รู้ซักนิดก่อนคิดกด shutter

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต้องออกตัวก่อนว่าไม่ใช่ตากล้อง ไม่ใช่มืออาชีพและไม่ได้มีอาชีพถ่ายภาพ ที่เขียน blog วันนี้เกิดจากประสบการณ์มั่วเอาล้วนๆ กรุณาอย่านำไปอ้างอิง แต่ถ้าเป็นประโยชน์และพิจารณาดูแล้วว่า "โดน" ก็สามารถนำไปใช้ในการถ่ายภาพครั้งต่อไป หรือจะนำไปลองดูแล้วเปรียบเทียบว่า ภาพมันออกมาดูดีกว่าแต่ก่อน ก็นำไปใช้ได้ไม่สงวนลิขสิทธิ์


"กล้อง" ใน blog นี้หมายถึงกล้องทั่วๆ ไป มี base shot คือโปรแกรมถ่ายภาพที่มากับกล้อง ไม่ได้หมายถึงกล้อง DSLR ที่สามารถใช้ฟังก์ชั่นแบบ manual เริ่มงงมั้ยคะ....


งั้นเริ่มใหม่ ไปดูกล้องของตัวเองว่ามีโหมด auto / macro / ถ่ายทะเล/ถ่ายภาพคน ฯลฯ อย่างนี้เป็นกล้องในฝันสำหรับ blog นี้ค่ะ 


blog นี้ Slowlife เน้นการใช้ base shot พวกนี้นะคะ ส่วนใครที่โปรแล้ว รู้จัก ความเร็วชัทเตอร์ การเปิดหน้ากล้อง ไม่ต้องอ่านต่อไปค่ะ เดี๋ยวจะมาเคืองว่า Slowlife มั่ว


เริ่มเลยนะคะ...


รู้ที่ 1....คิดอะไรไม่ออก ใช้ โหมด Auto ค่ะ เทคโนโลยีของกล้องพัฒนามาให้เราใช้แล้ว กว่าจะพัฒนามาได้ ใช้มันสมองนักวิจัยไปตั้งเยอะ ใช้ให้คุ้มค่ะ รู้จักกล้องของตัวเองให้ดีก็ถ่ายได้สวย ไม่ต้องไปวุ่นวายกับโหมดอื่นให้มันปวดหัว ปล่อยไปตามธรรมชาติค่ะ ถ้าถ่ายโหมดนี้ได้สวยแล้วความอยากถ่ายแบบอื่นจะมาเอง...อันนี้รับรอง...


รู้ที่ 2....จัดองค์ประกอบของภาพค่ะ จะถ่ายอะไร จ้องที่จอไว้ให้แม่นๆ ค่ะ กวาดตาดูรายละเอียดให้ดี ว่าในจอภาพ มีอะไรที่เราไม่พึงประสงค์หรือเปล่า



  • จะถ่ายภาพต้นไม้ ก็แหวกหญ้าออกซะบ้าง

  • ถ่ายดอกไม้สุดสวย ก็อัญเชิญหยากไย่ไปอยู่ที่อื่น ยกเว้นอยากจะถ่ายภาพแมงมุมนะคะ

  • ถ่ายภาพสถานที่ ดูว่ามุมของภาพติดสายไฟมาบ้างหรือเปล่า ขยับๆ หามุมอื่นค่ะ 

  • ถ่ายภาพวิวต้องการคนมั้ย ถ้าไม่ต้องการก็รอให้เขาไปที่อื่นก่อน ถ้าช้าก็เดินไปบอกว่า รบกวนขยัยนิดนึงนะคะ...อะไรแบบนี้

 


รู้ที่ 3....การถ่ายภาพพิจารณาเส้นอ้างอิงให้ดี สมมุติว่า



  • จะถ่ายภาพทะเล มีเส้นขอบฟ้า มองนิดนึงว่ามันเอียงหรือปล่าว เรื่องจะแบ่งพื้นน้ำกับผืนฟ้าให้ได้ตามกฏเก้าช่อง อันนี้เรื่องจิ๊บๆ แต่ถ่ายออกมาขอบฟ้าเอียงกระเท่เร่นี่ เสียหายหนัก ถึงจะมีคนประกอบในภาพ ก็จงตระหนักเรื่องเส้นพวกนี้ให้ดี ไม่งั้นภาพจะไม่สวยเอามากๆ 

  • ถ่ายสถาปัตยกรรม บ้าน วัด พระราชวังสวยๆ ให้ระวังเส้นพวกนี้ให้ดี ไม่งั้นภาพเราออกมาเหมือนเขาสร้างโบสถ์เอียงซะงั้น สงสารคนสร้างค่ะ



ตัวอย่างภาพขอบฟ้าเอียง


รู้ที่ 4....อย่าถ่ายภาพแบนๆ ค่ะ คือถ่ายหน้าตรง ถ้าไม่จำเป็นแล้วอย่าทำ ภาพจะออกมาไม่มีมิติ หามุมเอียงๆ ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น


 



  • การถ่ายโบสถ์ อย่าไปถ่ายด้านทางเข้าโบสถ์ถ้าไม่โปรจริงๆ เยื้องๆ มาค่ะ จะเห็นโบสถ์ในมิติ กว้าง ยาวและลึก 

  • การถ่ายดอกไม้ เอียง ค่ะ เอียง...ให้เห็นเกสรและกลีบดอก อย่าถ่ายตรงๆ ดอกไม้คุณจะดูไม่สวยเท่าถ่ายเอียงๆ จะแบบทำมุมเอียง 45 องศา หรือจะถ่ายเสยขึ้นไป ก็ลองดู

 



 


ภาพนี้จะเห็นการถ่ายแบบเอียงให้เกิดมิติ


รู้ที่ 5...การกดชัทเตอร์...อันนี้สำคัญ...เมื่อคุณใช้โหมด auto กล้องก็จะมีการคำนวนค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ความเร็วชัทเตอร์ การเปิดหน้ากล้อง  white balance ฯลฯ ให้แล้ว แต่ช้าก่อน......คุณต้องเข้าใจว่า กล้องมันก็ต้องเอาค่าพวกนี้ไปคำนวณเหมือนกัน เพราะฉะนั้นตรงนี้สำคัญ กล้องเกือบทุกตัวมีการกด shutter แบบสองสเตป ถ่ายครั้งต่อไปให้สังเกตนะคะ



  • step แรก กดเบาๆ กล้องจะ โฟกัสภาพ เพื่อคำนวณ ให้เวลากล้องมันซักนิดไม่ต้องรีบเพราะนั่นหมายถึง ความคมชัดของภาพจะไปอยู่ตรงอื่น ไม่ใช่เป้าหมายที่คุณอยากนำเสนอ พอกล้องคำนวณแล้วภาพจะชัดเจนดูที่ monitor แล้ว step2 ต่อไปคือ

  • กด shutter แบบหนักแน่นได้เลยค่ะ รับรองภาพไม่หลุดโฟกัสแน่ๆ 

 


พอแค่นี้ก่อนมั้ยคะ เหนื่อยแล้ว เพราะพิมพ์สดๆ ไม่ได้เรียบเรียง ก็เลยยังนึกข้ออื่นไม่ออก จะลองหาภาพมาประกอบดูนะคะ ใครที่มีกล้องเก่าๆ ไม่ต้องซีเรียสค่ะ ภาพใน blog ปลาใบปอราดพริก Slowlife ถ่ายด้วย Sony p72 รุ่นโบราณมาก มันก็ยังถ่ายได้คมชัดใช่มั้ยคะ Slowlife ทำได้คุณก็ทำได้ค่ะ


ภาพต่อไปนำ 5 ข้อนี้ไปใช้ก่อนกดชัทเตอร์นะคะ

ความเห็น

ประหยัดค่าฟิล์ม ค่าล้าง ค่าอัดไปมากเลย  รูปไหนไม่สวยก็ลบทิ้งได้ ถ่ายใหม่  ไม่งั้นก็ถ่ายไว้แยะเผื่อเลือก


แฟนซื้อกล้องตัวใหญ่ระบบดิจิตอลแต่ไม่เคยเอามาใช้เลย  มันหนักที่จะขนไปไหนมาไหน  แพงแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์น่าเสียดายจัง

มี ข้อมูล ดีๆ มาฝาก เยอะ เลยครับ

ที่ช่วยให้ blog สมบูรณ์มากขึ้น

ถ่ายๆมีแต่ใช่ spinal cord จริงๆไม่ได้ใช้สมองเร้ยยย 555


 

***Sweet pea***

มีกล้องดี แต่ถ่ายภาพไม่เป็นก็เท่านั้น

ขอบคุณครับ

เจ้กดตะพึดตะพือ  ออกมาดีบ้างเสียบ้าง  อาศัยลบเอา  ถ้าใช้ฟิมล์แบบเมื่อก่อนสงสัยโดนป๋าบ่นตายเลย    

:uhuhuh:

ความจริงมันเป็นคณะวิชาหนึ่งในสถาบันศิลป อย่างเทคโนฯ ราชภัฏฯ ราชมงคลฯ มหาวิทยาลัยต่างๆ วิชาโสตฯ(เกี่ยวเรื่องขององศ์ประกอบศิลป์ Composition Art)..มีหนังสือขายเป็นเล่มๆ เยอะมากๆ แต่ต้องมีกล้อง DSLR และอุปกรฌ์เสริม.(หลายเงิน อย่างเลนส์ Special Glass Multi..ราคา ดาวน์รถได้.)...(+ความสามารถส่วนตัว)..(สำหรับพวกรักการถ่ายภาพก็มีชมรมมากมาย ไปสมัครได้ครับ)

อย่าง Slowlife การไปศึกษาในโรงเรียนแบบนั้่นไม่ทัีนแล้วล่ะค่ะ เก็บเงินเอาไว้ไปเที่ยวและทำอย่างอื่นดีกว่า มีน้องคนหนึ่งมาถาม ก็ให้หนังสือไป สักพักก็ถามว่าไปถึงไหนแล้ว เขาบอกก็อ่านไปที่ละบทเรื่อยๆ  ก็บอกใครให้อ่านเนี่ย ไม่ทันแล้ว สนใจมีกล้องก็ถ่ายเลย ออกไปถ่าย อ่านบทนำนิดหน่อย เบื้องต้นนิดเดียวแล้วออกไปเลย อย่างเช่นวันนี้จะถ่ายภาพทะเลเพราะไปเที่ยวทะเล ก็ไปอ่านบทที่มันสอนถ่ายทะเล....วันนี้จะไปถ่ายภาพคนเพราะพาครอบครัวไปเที่ยวก็ไปเปิดการถ่ายภาพบุคคล อย่างนี้เป็นง่ายกว่า ไม่น่าเบื่อด้วย

เหมือนผู้ใหญ่ที่ยังเขียน กอไก่ไม่เป็น ไม่จำเป็นต้องไปหัดลากเส้นตรง เส้นเอียง ก็เขียน กอไก่ ไปตามแบบเลย ถึงไม่ได้ basic แบบเรียนในภาควิชา แต่เราก็นำมาถ่ายเป็นงานอดิเรก ภาษาวัยรุ่นเค้าเีรียกว่า "ถ่ายแบบขำๆ" น่ะค่ะ

ป้าก็อีกคน...สักแต่กดๆๆๆไม่รู้เรื่องเลย  คุณลุงซื้อกล้อง SONY DSC-H50 ให้ใช้ก็ไม่รู้อะไร...ถ่ายไปเรื่อย...ไม้ค่อยได้ศึกษากล้องเลย...ต้องลองใหม่..ขอบคุณที่แนะนำเรื่องดี ๆ คะ

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

หน้า