ปลูกยางพารานอกพื้นที่ภาคใต้

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    หลังจากผมมีประสบการณ์และความสำเร็จในการทำสวนยางในภาคใต้จากที่ดินที่ซื้อมา 4-5 ไร่ และที่ดินที่พ่อแม่แบ่งให้อีกประมาณ 10 ไร่  วันนี้ได้ผลผลิตหลังจากแบ่งแล้วประมาณสัปดาห์ละ 5,000 บาท  จึงมีแนวคิดที่จะขยายกิจการ แต่ติดที่พื้นที่ภาคใต้ไม่มีที่ดินแล้ว ราคาจึงสูงมาก ที่ดินเปล่าที่เหมาะปลูกยาง ไร่ละประมาณ 150,000 - 200,000 ครับ   ผมจึงมีแนวคิดที่จะออกไปปลูกยางพารานอกพื้นที่ภาคใต้  ได้รับประสบการณ์จะนำมาเล่าสู่กันฟังครับ  พื้นที่เป้าหมาย  อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน  ก่อนอื่นก็ไปดูก่อนว่าแถวนั้นเขาปลูกกันได้ผลแล้ว  ผมไปดูมาประมาณ 10 แปลง แปลงที่เก่าแก่ที่สุด ให้ผลผลิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี (ประมาณจากหน้ายางที่หมดไปหนึ่งหน้าแล้ว) ที่เหลือมีตั้งแต่ยาง  1- 5 ปี  โตเป็นปกติครับ  เลยตัดสินใจซื้อ

      เมื่อ มีนาคม 2554 ผมไปโอนที่มาแปลงหนึ่ง  เป็นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 547 เมตร  เป็นที่ไร่ข้าวโพดเก่า  ภาพที่เห็นได้มาจาก PointAsia  ครับ  เป็นแปลงสีเขียวๆ กลางภาพครับ  ส่วนด้านบนของภาพ เป็นสวนลำใยเห็นต้นเป็นจุดๆ ครับ  คนที่นี่ปลูกลำใยเกือบทั้งนั้น ทางเข้าเป็นดินลูกรัง มีไฟฟ้าเข้าไปถึงประมาณ 5 กม. ยังเหลืออีก 2 กม. จะถึงที่ของผม สองข้างทางเป็นสวนลำใย

        เจ้าของเดิม(ตามเอกสารที่เริ่มจดทะเบียนเป็น นส.3)เป็นคนท้องถิ่น  หลังจากนั้นมีคนจังหวัดอยุธยามาซื้อจากหลายเจ้า จึงเป็นที่ดินติดกันหมด จากเอกสาร นส.3 จำนวน 9 ฉบับ  เนื้อที่ รวม  98 ไร่ เศษ  เมื่อเจ้าของเดิมเสียชีวิต  ลูกชายได้รับช่วงเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งจะต้องแบ่งมรดกกันระหว่างพี่น้อง 8 คน  จึงต้องขายทั้งแปลงใหญ่  ผมเริ่มติดต่อตั้งแต่ประมาณเมษายน 2550  แต่ติดขัดด้วยไม่มีเงิน  จึงได้แค่ไปดูที่และก็วนเวียนไปดูทุกปีด้วยมีความหวังและอยากได้เป็นของตนเอง ระหว่างที่ยังขายไม่ได้เจ้าของก็ให้คนในท้องถิ่นเช่าปลูกข้าวโพดไป  (แม้ผมซื้อมาแล้วก็ยังให้เขาปลูกข้าวโพดต่ออีก 1 ปี  เพราะเขาเตรียมเมล็ดพันธุ์ไว้แล้ว)   จนกระทั่งปีใหม่ มกราคม 2554  ผมไปเยี่ยมเจ้าของที่ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกดังกล่าว ทราบว่าที่ดินยังขายไม่ได้ และไม่ได้ขึ้นราคา  ประกอบกับผมมีเงินเหลือเก็บอยู่นิดหน่อย บวกกับเห็นช่องทางในการหาเงินกู้จาก ชพค. และสหกรณ์  จึงได้เอาเงินเก็บมัดจำไว้  ที่เหลือลงมือยื่นคำร้องขอกู้กับสหกรณ์บ้าง ธนาคารบ้าง ชพค.บ้าง  ท้ายที่สุดที่โหดที่สุดคือธนาคารพาณิชย์  และได้เงินจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

  • จากสหกรณ์ ร้อยละ 75
  • จากเงินเก็บ  ร้อยละ 10
  • หยิบยืมจากญาติและเพื่อนที่สนิทสนม (ไม่มีดอกเบี้ย) ร้อยละ 15  (คืนหลังจากได้เงินอื่นมาภายใน 6 เดือน)

ครั้นช่วงกลางเดือนมีนาคม 2554 จึงไปโอนที่เป็นชื่อผมเองเรียบร้อย

        จากวันนั้นเป็นต้นมา  ผมจึงต้องวางแผนสำหรับการปลูกยางพารา

ความเห็น

เป็นกำลังใจให้นะครับ :cheer3:


ระหว่าง 7 ปีที่รอคอย ลองหาอะไรปลูกเสริม


ไว้เป็นรายได้ก็ดีนะครับที่ตั้งเยอะแนะ :admire:


ถ้าไม่รู้จะปลูกอะไรก็ถาม สมช.ได้ครับ


ที่ปลูกยางมีอยู่หลายท่าน :bye:

ผมเล็งพืชเสริมไว้ 2 อย่างครับ 1)สับปะรด เพราะพื้นที่ใกล้กันเช่นที่อำเภองาว ลำปาง มีปลูกครับ  2)กาแฟ พื้นที่ใกล้กันเช่น ที่อเชียงใหม่/เชียงราย มีปลูกได้ผล   แต่ตอนนี้วางแผนปลูกยางให้เสร็จก่อนครับ  ไม่แน่ถึงวันนั้น เงินทุนอาจไม่เหลือก็ได้

ทำนาทำสวนอยุ๋ที่ http://gotoknow.org/blog/southern-agriculture/toc

ขอเสนอความเห็นนิดนึงนะค่ะ  ถ้าปลูกกาแฟ  3  ปีถึงจะได้ผลพอกาแฟได้รับผลยางก็คุมพอดี  กาแฟถ้าไม่ได้รับแสงแดดเพียงพอลูกก็ไม่ดก  ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุนด้วยประการทั้งปวงค่ะ

แรงกาย+แรงใจ ลงมือทำในวันนี้ เพื่อชีวิตที่พอเพียง

แบ่งเป็นโซนเป็นดีกว่า คิดใหญ่ทำใหญ่ ห่างไกลแนวพอเพียง ทำทีเดียวทั้งหมดใช้ทุนมาก จะไหวไหม ท่านพี่ ปลูกยางพาราต้องใช้ทุนมาก เทรลเลอร์ซื้อทำไม จ้างเขาดีกว่า ไหม ดีไม่ดี อาจจะล้มได้ ไหนดอกเบี้ยแม้นจะหักจากเงินเดือน ชพค. คือเงินอนาคต นะพี่ท่าน.

แบ่งเป็นโซนเป็นดีกว่า คิดใหญ่ทำใหญ่ ห่างไกลแนวพอเพียง ทำทีเดียวทั้งหมดใช้ทุนมาก จะไหวไหม ท่านพี่ ปลูกยางพาราต้องใช้ทุนมาก เทรลเลอร์ซื้อทำไม จ้างเขาดีกว่า ไหม ดีไม่ดี อาจจะล้มได้ ไหนดอกเบี้ยแม้นจะหักจากเงินเดือน ชพค. คือเงินอนาคต นะพี่ท่าน.

ต่อแนวคิดที่ว่าทำไมไม่แบ่งโซน  มีหลายคนแนะนำมาก่อนแล้วครับ  การแบ่งโซนเหมาะสำหรับพื้นที่ที่เราอยู่ในแปลงนั้น ทะยอยทำไปเรื่อยๆ ปีละเท่าที่เรามีแรงจะทำ  แต่แปลงที่ผมทำนี้ต้องไม่ลืมว่าผมอยู่ห่างออกไปตั้ง 1,600 ก.ม. เพียงแต่ที่นั่นเป็นบ้านของภรรยา มีญาติโกโหติกาช่วยดูแลให้  การจัดการจึงควรจะทำแบบพรึบทีเดียวไงครับ

ทำนาทำสวนอยุ๋ที่ http://gotoknow.org/blog/southern-agriculture/toc

แถวนั้นที่ราคาแพงไหมค่ะ ปลูกยางทั้ง98ไร่เลยเหรอค่ะ

ที่ สปก. ไร่ละประมาณ7,000 - 15,000 แต่ไม่แนะนำให้ซื้อเพราะติดขัดข้อกฏหมาย โดยเฉพาะข้าราชการ  ที่นส.3, นส.3ก, โฉนด ไร่ละประมาณ 50,000 - 70,000  อยู่ที่ว่าใกล้-ไกล ถนนใหญ่ หรืออยู่ถนนลูกรัง  ถ้าโชคดีสามารถซื้อได้ 30,000  นี่ไม่นับรวมที่ตาบอดไม่มีทางเข้าออกนะครับ  สำหรับที่ ภบท.5  และที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ผมไม่เคยถามราคา เพราะไม่อยากยุ่งยากครับ

ทำนาทำสวนอยุ๋ที่ http://gotoknow.org/blog/southern-agriculture/toc

ขอบคุณค่ะ เคยไปดูที่แถวภูเรือ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ชาวบ้านจับจองปลูกข้าวโพดไว้ ขายไร่ละ15000 ตอนขึ้นไปดูที่ต้องนั่งรถอีแต๊ก ข้ามภูไปหลายลูกมาก รถอื่นไปไม่ได้ ใช้เวลาเป็นชั่วโมง ถ้าซื้อปลูกยางมีคนรับดูแล ค่าจ้างไม่แน่ใจว่าจ่ายรายเดือนหรือรายปี เลยถอย คิดแล้วไม่น่าจะคุมช่วงยางพารายังไม่ได้กรีดแล้วเอารายได้ที่ไหนให้ เป็นมนุษย์เงินเดือนเงินก้อน้อยอยู่แล้ว เลยหันไปดูที่แถวทางอุตรดิคถ์แทนค่ะ

โครงการใหญ่มาก ๆ เลยครับ การปลูกยางพารานอกเขตพื้นที่ภาคใต้ถ้าจะให้ดีต้องดูพื้นที่ใกล้ ๆ เป็นหลักว่ามีการปลูกยางที่ได้ผลแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี เพราะที่บางแปลงอาจปลูกได้แต่น้ำยางไม่มี ผมอยู่ จ.อดรธานี ดีที่อำเภอผมมีการทดสอบการปลูกยางพารามาตั้งแต่ปี 2536 แล้วจึงมั่นใจได้ว่าน้ำยางมีแน่ ๆ ปัจจุบันได้กรีดแล้ว งานสวนยางกว่าจะได้ผลตอบแทนลงทุนเยอะมาก ๆ ครับ 90 กว่าไร่ เยอะมาก ๆ ผมแค่ 15 ไร่ยังไม่ปลูกหมดเลยยังเหลือพื้นที่ปลูก ผัก ผลไม้ ไว้กิน ไว้แจก สุดท้ายยางพาราก็เป็นพืชเชิงเดี่ยวยิ่งตอนนี้ยางราคาตกมาไม่ถึง 100 บาท แถวบ้านผมประกาศขายที่กันเพียบเลยครับ  ยังไงก็เป็นกำลังใจให้นะครับ สู้ ๆๆๆๆ

ถ้าเป็นผมจะแบ่งปลูกให้ห่างกันสัก 5 ปี แบ่งเป็น 3 ช่วง เพราะถ้าชุดแรกได้ผลผลิตก็จะนำเงินรายได้มาเลี้ยงชุดที่ 2 และ 3 ต่อไปได้และลดความเสี่ยงที่ราคายางตก เพราะตอนนี้ภาคอีสานก็มียางทีท่จะเปิดกรีดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ไม่อยากจะคิดเลยว่าจะราคาตกอีกแค่ไหน เอาไปเอามาสวนยาง 11 ไร่ที่ผมปลูกไว้ จะสู้พื้นที่สวน 2 ไร่ และนาข้าว 2 ไร่ไม่ได้เพราะเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทุกอย่างที่กินได้ พึ่งตัวเองจากผลกระทบราคายางพารา แม้ราคาจะตกหรือเพิ่ม พื้นที่ นา และ สวน จำนวน 4 ไร่ ก็ยังผลิตอาหารป้อนให้ครอบครัวได้อย่างสบาย ๆ นะครับ

 

หน้า