ความจริง ที่ ไม่ใช่ความจริง ...

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    "ประวัติ" = ความเป็นมา .... จึง = เรื่องที่เคยเกิดในอดีต

        ดังนั้น .... ข้าพเจ้า จึงเข้าใจเอาโดยตรรกะว่า ประวัติศาสตร์ = วิชาที่ว่าด้วย เรื่องที่เกิดขึ้นอดีต

    เรื่องในอดีต .... หากทำให้ปรากฏ  ทุกแง่ ทุกมุม ไม่ว่าจะโดย “จดเป็นลายลักษณ์” หรือ “จดจำ” ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อ วิถีปฏิบัติแห่งปัจจุบัน อันจะเป็นหนทางสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ หากจะกล่าวว่า เหตุในอดีต เป็นเสมือนหนึ่ง “ปริยัติกรรม” ที่อนุชนพึงเข้าไปศึกษา ให้รู้ เข้าใจ และนำไปปรับใช้ .... ถึงจะผิด ก็คงไม่ห่างไกลนัก

    แต่ .... น่าเสียดาย ที่ประวัติ ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ อย่างอัตตะประวัติ ที่เราเขียนขึ้นเอง หรือ ประวัติศาสตร์ ที่ถูกเขียนโดยใครก็ตาม ก็จะมี Partiality ให้กับตน หรือ ฝ่ายตนเสมอ คือ

    ถ้าผู้ชนะเป็นผู้เขียน เขาก็จะเก่งกาจ ซะไม่มี และเป็นฝ่ายถูก ที่ทำไปก็ด้วยจำเป็น สุดแต่จะยกเหตุผลมาอ้าง ส่วนใหญ่จะออกมาในรูป “เป็นผู้พิทักษ์คุณธรรม”  ... ฝ่ายคู่ต่อสู้ รึ สมควรที่จะได้รับการกระทำเช่นนั้น อย่างสาสม ... ความดีของอีกฝ่าย ถูกกลบฝัง ด้วยคำพูด หรือวิธีนำเสนอ ในรูปแบบที่หลากหลาย  ฮึ ๆ ๆ ....

        อย่างที่กล่าวกันว่า “ผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์” ไงครับ

    หากเขียนโดยผู้ปราชัย .... ก็จะออกมาในแนว ถูกรุกราน อย่างไม่เป็นธรรม .... พฤติการณ์ก้าวร้าว กดขี่ อันน่าขยะแขยงของผู้ชนะ ที่จะ Program สมองอนุชนให้จงชัง อีกฝ่าย ก็หาอ่าน หาดูได้ จากสื่อประวัติศาสตร์ ของฝ่ายนี้แหละ .... ความดีของอีกฝ่าย ก็ถูกกลบเกลื่อนด้วยวิธีเดียวกัน

    การเขียน ประวัติศาสตร์ ลักษณะดังกล่าว ไม่ต่างจาก การโฆษณา ที่เป็นการ “พูดความจริง ที่ ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด

    เอาเหอะ .... นั่นเป็นมุมของการเขียนประวัติศาสตร์ โดยใคร ๆ อื่นเขา

      ..... แต่การเขียน อัตตะประวัติ ของเรา โดยตัวเราเอง เราน่าจะเขียนให้ครบถ้วนทุกด้าน และไม่มี Bias

    จริง ๆ แล้ว เราไม่เคย “ไม่ประสบความสำเร็จ” เพียงแค่เราไปตั้งข้อจำกัดไว้ ว่า ต้องอย่างนี้ อย่างนั้น จึงจะเรียกว่าสำเร็จ ซึ่งในปรากฏการที่เราขนานนามว่า “ความล้มเหลว” มีสิ่งหนึ่งแฝงอยู่ด้วยเสมอ คือความสำเร็จที่ได้เรียนรู้ว่า วิธีการ หรือกระบวนการนั้น ๆ ไปสู่เป้าประสงค์ ได้ช้า หรือ ไม่ได้เลย

    ดังนั้น ... หากเราไม่ละเว้น หรือมองข้ามด้านหนึ่งด้านใด ของประสบการแห่งอดีต ก็จะเป็น “ปริยัติกรรม” ที่มีเราเขียนเอง เพื่อปฏิบัติเอง ให้ได้ถูกตรง โดยไม่ต้องเสียเวลา เดินอ้อม หรือหลงทาง .... ซึ่งหากความผิดพลาดจะเกิดขึ้นอีก .... ก็คงไม่ใช่ “ผิดที่ซ้ำซาก

     อัตตะประวัติ ของเราเองหากเราจารึกไว้ อย่างตรงไป ตรงมา ไม่สร้าง Partiality ให้แก่ตนเอง ไม่ว่าจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ ตราไว้ในดวงจิต .... ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้ตามควรล่ะ ... ชิมิ  ๆ .... ฮึ ๆ ๆ ....

ความเห็น

เห็นด้วยค่ะลุง  :dong:

""

 

คุณลุง ข้อความบล็อกนี้ ดีมากๆ อ่านแล้ว เห็นด้วยมากเลยครับ ไม่รู้จะตอบลุงอย่างไรเลยครับ อยากบอกว่าโดนใจ จริงๆ ^_^

ชอบคำนี้มาก    และรู้สึกว่าต้องใช้บ่อยๆ  ถามว่า  คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จมั้ย   อยู่ที่การตั้งเป้าหมายนะ ป้าเล็กหลงคิดหรือเปล่าไม่รู้แต่รู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จเกือบทุกอย่างในชีวิต

เรียนก็สำเร็จ 

งานก็สำเร็จ

ครอบครัวก็สำเร็จ

ลูกก็คิดว่าสำเร็จ

บ้าน รถ ที่ดิน  ก็สำเร็จ

งานเวลาว่างก็สำเร็จ 

ก็เลยคิดว่า  ความสำเร็จน่าจะอยู่ที่การตั้งเป้าหมาย

ลุงปาโล อีกอย่างที่เห็นเพิ่มค่ะ คือ หากได้เขียนประวัติตัวเองไว้ด้วย บางท่านอาจได้ไปเป็นต้นแบบให้ปฏิบัติตาม ส่วนตัวเองก็มีหลายครั้งนะคะ ที่เลือกบางตอนของประวัติบุคคลที่ศรัทธามาลองปฏิบัติบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ พอทำไปพบว่าเป็นเรื่องดี ๆ ก็หลายครั้งอยู่ค่ะ ขอบคุณนะคะลุงปาโล ในมุมมองของบันทึกวันนี้

คุณลุงปาโล  ประวัติศาสตร์มาจาก ข้อเท็จจริงค่ะ ซึ่งคงต้องมีทั้ง เท็จ และ จริง ฮ่า ๆ เอิ้ก เดือนก่อนได้โฉบ (ได้แค่โฉบจริง ๆ) ไปฟังการอบรม จิตตปัญญา ว่าด้วยการพูดความจริงกันมากขึ้น และท่านวิทยากรเห็นสนใจก็เลยจะมาจัดให้เป็นพิเศษ ในวันที่ 19-21 นี้ ผลเป็นประการใดจะนำมาเล่าสู่ค่ะ สงสัยจะได้เขียน อัตตะประวัติ ของเราเอง ในแบบที่คุณลุงว่าก็คราวนี้แหละ