สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
ภูมิปัญญา ในการรักษาแผลสด ของชาวสวนในอดีต ส่วนใหญ่ จะใช้สมุนไพรใกล้มือ ที่เป็นใบไม้ใบหญ้า ซึ่งปัจจุบันกำลังจะถูกลืม แล้วหันไปใช้ยาแผนปัจจุบัน กันมากขึ้น
สุมนไพรใกล้มือ มีข้อดีอยู่ไม่น้อย เช่น ไม่ต้องซื้อหา ... คว้ามาใช้ได้ทันท่วงที ที่เกิดบาดแผล ... ส่วนใหญ่ไม่ปรากฏผลข้างเคียงจากการใช้
บล็อกนี้ จึงใคร่นำเสนอ ใบไม้สมานแผล ชนิดหนึ่ง ในหลาย ๆ ชนิด ... ข้าพเจ้าเองสมัยเด็ก ๆ เมื่อเกิดบาดแผลจากเหตุความซุกซน ก็อาศัยใบไม้ ใบหญ้า พวกนี้แหละ โปะ ๆ ไว้ แล้วซนต่อ แผลหายเร็วครับ ขอ Guarantee
ที่ใช้บ่อย ก็คือ ต้นนี้ครับ .... สาบเสือไงครับ
ทางใต้ มีชื่อเรียกขานหลากหลาย กันไป สุดแต่ว่า เป็นท้องถิ่นใด เช่น ยี่หร่า, ยี่โหร่, ผักคราด ...
ทางเหนือ เรียก แมงวาย
ส่วนที่ใช้ คือใบ
วิธีใช้ ก็ง่าย ๆ ... พอเกิดบาดแผล ที่ไม่ใช่แผลฉกรรจ์ ก็รูดเอาใบมาขยี้กับปูนกินหมาก ซึ่งในอดีตหาง่าย เพราะส่วนใหญ่นิยมกินหมาก แต่หากไม่มีปูน ก็ใช้น้ำบ่อน้อย แทน ... ฮึ ๆ ๆ ... ก็น้ำลายนี่แหละครับ ถุยใสอุ้งมือ แล้วขยี้ จนเกิดฟอง เอาน้ำทา ... กากไม่ต้องทิ้ง พอกลงบนแผลนั่นแหละ
สรรพคุณ ช่วยห้ามเลือด สมานแผลให้หายเร็วขึ้น ป้องกันการติดเชื้อไม่เป็นหนอง
พืชอีกชนิดหนึ่ง ที่สรรพคุณเหมือนกับ สาบเสือ แต่ล้มหายตายจาก ไปด้วยน้ำยาฆ่าหญ้า จนไม่พบเห็นในปัจจุบัน ข้าเจ้าจึงหาภาพมาให้ดูไม่ได้ ต้องขออภัยครับ พืชที่ว่า คือหญ้าเขี้ยวงู เป็นเถาไม้เลื้อย มีหนามเล็ก ๆ ตามข้อใบ ลักษณะใบคล้ายย่านาง แต่กินไม่ได้ นะขอรับ เพราะรสเบื่อเมา คนไม่คุ้นเคยอาจหลงผิดว่าย่านางก็ได้ แต่หากสังเกตจะเห็นความต่าง คือ ใบเขี้ยวงู ใบแคบกว่า ยาวกว่า ปลายใบแหลมกว่า ครับ
... อ้อ .... ลืมบอกไป ว่า ในอดีต “ต้นยี่หร่า” นี่ใช้เป็นยาแก้เด็ก “พาโล” (ดื้อ) ได้ชะงัดนัก ข้าพเจ้าต้องรับประทานยาขนานนี้ บ่อย .... ฮุ ๆ ๆ ๆ ......
ทราบอย่างนี้แล้ว ยังเห็นว่า ใบไม้เหล่านี้ เป็นวัชพืช อยู่อีกไหมครับ
- บล็อกของ paloo
- อ่าน 20331 ครั้ง
ความเห็น
แจ้ว
15 กันยายน, 2011 - 10:29
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
เป็นวัชพืชอยู่ค่ะลุง มันมีมากเกิน....อิอิ....ในร่องยาง....
:uhuhuh:
paloo
15 กันยายน, 2011 - 10:37
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
ลุงกำลังเอามาลองผิดลองถูก โดยลองทำน้ำหมักไล่แมลง เพราะเท่าที่สังเกต ไม่ค่อยเห็นมีศัตรูกินใบเขา แต่ยังไม่สรุปผล นะครับ
kheatti74
15 กันยายน, 2011 - 10:34
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
ต้นเดียวพอรับได้ครับ แต่พอมันออกดอก ปลิวขึ้นเป็นดงเอาไม่อยู่จริงๆครับ รู้ไว้ก็มีประโยขน์ครับ
ถ้าเดินเรื่อยไป ย่อมถึงปลายทาง
paloo
15 กันยายน, 2011 - 10:55
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
ก็ยังควบคุมง่ายกว่าหญ้าคาครับ อีกอย่างพวกนี้ ไม่ชอบร่มเงา พอเจอเข้าจะค่อย ๆ หายไปเอง
แต่นำเสนอ ให้ทราบว่าเขาใช้รักษาแผลสดไ้ด้ ในเชิงการปฐมพยาบาล
แม่ใบตอง
15 กันยายน, 2011 - 10:36
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
เพิ่งรู้ว่าสาบเสือกับยี่หร่า คือต้นเดียวกัน สรรพคุณมีเยอะกว่าที่รู้อีกนะคะ
อ้อ ใช่ยี่หร่าที่เอามาผัดหรือเปล่าคะ
paloo
15 กันยายน, 2011 - 10:46
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
อ๊ะ ๆ ๆ ... อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นยี่หร่า ที่นำมาแต่งกลิ่นอาหารนะครับ ... ขืนเอาไปใส่ ได้เททิ้งทั้งหม้อแหละ เหม็นเขียวครับ
ยี่หร่า แต่งกลิ่นทางใต้ ส่วนใหญ่ เรียก "ใบรา" แต่เจ้าสาบเสือ หรือยี่หร่าที่นำเสนอนี่แต่ละที่เรียกไม่เหมือนกัน ที่สุราษฎร์ฯ จังหวัดเดียวยังเรียกไม่เหมือนกัน
แม่ใบตอง
15 กันยายน, 2011 - 10:56
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
เกือบไปแล้วคะลุง...เพราะข้างบ้านเค้าปลูกต้นยี่หร่าที่เอาไปผัดไว้ ตอนนี้เห็นต้นสาบเสือแบบนี้ขึ้นที่บ้าน นึกว่าอย่างเดียวกัน อ่านบล็อกลุงเสร็จ ...กะว่ากลับไปเย็นนี้จะเด็ดใบไปเทียบแล้วดมกลิ่นดูซะหน่อย
ถ้าต้นนี้เรียกสาบเสือ งั้นก็เป็นต้นที่เคยเห็นแน่ ๆ ที่บ้านเก่าก็เคยมีต้นสาบเสือแบบนี้ขึ้น เคยเก็บไว้ให้โตไม่รู้ว่าต้นอะไร ใบสวยดี จนต้นใหญ่มีดอกปลิวด้วย เลยถอนทิ้ง ตั้งแต่นั้นมาเจอทีไรก็ถอนทุกทีคะ
white
15 กันยายน, 2011 - 10:36
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
ที่บ้านมีกาลุยเหม็ด เรียกว่า ซัปปลุก
--------
twitoon[at]gmail[dot]com
paloo
15 กันยายน, 2011 - 10:52
Permalink
Re: สมานแผลสด ด้วยใบไม้ที่ถูกลืม
ขอบคุณครับ ที่ช่วยทำให้ข้อมูลสมบูรณ์ขึ้น
อาจเป็นเพราะ การขยายเผ่าพันธุ์เร็ว พอแผ้วถาง ต้นที่ขึ้นใหม่ จะรีบออกอดก พอตัดซ้ำ เมล็ดที่สุก หรือแก่ ก็จะแพร่พันธุ์เพิ่ม เลยถุกเรียกขาน ว่า สับรุก คือยิ่งสับ ยิ่งรุก
lekonshore
15 กันยายน, 2011 - 11:00
Permalink
Re: ลุงพะโล้ ใช้ได้จริง ๆ หรือค่ะ โห
บ้านเล็กเรียกต้น ฉับพรุก เต็มไปหมดเลยค่ะหลังบ้าน
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
หน้า