บันทึกพอเพียง ตอนที่ 1 .......วัยเด็ก
โหยหาชนบท ลูกชาวนา จาก จ.ปราจีนบุรี ลืมตาดูโลกขึ้นมา ซึ่งในตอนนั้นกระแสเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่เป็นที่รู้จักกัน
ในวงกว้างนัก แต่สำหรับผมรู้สึกเหมือนมันหยั่งรากฝังลึกและถูกปลูกฝังให้รู้จักความพอเพียงมาพร้อมๆ กับเกษตรกรรมมาตั้งแต่เด็ก
ในอดีตพ่อแม่ผมเป็นเพียงชาวนาธรรมดาๆ อีกครอบครัวหนึ่ง เช้าตื่นมาออกไปทำนา พ่อหาบข้าวของพะรุงพะรังขึ้นบ่า ส่วนเเม่เอาผมขึ้นเอว
เดินไปตามคันนาที่เดินผ่านไปมาทุกวันบนเส้นทางเดิม พอถึงนา แม่ปูผ้า ให้ผมนอนใต้ต้นตาลเล็กๆ ที่พอหลบน้ำค้างยามรุ่งสาง ส่วนพ่อกับแม่ก็ไถคราดนา
ด้วยไอ้ทุยี่ขาคู่ทุกข์คู่ยากที่ผมเองอยากเป็นแบบมันซะเหลือเกิน(เคยฝันอยากเป็นควาย) โดยเอาเชือกมาผูกคอและคลานสี่ขาเล่นในนาข้าว
วันไหนมีรถนวดข้าวมาก็จะสนุกเพิ่มขึ้นอีก เพราะจะได้เล่นกองฟางข้าวเท่าภูเขา วิถีชีวิตวนเวียนอยู่อย่างนั้นจนผมโต ผมเข้าโรงเรียนแม่จึงค่อย
หมดภาระจากผม หลังหุงหาอาหารและส่งผมไปโรงเรียนวัดประจำหมู่บ้าน แม่จึงค่อยนำข้าวมื้อเช้าไปส่งพ่อ ที่ออกไปทำนาแต่รุ่งสางก่อนไก่ขัน
พอถึงวันเสาร์ อาทิตย์ แม่จะปล่อยผมอยู่บ้านกับพี่ชายทำงานบ้านและช่วยกันเหลา เกลาตา แขนงไม้ไผ่ที่จะใช้ใช้ทำด้ามไม้กวาด กวาดหยากไย่
ซึ่งแม่จะถักไม้กวาดในตอนกลางคืนเพื่อส่งขายเป็นรายได้อีกทาง ชีวิตเราวนเวียนกันอยู่แบบนี้ ตามประสาครอบครัวชาวนา จะว่ารวยก็คงไม่ใช่แน่ๆ
จะว่าจนก็ไม่เชิงเพราะบ้านเรารู้จักใช้ กินอยู่ง่าย ปลุกผักกินเอง ผักปลาหาได้ตามหนองบึง ไม่อยากได้อยากมีในสิ่งที่เกินตัว พ่อแม่จะหัดให้เรา
ทำงานบ้านทุกอย่างแต่เล็กๆ ให้หัดช่วยตัวเองได้ กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้าของตัวเอง (จนป่านนี้บ้านเราก็ยังไม่ซื้อเครื่องซักผ้า) พวกเราถูกปลูกฝัง
ให้รู้จักพอเพียงมาตั้งแต่เล็กโดยที่ผมเองก็ไม่รู้ตัว แต่มันก็ได้ติดตัวเรามาใช้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งผมเข้าใจแล้วว่ามันมีประโยชน์ผมมากๆ ในแง่ของการดำเนินชีวิต
ที่สอดคล้องกับหลักความเป็นมนุษย์ที่สุดในความหมายของผม นั่นคือการรู้จักใช้ชีวิตแต่พอประมาณ ไม่สุดโต่งจนเกินตัว ขอบคุณเรื่องราวในวันนั้นที่ทำให้ผมมีวันนี้
ขอบคุณครับ
เดี๋ยวจะมาต่อตอนที่ 2 .....วัยประถม นะครับ
โหยหาชนบท
- บล็อกของ โหยหาชนบท
- อ่าน 5862 ครั้ง
ความเห็น
โหยหาชนบท
8 เมษายน, 2010 - 23:31
Permalink
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ สำหรับคำชม ถ้าบล็อคของผมสามารถสร้างรอยยิ้มและความสุขให้ผู้อ่านได้
รู้สึกเป็นเกียรติที่จะได้รับใช้ต่อไปครับ
...วิถีชีวิตแห่งเกษตรกรรมที่สมบูรณ์ จะหล่อเลี้ยงบุคคลทั้งร่างกายและวิญญาณ เป็นหนทางไปสู่ความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์...
หน้า