ชายชอบเดินมาก พาอ้อยหวานเดินจนเท้าแบะ ส่วนอ้อยหวานก็พาคุณผู้ชายปั่นจักรยานที่เมืองไทยเสียจนก้นแบะเหมือนกัน

 

การเดินป่า หรือ Hiking นั้น นิยมกันมากที่ญี่ปุ่น และอ้อยหวานคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเที่ยวญี่ปุ่น ได้สัมผัสญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง ได้สัมผัสธรรมชาติ และห่างไกลนักท่องเที่ยวที่มากันเป็นฝูง ปั่นจักรยานก็เป็นวิธีที่ดี แต่มีข้อเสียคือ ญี่ปุ่นเป็นเกาะ มีภูเขาสูงๆ มากมาย และเมืองก็ติดๆ กัน

 

มีอยู่วันหนึ่งเรานั่งรถไฟไปเดินป่าที่เทือกเขาแอลป์ญี่ปุ่น และโชคดีจัง (หรือเปล่า!!!) ที่ก่อนหน้านั้นหนึ่งวันที่นั่นมีพายุหิมะ เราสองคนคุ้นเคยกับหิมะของแคนนาดา จึงไม่ยี่หระกับหิมะแค่ 1-2 ฟุต แต่นักท่องเที่ยวคนอื่นๆ แค่มาเยียบหิมะ แล้ววิ่งขึ้นรถไป

 

เส้นทาง 8 กิโลเมตรในหุบเขาเลยเป็นของเราแต่ผู้เดียว เงียบสงบ และงดงาม วันนั้นเราไม่กลัวหิมะ และไม่กลัวหมีด้วย เขามีระฆังสำหรับเคาะเตือนหมีไว้เป็นระยะๆ มีป้ายกำกับไว้ว่า ‘โปรดเคาะดังๆ’ ซึ่งเราก็ทำตามอย่างไม่อิดเอื้อน

อ่านเวอร์ชั่นที่มีรายละเอียดการท่องเที่ยวและการเดินทางได้ที่ลิงค์ข้างล่างค่ะ

เดินป่าบนเส้นทางเก่าแก่ ‘นะกะเซ็นโดะ’

ในนั้นมีรูปสวยๆ ของเทือกเขาแอลป์ญี่ปุ่นนะคะ และหากแวะไปอ่านช่วยกรุณากด Like ให้อ้อยหวานด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

ไผ่ โมะโสะ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ไผ่กระดองเต่า (tortoise-shell bamboo) เป็นพันธุ์ไม้ในตระกูลหญ้า (Poaceae)

 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllostachys edulis คำว่า ‘edulis’ ในภาษาละตินแปลว่า ‘กินได้’ นั่นคือหน่อกินได้ แต่ต้องนำหน่อไผ่ โมะโสะไปต้มจนนิ่ม เพื่อขจัดกรด oxalic และสารเคมีที่เป็นพิษ เริ่มแรกคือหั่นเปลือกออกให้หมด แล้วนำไปต้มกับน้ำรำข้าวที่เป็นด่าง ใช้เวลาต้มนานกว่า 30 นาที หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อไม้

 

ไผ่ โมะโสะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน โตเต็มที่จะสูงประมาณ 15-30 เมตร เป็นไผ่ที่ใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมไม้ไผ่

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับไผ่ โมะโสะ ได้ที่

http://en.wikipedia.org/wiki/Phyllostachys_edulis

 

ในภาษาญี่ปุ่น หน่อไม้เรียกว่า ทะเคะโนะโคะ (takenoko) แปลตรงๆ ได้ว่า ‘ลูกไผ่’ อ้อยหวานชอบชื่อนี้จัง และอยากกินแกงส้มลูกไผ่ เอาแบบใต้ เผ็ดร้อนแรง (นอกเรื่องอีกแล้ว)

 

ต้นไผ่ในญี่ปุ่นถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ในวันปีใหม่ตามบ้าน ร้านค้า ศาลเจ้า และสถานที่ต่างๆ ในญี่ปุ่น จะตกแต่ง ด้วย คะโดะมะซึต (kadomatsu) เป็นไม่ไผ่สามกระบอกที่เอามาผูกด้วยกัน และตกแต่งด้วยดอกพลัมกับใบสน

 

เสียงใบไผ่ต้องสายลมอ่อนๆ

แกว่งไกว เสียดสีกัน

ดุจเพลงบรรเลงแผ่วเบา

 

ปีที่แล้วอ้อยหวานได้ไปชมป่าไผ่ชื่อดังของเกียวโต แต่ไม่ได้เขียนบล็อก ตามอ่านได้ที่ลิงค์ข้างล่างค่ะ

อ่านไฮกุ กินดังโกะ ชมป่าไผ่

 

โปรดติดตามอ้อยหวานเล่าเรื่องญี่ปุ่น ในตอนต่อไป

 

อ่านชีวิตคือการเดินทาง ตอนแรกๆ ได้ที่นี่่ค่ะ

ชีวิตคือการเดินทาง

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ทำไมต้องท่องเที่ยว

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ฉันรักสวนลุม

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน มีรักที่ราชบุรี

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ดับเบิ้ลดีที่อัมพวา

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ทะเล หาดทราย สายลม และสองเรา

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน หัวหิน..ไม่สิ้นเสน่หา

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน หากเธอคือฟ้า ฉันจะเป็นทะเล

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ปั่นช้าๆ ตาม..เสียงเกลียวคลื่นและกลิ่นไอทะเล

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ปั่นตามใจ ไปตามฝัน

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ดั่งหนึ่งเม็ดทราย

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน สุขใจ@นครศรีธรรมราช

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน เที่ยวเมืองลุง ไม่ยุ่งหัวใจ

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน วันฟ้าใส..ในภูเก็ต

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ลาก่อนเมืองฟ้าอมร สวัสดีแดนอาทิตย์อุทัย

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน แม้แต่เทพสวรรค์ยังรายล้อมรอบ..ดอกพลัม

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ดอกซากุระ..สัญลักษณ์แห่งชีวิตและความไม่ยั่งยืน

 

ขอให้เพื่อนๆ มีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

ความเห็น

เคยอ่านเหมือนว่าคนไทยเรียกว่าไผ่ต้นเดียว คือ ไม่ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ แบบไผ่ทั่วไป ถ้าติดหนังจีนจะเห็นฉากจอมยุทธ์กระโดดจากไผ่ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่ง ผมก็อยากปลูกดูเล่นเหมือนกัน แต่เห็นว่าขึ้นได้เฉพาะถิ่นและต้องสูงด้วยและยังไม่เห็นในเมืองไทยมีใครปลูกได้เลยครับ Laughing

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

สุดยอดไม้ไผ่เลย 

เพราะชีวิต...คนเรา    เกิดมา....ไม่นาน ก็ต้องตาย
ต้องกลายเป็นความว่างเปล่า
Cr. เ่ท่าที่มี - กางเกง

ไม้ไผ่สวยมากคะ ไม่ขึ้นเป็นกอเหมือนเมืองไทยซึ่งส่วนตัวไม่ชอบไผ่เพราะว่าเคยเห็นแต่ที่รกๆ ตอนนี้เปลี่ยนใจแล้วคะ ชอบต้นไผ่

ความสะดวกสบายมีขาย แต่ความสุขเงินซื้อไม่ได้ เพราะความสุขมิใช่เงิน

ผมว่าไผ่เป็นพืชสารพัดประโยชน์เหมือนกล้วย  น่าปลูกไว้ จะชนิดไหนก็ตามแต่ สำหรับญี่ปุ่นจะเห็นสวนไผ่แบบนี้เยอะมาก น่าจะหามาปลูก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะโตไหมถ้ามาปลูกในไทยSmile

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

ไผ่สวยงามครับ ทางเดินสะอาดมากเลยพี่อ้อยหวาน

ขอบคุณที่นำธรรมชาติอันงดงามมาฝากค่ะLaughing

ไผ่ในฝันเลยครับ ชอบๆ แต่ได้ข่าวว่าเมืองไทยปลูกยากและไม่มีใครปลูกยกสวนแบบนี้เลย อากาศ อุณหภูมิ ความสูงของพื้นที่ ความชื้น ฯลฯ อะไรล่ะที่ไผ่ชนิดนี้ต้องการ

วิถีชีวิตคนญี่ปุ่นยังอยู่กับไผ่ ผิดกับคนไทย อะไรมาใหม่รีบหามาอวดกัน

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ไผ่งามเหลือเกินค่ะ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

หน้า