กสิกรรมปิฎก
ก่อนอื่นใด ทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งปวง ทั้งเหม็ด ข้าพเจ้าต้องขออภัยอย่างยิ่งที่ ต้องเอ่ยถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ซึงในห้วงเวลาหลัง ๆ นี้ ข้าพเจ้านำมาอ้างอิงบ่อย จนน่าเบื่อ... เกริ่นมาขนาดนี้ หลาย ๆ ท่านส่วนใหญ่ก็ร้องในใจ และคงมีบางส่วนพึมพำสำเนียง เบา ๆ ที่จับความได้ว่า
..... “เออ .... ‘ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง’ ... อีกละซี”
ซึ่งข้าพเจ้า ก็จะค้อมศีรษะแสดงอากัปยอมรับโดยดุษณี พร้อม เอ่ยอย่างหนักแน่นว่า “ถูกต้องนะ คราาาา...บ”
ก็สืบเนื่องจากที่ได้ไปเข้ารับการอบรม เมื่อวันก่อนนั่นแหละครับ ...
วันสุดท้ายของการอบรม เพื่อน ๆ (ตอนนั้นเป็นพื่อนกัน อายุยังถูกขังอยู่ในหม้อ ที่มียันต์ผนึกปากไว้) สมช. ที่เข้ารับการ อบรม และ ทางศูนย์ฯ ร่วมกันแสดงมุทิตาจิต เนื่องในโอกาสคล้ายวันเกิด ของข้าพเจ้า ... มิตรภาพอันบริสุทธิ์ที่หยิบยื่นมาในวันนั้น สร้างความตื้นตัน ให้บังเกิดแก่ข้าพเจ้า จนน้ำตาแทบไหล ... ซึ่งจะตราไว้ในดวงจิต เพื่อเป็นพลังในการสร้างประโยชน์ให้แก่บ้านสวนของเรา ตามศักย์ภาพที่มี
หนึ่งในของขวัญที่ได้รับ นอกจากมิตรภาพที่ล้ำค่าจาก สมช. ที่เพิ่งเจอกันไม่ถึง 3 วัน ... แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ยังประโยชน์ได้ไม่น้อย คือ
หนังสือ เล่มนี้ครับผม พิมพ์หน้าปกไว้ว่า
“องค์ความรู้และภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ... ภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ... โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
เนื้อหาภายใน บันทึกความสำเร็จจากการทดลอง และกระบวนการที่ไปให้ถึงความสำเร็จนั้น จัดหมวดหมู่ ไว้ 9 บท ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ อาทิ :-
บทที่ 1 ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน รวบรวมเนื้อหาไว้ 9 เรื่อง
บทที่ 2 การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมเนื้อหาไว้ 30 กิจกรรม
บทที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภาพ รวบรวมกระบวนการผลิตไว้ 14 สูตร
บทที่ 4 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร รวบรวมกระบวนการผลิตไว้ 20 ผลิตภัณฑ์
บทที่ 5 เครื่องอุปโภคในครัวเรือน รวบรวมกระบวนการผลิตไว้ 6 ผลิตภัณฑ์
บทที่ 6 พลังงานทดแทน รวบรวมวิธีการสร้างไว้ 7 ชนิด
บทที่ 7 สมุนไพรไทย รวบรวมเนื้อหา 5 เรื่อง
บทที่ 8 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม รวบรวมเนื้อหา 5 เรื่อง
บทที่ 9 องค์ความรู้อื่น ๆ รวบรวมเนื้อหา 7 เรื่อง
ทั้งหมด ทั้งสิ้นเหล่านั้น มีบางเรื่องที่ข้าพเจ้าเปิดอ่านไปบ้างแล้ว ... ขณะอ่านบังเกิดเเว๊บหนึ่ง แห่งสำนึกบอกว่า ..... หนังสือฉบับนี้ บันทึกรวบรวมแนวทางปฏิบัติกิจกรรม ทางกสิกรรม ประหนึ่ง “ปิฎก” ....
แล้ว ประกายสำนึกนั้น ... ลุกลามความคิด ออกเป็นแสงสว่างให้มองเห็นว่า ศักดิ์ และสิทธิ์ แห่ง “ปิฎก” มิใช่อยู่ที่เก็บไว้ชื่นชม .... หรือ อ่านให้จำ ไว้เจรจาโอ้อวด หรือสอนใคร ๆ เพื่อยกหูชูหาง ... หรือด้วยหลงผิดว่าศักดิ์สิทธ์บันดาน อะไรต่อมิอะไรให้สำเร็จได้ ด้วยการท่องบ่น กราบไหว้ ....
... แต่ ศักดิ์ และสิทธิ์ แห่ง “ปิฎก” อยู่ที่เอามาอ่าน - ประมวลสาระ เพื่อค้นหาหลัก แล้วลงมือปฏิบัติ ตามแนวที่กล่าวไว้ใน “ปิฎก” ... ให้รู้แจ้ง เห็นจริง ด้วยตนเอง
ข้าพเจ้า จึงตั้งใจว่า จะปฏิบัติ ตามแนวที่ปรากฏใน “ปิฎก” เล่มนี้
อานิสงส์ ที่ปฏิบัติตามวิถีนี้ ... หากความสำเร็จพึงมี พึงเกิด ... จะได้บอกให้คนอื่นเข้ามาลองบ้าง ...
... มิได้คิดตั้งตนเป็นพหูสูต แต่จะพิจารณาศึกษาเท่าที่เห็นว่ายังประโยชน์และจำเป็น ...ให้สมความตั้งใจของผู้มอบ
“ปิฎก” ฉบับนี้ .... ข้าพเจ้า ตั้งใจเรียกขานว่า “กสิกรรมปิฎก”
- บล็อกของ paloo
- อ่าน 2674 ครั้ง
ความเห็น
พุทธบุตร
23 ตุลาคม, 2011 - 11:10
Permalink
Re: กสิกรรมปิฎก
คุณลุง อารมณ์ดี ร่าเริง ทรงภูิมิรู้
มีองค์ความรู้เคลื่อนที่
อยู่ใกล้คุณลุง รู้สึกเหมือนตัวเองมีความรู้เพิ่มขึ้น
แต่จริงๆ .............. เหมือนเดิม
คุยกับลุงเ้รื่องอะไร เหมือนได้เติมความรู้เรื่องนั้น
ขอบคุณครับ ลุงพาโล
เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
paloo
23 ตุลาคม, 2011 - 15:21
Permalink
แค่ ... หางอึ่ง
ลุงรู้ ... "แค่หางอึ่ง" .. เท่านั้น
แล้วความรู้แค่นี้ จะไปเติมให้คนอื่นได้ไง? แค่ใช้เองยังจะเอาเอาตัวให้รอด ได้หรือไม่ก็ไม่ทราบ
จึงได้แต่กระตุ้นให้คนที่ รู้ดีกว่าเรา และกักตุนความรู้ไว้เยอะ ๆ นำมาใช้เพื่อยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน บ้าง .... ดีกว่า
.... ล้นทิ้งไป เสียดาย ... ก็ตามประสาคนขี้ชิด(ขี้เหนียว)แหละ
เจ้โส
23 ตุลาคม, 2011 - 19:54
Permalink
Re: กสิกรรมปิฎก
อ่านแล้ว 2 รอบ กำลังจะอ่านรอบที่ 3 ค่ะ ลุง
garden_art1139@hotmail.com
สาวน้อย
23 ตุลาคม, 2011 - 21:12
Permalink
Re: กสิกรรมปิฎก
ขอบคุณความรู้ดีที่ลุงได้แบ่งปันมาให้ค่ะ
ชีวืตที่เพียงพอ..
หนุ่มชาวสวน
23 ตุลาคม, 2011 - 21:19
Permalink
Re: กสิกรรมปิฎก
ขอบคุณครับคุณลุงที่นำความรู้มาแบ่งปันครับ
RUT2518
25 ตุลาคม, 2011 - 06:35
Permalink
Re: กสิกรรมปิฎก
ขอบคุณครับลุง