ทำน้ำหมักป้องกันแมลงศัตรูพืชกันเถอะ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สารเร่ง พด.7 หมายถึง เชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชสมุนไพร ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช

สรรพคุณ
ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่าง ๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น

วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช (จำนวน 50 ลิตร)
1.
สมุนไพร 30 กิโลกรัม
2.
น้ำตาล 10 กิโลกรัม
3.
น้ำ 30 ลิตร
4.
สารเร่ง พด.7 1 ซอง (25 กรัม)



วิธีทำ
1.
สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก หรือทุบ
2.
ละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 30 ลิตร ในถังหมักผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
3.
นำสมุนไพรและน้ำตาล ผสมลงในถังหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน
4.
ปิดฝาไม่ต้องสนิท ทำการหมักเป็นเวลา 20 วัน


อัตราการใช้
  สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1 : 200 สำหรับพืชไร่ และไม้ผล
  สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1 : 500 สำหรับพืชผัก และไม้ดอก


วิธีการใช้
  นำสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้ว 50 ลิตรต่อไร่ สำหรับใช้ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก และ 100 ลิตรต่อไร่ สำหรับใช้ในไม้ผล
  โดยฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดิน ทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง


ข้อควรระวัง
1.
เก็บสารเร่ง พด.7 ไว้ในที่ร่ม
2.
เมื่อเปิดถุงแล้วใช้ให้หมดในครั้งเดียว
3.
กากวัสดุที่เหลือจากการหมักให้นำไปใส่ร่วมกับการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชครั้งใหม่ต่อไป

สารเร่ง พด.7 หมายถึง เชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชสมุนไพร ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช

สรรพคุณ
ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่าง ๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น

วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช (จำนวน 50 ลิตร)
1.
สมุนไพร 30 กิโลกรัม
2.
น้ำตาล 10 กิโลกรัม
3.
น้ำ 30 ลิตร
4.
สารเร่ง พด.7 1 ซอง (25 กรัม)


วิธีทำ
1.
สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก หรือทุบ
2.
ละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 30 ลิตร ในถังหมักผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
3.
นำสมุนไพรและน้ำตาล ผสมลงในถังหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน
4.
ปิดฝาไม่ต้องสนิท ทำการหมักเป็นเวลา 20 วัน


อัตราการใช้
  สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1 : 200 สำหรับพืชไร่ และไม้ผล
  สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1 : 500 สำหรับพืชผัก และไม้ดอก


วิธีการใช้
  นำสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้ว 50 ลิตรต่อไร่ สำหรับใช้ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก และ 100 ลิตรต่อไร่ สำหรับใช้ในไม้ผล
  โดยฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดิน ทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง


ข้อควรระวัง
1.
เก็บสารเร่ง พด.7 ไว้ในที่ร่ม
2.
เมื่อเปิดถุงแล้วใช้ให้หมดในครั้งเดียว
3.

กากวัสดุที่เหลือจากการหมักให้นำไปใส่ร่วมกับการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชครั้งใหม่ต่อไป  

วัสดุที่ผมหาได้ครับ

ตะไคร้หอม

 

บอระเพ็ด

ฟ้าทะลายโจร

สะเดา

พด.7

ถังหมัก



 และก็ยังมีข่าและก็ยาเส้นยาตั้งกากน้ำตาล

พอดีช่วงกำลังทำกำลังทุบกำลังสับอยู่ ฝนได้เทลงมาอย่างหนัก (นั่งทำอยู่ลานบ้าน) เลยที่สับไว้แล้วทั้งหมดแยกเป็นกองๆ ไว้ว่าจะถ่ายรูปก่อนลงถัง พอฝนตกก็เลยจัดการรวมเข้ากองเดียวกันลงถังไปเลย ดังนั้นสิ่งที่ตั้งใจไว้ว่าจะถ่ายเป็นขั้นเป็นตอน ตกลงก็ทำไม่สำเร็จครับ

ความเห็น

แตงกวาของกุ้ง กำลังโดนเจ้าหนอนชอนใบ กับเต่าทองเล่นงานอยู่พอดีเลยค่ะ :hell-yes:


น่าสนใจมาก ๆ เลยค่ะ

ผมอยากรู้ว่า  พด 7  หาจากไหนครับ  เห็นเขียนว่าห้ามซื้อขาย หรือจะใช้สารอื่นทดแทนได้ไหม  ขอแบบทำเล็กน้อยก่อนนะครับ  ผักมีน้อย

พด7หายากมากค่ะ กว่าส่วนราชการจะให้มาได้นะค่ะ ที่บ้านไอกะหมอดินแต่ก็น้อยมากค่ะโดยมากเเค้าจะบอกว่าหมดหรือยังไม่ได้ไปเอามาค่ะ เพราะกรมพัฒนาที่ดินอยู่ไกลกับตัวเมืองมากเลย

ถ้าเราไม่ได้ปลูกเยอะมากมายก็ใช้น้ำที่เราซักผ้านี่ละค่ะรดราดลงไป...แล้วรอดูผลชงัดนัก..อิอิ :cheer3:

ดีจังเลยค่ะ  สารจากธรรมชาติ ปลอดสาร จะลองนำไปใช้บ้างแล้วล่ะค่ะ

:crying2:  ใครมีสูตรน้ำหมักไล่หอยทากบ้างคะ  ที่บ้านปลูกผัก/ดอกไม้ไม่ค่อยได้ค่ะ  หอยทากเยอะมาก  กำจัดได้อย่างไรคะ  ช่วยแชร์ไอเดียหน่อยนะคะ

จะลองเอาไปทำูดูนะคะกำลังจะย้ายกลับต่างจังหวัดพอดี


 

สวัสดีวันเด็กจ้า...:love:


จริงด้วย พด.7หาซื้อได้ที่ไหนค่ะ... ตอนนี้ถั่วฝักยาวกับถั่วนั่งกำลังโดนเล่นงานอยู่เลย:crying2:


เศร้า..จริงๆๆๆๆๆ แต่ไม่เป็นไร ยังมี บวบให้เก็บกินอยู่ ไว้จะถ่ายรูปมาให้ดูนะจ๊ะ

:admire: :embarrassed: พด.7 ขอได้ฟรีคับ ทีสำนักงานหมอดินทุกจังหวัดคับ  อิอิ สถานที่ตรวจสอบความอุดมสมบูรณืของดินคับ

:embarrassed: :embarrassed: :embarrassed: :embarrassed:

จะลองทำดู แต่ไม่รู้จะได้สมุนไพรจากที่ไหนบ้าง

หน้า