วิธีสร้างบุญบารมี
บารมี คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงสุด
ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการต่อไปนี้
ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ เป็นต้น
เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตนอันเป็นกิเลสหยาบ คือ
“โลภ กิเลส” และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย
(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน มีจิตโสมนัสยินดีและเบิกบาน
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่างเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
เป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดีจะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
การให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย ยังได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ ยังได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ผู้มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระโสดาบัน ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระสกิทาคามี ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระอนาคามี ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระอรหันต์ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังได้บุญน้อยกว่า
ศีลคือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ เช่น เป็นฆราวาส ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และพระภิกษุสงฆ์ศีล ๒๒๗
การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา การบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน การถือศีลได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ
การให้อภัยทานมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้เพียงครั้งเดียว
การถือศีล ๕ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ เพียงครั้งเดียว
การถือศีล ๘ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณร แม้จะบวชมาเพียงวันเดียวก็ตาม
การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์ สังวร ๒๒๗ เพียงวันเดียวก็ตาม
ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป
๓. การภาวนา
เป็นการสร้างบุญบารมีที่ สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ
(๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
ได้แก่ การทำจิตใจให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน คือการทำจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน ๔๐” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญญานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้ จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือ ปีก ช้างกระดิกหู” คำว่า “จิตสงบ” ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ สมาธิแบบเด็ก ๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่
การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียงระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้
อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้
(๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
วิปัสสนา ไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็น อารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ “ขันธ์ ๕” ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป-นาม” โดยรูปมี ๑ ส่วน นามนั้น มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย
(๑) อนิจจัง คือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น
(๒) ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้” ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้น ๆ ได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัว และต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป
(๓) อนัตตา ได้แก่ “ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ” โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากปรับปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ” ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่นรูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า “เซลล์” จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึงและบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกายเรียกว่า ธาตุลม
สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ส่วนวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม”
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(คัดลอกส่วนสำคัญจากหนังสือวิธีสร้างบุญบารมี เพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน)
- บล็อกของ ลุงพี
- อ่าน 4607 ครั้ง
ความเห็น
guys ka
16 มิถุนายน, 2011 - 09:20
Permalink
ลุงพีขา
ลุงพีเจ้าขา..แล้วสร้างถนนแอสฟัสติกส์เข้าสำนักปฏิบัติธรรมของแม่ชีล่ะคะ...
.................
ลุงพี
16 มิถุนายน, 2011 - 09:36
Permalink
คุณกายส์
ทำทานแก่ผู้มีศีลได้บุญได้กุศลแน่นอนจ้า ขออนุโมทนาด้วยครับ
พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง
ประไพ ทองเชิญ
16 มิถุนายน, 2011 - 09:24
Permalink
ลุงพี อนุโมทนาค่ะ
หยอยเองเน้นแต่เรื่องฝึกเจริญสติค่ะลุงพี ปีนี้ยังคิดชวนพี่น้องทางใต้เข้าเงียบที่สวนโมก หลายปีแล้วที่ไม่ได้กลับไป วันล้ออายุพุทธาสปีนี้ก็ไม่ได้ไป จะเสร็จงานรวบรวมเรื่องอาหารพื้นบ้านประมาณสิงหา จากนั้นก็ทำเรื่องจิตใจได้แล้วค่ะลุงพี
สร
16 มิถุนายน, 2011 - 09:29
Permalink
พี่หยอย
สักวัน....สรจะเดินตามพี่หยอยบ้าง พี่หยอยมีข้อความถึงนะคะ
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
สร
16 มิถุนายน, 2011 - 09:26
Permalink
ลุงพี
ขอบคุณมากค่ะ...ยังจัดสรรเวลาไปศึกษาธรรมะ ไม่ได้เลย แต่อยากศึกษาแบบลึกซึ้ง เคยดูรายการที่ อ.สุจินต์บรรยายแล้วไม่ค่อยเข้าใจภาษาธรรมะ
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
เอ้
16 มิถุนายน, 2011 - 10:58
Permalink
สั้น ๆ
สั้น ๆ ตอนนี้คือกำลังทำใจให้สงบ
ปล่อยว่างเสียบ้าง คิดว่าไม่เป็นไร มองอะไรที่เป็นปัญหาผ่านไปบ้าง และ ให้อภัย
และเนื่องจากไม่เหลือเฟือไม่มีตังค์เหลือไปสร้างวิหาร เลยจัดการนำบทความไปเผยแพร่ต่อเป็นธรรมทาน อย่างน้อยวันนี้ก็ได้ทำบุญอะไรไปบ้าง
บ้านที่ปาย Pai forest home
paloo
16 มิถุนายน, 2011 - 10:59
Permalink
สาธุ
ขอบคุณ อย่างยิ่งต่อธรรมทาน ที่ลุงนำมาให้ ครับ
ครูพอเพียง
16 มิถุนายน, 2011 - 11:25
Permalink
ขอบคุณลุงพี
ทำให้หูตาสว่างขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ ความรู้สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใหม่ ๆ อย่างครูหนิง แต่ที่จัดการยากเหลือเกินคือ รู้ทันอารมณ์ตนเอง สติแส่ส่ายไปมาอยู่เรื่อย ต้องขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์
nusita_angel
16 มิถุนายน, 2011 - 11:25
Permalink
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ
เคยสัมผัสธรรมมะจริง ก็ตอนบวชเนกขัมมะที่วัดไทรงาม จ. สุพรรณบุรี ค่ะ ตอนนั้นชอบมากเลย ผู้คนก็ดี แต่พอเดี๋ยวนี้ห่างเกินไป รู้สึกว่าด้านไม่ดีในตัวเรากำลังกลับมาดีแล้ว :embarrassed: ก็หาโอกาสไปอยู่ ขอบคุณลุงพีที่เข้ามาเตือนสติอีกครั้งนะคะ :bye:
ย่าตอน
16 มิถุนายน, 2011 - 11:31
Permalink
คุณลุงพีคะ
อนุโมทนาสาธุค่ะ การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้วปวง และ ศีลคืออาภรณ์อันประเสริฐ
ขอบพระคุณค่ะ
หน้า