ช่วยด้วย ไม่รู้ว่ากล้วยเป็นอะไร?

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เริ่มลามไปหลายต้นแล้ว

 

เริ่มแรก ใบเหลือง...

 

 ลองโค่นทิ้ง สภาพตรงโคน ดังรูป

 

ผ่ากลางต้น

 

 ทำอย่างไรดี?

ความเห็น

อยากมีส่วนร่วมในการดูและต้นกล้วยค่ะ

โรคกล้วยน้ำว้า
โรคตายพราย
สาเหตุโรค
: เชื้อรา F. oxysporum f.sp. cubense 

Image

   • เชื้อรา F. oxysporum schlect. f. sp. cubense (E. F. Smith) Snyder & Hansens เข้าสู่พืชทางรากและแพร่กระจายสูท่อลำเลียงน้ำ
   • ทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมของกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบ โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบและใบหักพับภายใน 1-2 สัปดาห์ และในที่สุดลำต้นเทียมจะยืนต้นตายหรือล้มตายลงไป
   • เมื่อผ่าลำต้นเทียมหรือกาบใบที่อยู่ใกล้ระดับผิวดินตามยาว จะพบกลุ่มท่อลำเลียงที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง เมื่อผ่าเหง้า โคนต้น ลำต้นเทียม ก้านเครือ ก็จะพบอาการลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งต่างจากต้นปกติที่เนื้อเยื่อเหล่านี้มีสีขาว (Cook, 1975) พบเชื้อรานี้แพร่กระจายอยู่ในบริเวณเขตร้นและเขตกึ่งร้อน

อาการ
   • มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป
   • โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ
   • ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน
   • กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
   • ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง 

ลักษณะอาการของกล้วยน้ำว้าเป็นโรคตายพรายที่พบในแปลงปลูกกล้วยของเกษตรกร

Image
  ก. อาการระยะเริ่มแรกใบมีสีเหลือง 3-4 ใบและหักพับตรงโคนก้านใบ ทำให้ใบห้อยลู่ลงมา         ขนานกับลำต้นเทียม 
  ข. อาการระยะรุนแรงใบกล้วยมีสีเหลืองเหี่ยวหลายใบ และหักพับลงมาคลุมลำต้นเทียม
  ค. อาการใบกล้วยเหี่ยวแห้งทั้งต้นและยืนต้นตาย

การพัฒนาการโรคตายพรายของกล้วยน้ำว้าค่อม

Image
  ก. อาการโรคเมื่อเริ่มปรากฏให้เห็นครั้งแรกเมื่อกล้วยอยู่ในระยะใกล้ออกเครือ 
  ข. อาการเมื่อ  15  วัน หลังเริ่มปรากฏอาการครั้งแรก 
  ค. อาการเมื่อ 30 วัน หลังเริ่มปรากฏอาการครั้งแรก 
  ง. อาการขั้นสุดท้าย เมื่อ 45 วันหลังปรากฏอาการครั้งแรก

แปลงกล้วยที่เป็นโรคเหี่ยวที่อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

Image

การวินิจฉัยโรคตายพราย

Image Image Image
   - ใบเริ่มมีสีเหลือง เมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน หรือก่อนออกปลี หรือตัดเครือแล้ว
   - ตัดกลางลำต้นที่ความสูงประมาณ 50 - 100 ซม.
   - บริเวณกาบลำต้นจะมีสีน้ำตาลแดง, น้ำตาลเหลือง

Image

การแพร่ระบาดของโรคตายพรายกล้วยในประเทศไทย

   • ตั้งแต่ปี 2535 ถึงปี 2546 พบว่ามีโรคตายพรายเกิดขึ้นในทุกๆพื้นที่เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย คือ พบโรคนี้ในพื้นที่ 60 จังหวัด จาก 76 จังหวัด สำหรับจังหวัดที่ยังไม่สามารถรายงานได้เนื่องจากยังไม่สามารถเดินทางไปสำรวจในพื้นที่โดยตรงได้ แต่คาดว่าจะต้องพบโรคนี้เกิดขึ้นกับกล้วยอย่างแน่นอน
   • พันธุ์กล้วยที่สำรวจพบว่าเป็นโรคมี 2 พันธุ์ คือ กล้วยน้ำว้าต้นสูง ได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง น้ำว้านวล น้ำว้าเขียว เป็นต้น และกล้วยน้ำว้าค่อม ซึ่งเป็นพันธุ์เตี้ย พบว่าเป็นโรคตายพรายเช่นเดียวกัน
การควบคุมโรคตายพราย
   • ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปลอดโรค
   • ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค
   • ห้ามขุดย้ายหน่อที่เป็นโรคไปปลูก
   • ทำความสะอาดเครื่องมือ
   • เมื่อขุดต้นที่เป็นโรคทิ้งแล้ว ควรใส่ปูนขาว 1-2 กก./หลุม
   • ก่อนปลูกควรแช่หน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม
   • ฉีดสารเคมี คาร์เบนดาซิม เข้มข้น 2% จำนวน 3ม.ล./ต้น ทุก 5, 7 และ 9 เดือน
   • ใช้สารเคมีราดบริเวณที่เป็นโรค
   • ปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงปลูก
   • จัดระบบน้ำที่เหมาะสม
   • ใช้เชื้อรา Trichoderma
   • ปลูกกล้วยอื่นแทนกล้วยน้ำว้า

ส่วนขยายพันธ์กล้วยปลอดโรคตายพราย

1. กล้วยปลอดโรคตายพราย
   • หมายถึง หน่อกล้วย หรือ กล้ากล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ไม่มีเชื้อราโรคตายพรายติดมา
2. การติดมาของเชื้อโรคตายพราย
   • ติดมากับหน่อกล้วย โดยเชื้อเข้าไปอยู่ในราก หรือเหง้ากล้วย
   • ติดมากับดินที่ติดมากับหน่อกล้วย
3. ส่วนขยายพันธุ์กล้วยปลอดโรค
   • หน่อที่ขุดจากกอเดิมที่ไม่เป็นโรค

 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
   - โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซบ หรือเบนโนมิล
   - ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่นโตฟอส
   - หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส
   - แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อแมลง สารเมธิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือ ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือ ไดเมทโทเอท

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

โรคตายพราย (Panama disease หรือ Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense เข้าทำลายราก และมีการเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เกิดอุดตัน ใบจึงมีอาการขาดน้ำ หี่่ยวเฉา และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หักพับ การเจริญจะชะงักงัน และตายในที่สุด โรคนี้สามารถระบาดไปทางดิน ดังนั้นต้นที่อยู่ในบริเวณนั้นจะถูกโรคนี้ทำลายหมด จึงควรทำความสะอาดโคนกอกล้วย อย่าให้รก ทำทางระบายน้ำให้ดี และราดโคนต้นให้ชุ่มด้วยสารเคมี เช่น แคปแทน ๔๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

ขอขอบคุณสำหรับทุกความเห็นและคำแนะนำครับ

ทำให้พอจะได้แนวทาง คือ กำจัดต้นที่กำลังเป็นโรคทันที และหาซื้อสาร แคปแทน มาละลายน้ำราดโคนต้น (ว่าแต่เจ้าสารแคปแทน นี่หาซื้อได้ที่ไหนหนอ?)

 

"ไม่มีอะไรอยู่กับที่ ถ้าเราไม่หยุดเดิน"

ชื่อการค้า...แคปเมท80
ชื่อสามัญ...แคปแทน80%WG

ลักษณะเป็นเม็ดสีขาว แบบใหม่ล่าสุด ไม่ฟุ้งกระจายเวลาตักมาใช้ ลดอันตรายอันเกิดจากสารเคมีฟุ้งกระจาย ต่างจากออร์โธ่ไซด์ตัวเดิม ด้วยปริมาณสารออกฤทธิ์ที่เข้มข้นกว่าถึง30% ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

กำจัดเชื้อสาเหตุดังนี้ โรคใบไหม้ โรคใบปื้นเหลืองในกล้วยไม้ , Colletotrichum โรคตากบที่เกิดจากเชื้อแอนแทรกโนส, โรคราน้ำค้าง
อัตราการใช้
-ใบปื้นเหลือง 25-30กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
-โรคตากบแอนแทรกโนส 20-25 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
-ใบไหม้ดำ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ราคาจำหน่าย

- ขนาด 1 กิโลกรัม 320 บาท

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

ขอบพระคุณพี่ lekonshore มากๆเลยค่ะที่ช่วยแนะนำ กล้วยที่บ้านเป็นแบบนี้เหมือนกัน ยังไม่ได้แก้ไขเลย  จะนำวิธีที่แนะนำนี้ไปทดลองดูค่ะ 

ตายพรายครับ ตอนปลูกใช้หน่อเปล่าครับ แสดงว่าหน่อมีเชื้อติดมา โค่นแล้วเผาครับ ราดหลุมด้วยฟอร์มาลีน5เปอร์เซนต์ แล้วโรยปูนขาว ทิ้งไปเลย-เดือนถึงปลูกใหม่ที่หลุมเดิมได้ครับ

 

หน้า