วัยทอง....วัยแห่งชีวิต

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วัยทอง...คืออะไร

วัยทองในผู้หญิง ก็คือวัยหมดประจำเดือนในอายุประมาณ 45-55 ปี โดยเฉลี่ยอายุ 49 ปี เมื่อถึงวัยนี้รังไข่จะหยุดทำงาน และไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่อีก ฮอร์โมนเพศนี้มีชื่อว่า เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโร จึงทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย



จะทราบได้อย่างไรว่าเริ่มเข้าสู่วัยนี้แล้ว

สตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีอาการผิดปกติต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ในตอนแรกควรจะสงสัยว่า เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว หรือสตรีที่แม้ไม่มีอาการอะไรเลย แต่ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันนาน 1 ปี ก็ถือว่า หมดประจำเดือนแน่นอน ในกรณีที่ต้องการทราบผลแน่ชัด สามารถทราบได้โดยการเจาะเลือดหาระดับฮอร์โมน เอสโตรเจน และระดับฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

อาการในวัยทอง

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
อาการร้อนวูบวาบ โดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอจะแดง เหนื่อยง่าย ใจสั่น มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน หรือบางคนมีอาการหนาวสั่น
ผิวหนังจะบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนัง หรือเหมือนมีมดไต่ หรือมดกัดตามผิวหนัง
เส้นผมจะหยาบแห้ง และบางลง หลุดร่วงได้ง่าย ไม่ดกดำเป็นเงางามเหมือนก่อน
มีอาการทางกล้ามเนื้อ และผิวหนัง ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองจะมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อและกระดูก
มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เร็ว เครียดง่าย หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนหลงลืมง่าย เวียนศีรษะ ซึมเศร้า

จะดูแลตนเองอย่างไรในวัยหมดประจำเดือน

อาหาร นอกจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว สตรีวัยทองควรจะเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับประทาน จะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูก เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนนอกจากนี้ ควรจะควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด โดยงดรับประทานอาหารที่มีโคลเลสเตอรอลสูง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ เป็นต้น
ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography) และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density)
ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน

การให้ฮอร์โมนทดแทนมีประโยชน์อย่างไร

การให้ฮอร์โมนทดแทน คือ การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ เพื่อชดเชยเอสโตรเจนที่ลดระดับลงไป จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากการหมดประจำเดือน

การให้ฮอร์โมนทดแทนมีผลเสียหรือไม่

นอกจากข้อดีของฮอร์โมนทดแทนแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือ ถ้าใช้เป็นระยะเวลานานๆ จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และอาจกลายเป็นมะเร็งได้ ถึงแม้ว่าจะพบน้อยก็ตาม ดังนั้นในสตรีที่ยังมีมดลูกอยู่ แพทย์จะให้ฮอร์โมนทดแทนในรูปแบบของเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสโตเจน ทั้งนี้เพราะ ฮอร์โมนโปรเจสโตเจนจะต้านฤทธิ์ของเอสโตรเจน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาตัว ส่วนเรื่องของมะเร็งเต้านมนั้น มีข้อขัดแย้งกันมากว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่ แต่ปัจจุบันผลการศึกษาวิจัยมีแนวโน้มว่า การให้ฮอร์โมนทดแทนไม่ทำให้อัตราการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม สตรีที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน ควรจะได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอจากแพทย์ ไม่ควรไปซื้อยาเอง เพื่อแพทย์จะได้ให้การวินิจฉัย และรักษาแต่เนิ่นๆ เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น

ที่มา : นพ. ชัชวาล ประดิษฐ์วงศ์สิน
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

ความเห็น

ขอบคุณค่ะ ที่นำเรื่องมีประโยชน์มาแบ่งปัน

ตะวันลาลับกับขอบฟ้าไกล  แล้วเริ่มต้นใหม่กับขอบฟ้ากว้าง ทุกชีวิตก้าวเดินบนหนทาง ที่ตนได้วาดวางอย่างตั้งใจ

 

ขอบคุณมากนะครับ ถึงแม้ไม่ได้เป็นผู้หญิงแต่ก็ได้ความรู้ครับ ขอบคุณมากครับ


ศึกษาไว้ก่อน วัยยังไม่ถึง

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ใช่มั๊ยค่ะ คุณครูใจดี

Laughingทำวันนี้ให้ดีที่สุด เวลาชีวิตน้อยลงทุกวัน

ผู้ชายวัยทองต้องอายุเท่าไหร่..ครับ(สงสัยตัวเอง)

เป็นทุกอย่างที่คุณครูใจดีบอกมาค่ะ


วิธีเยียวยา  :  วางใจให้เป็นกลาง   ผ่อนคลายด้วนการเล่นเวป บ้านสวนฯ เป็นประจำ 

ยังไม่เป็นค่ะ  เพี้ยงขอให้ไม่มีอาการอะไรนะ   กินปลากินอาหารที่เน้นผัก  อารมย์ดี   ป้าเล็กจะทำตัวเหมือนตัวเองเป็นสาวๆตลอดเลย 

เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ที่พบมานะคะ  เพื่อนๆของคนรู้จักที่รับฮอร์โมนจาก

โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเป็นมะเร็งเต้านมสิบกว่าคน(รับจากที่เดียวกัน)ตัดเรียบ!!

พี่สาวป้าเป็นเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ได้เป็นมะเร็งแต่หมอเห็นว่ามีบุตรพอแล้ว

ก็อยากให้ตัดออกเพื่อป้องกันมะเร็ง กรรมพันธุ์บ้านป้าเป็นร้อยปีไม่มีใครเป็น

มะเร็งมาก่อนเลย  แพทย์ทางนรีเวชต้องการให้รับฮอร์โมนโดยบอกว่า

....ไม่เชื่อหมอจะเชื่อใคร 

แต่พี่สาวทำงานเกี่ยวกับการแพทย์ก็เห็นมามาก  ไม่อยากรับฮอร์โมน

แพทย์ก็บอกว่าไม่ได้จะต้องกินตลอดไปไม่อย่างนั้นจะเป็นโรคโน้นนี้มากมาย

สองปีครึ่งต่อมาพี่สาวไปโรงพยาบาล  แพทย์คนนั้นถามว่ามาทำไม...

พี่สาวป้าตอบไปว่า  " เป็นมะเร็ง " และต่อมาก็เสียชีวิตลง

การรับฮอร์โมนเป็นการรักษาแบบตะวันตก   บ้านเขาไม่ค่อยมีแดด  ไม่ค่อยได้

กินอาหารแบบบ้านเรา  ทำให้เขามีปัญหามากเวลาวัยทอง

สำหรับป้าแล้วป้าเชื่อในธรรมชาติป้ากินอาหารแบบไทยๆเสริม C+Bบ้างก็เท่านั้น

ทานผักผลไม้น้ำเต้าหู้  มีอาการบ้างแต่สบายมาก  ไม่เคยหงุดหงิดเลย

ป้าผ่านจุดนั้นมา10กว่าปีแล้ว  จึงเชื่อว่าวิธีของป้าได้ผล

สำหรับป้าแล้วเชื่อในวิถีชีวิตแบบปู่ย่าตายายของเราเท่านั้น

แบ่งปันน้ำใจส่งต่อกันไป ....ไม่รู้จบ

ขอบคุณกับข้อมูลดีๆ นะคะ  :admire2:

ตกลงว่า เรากินให้ครบ 5 หมู่ ไม่ต้องกินฮอร์โมนเสริม ก็เพียงพอแล้ว ใช่ไหมคะ

.................

อุ๊ย...ต้องสำรวจแล้วล่ะว่าเรามีอาการอย่างที่บอกรึยัง.....ทองน่ะอยากได้ค่ะ  แต่วัยทองไม่อยากรับเลย....

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ