บันได ๙ ขั้นสู่ความพอเพียง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

บันได  ๙  ขั้นสู่ความพอเพียง


                ในสมรภูมิรบ  นักรบไม่เพียงแต่ต้องมียุทธศาสตร์การรบ มีการจัดกำลังทัพ  หากแต่ยังต้องมียุทธวิธี และกลยุทธ์ในการรบ  หาไม่การรบคงจะประสบชัยชนะได้ยากในสมรภูมิรบกับ นักล่าทุนนิยมเสรีนี้เราใช้เศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวเป็นยุทธศาสตร์ จัดกำลังทัพด้วยเบญจภาคี  และได้สร้างกลยุทธ์ในการรบด้วยแนวคิด บันได  ๙  ขั้น


๔ขั้นแรก คือขั้นพื้นฐาน ๔ พอ  พออยู่  พอกิน  พอใช้  พอมีอากาศหายใจร่มเย็นสบาย  สภาพแวดล้อมน่าอยู่  เป็นพื้นฐานปัจจัยในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ


พอที่ ๕ คือ การดำรงอยู่ของธรรมชาติฝ่ายสูงของมนุษย์ด้วยการทำ “บุญ” ความเจริญก้าวหน้าของพวกเราจึงไม่ได้วัดด้วย GDP ที่เป็นตัวเงิน แต่เป็น บุญ  ที่ปฏิบัติต่อผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์องคเจ้า รวมถึงพระเจ้าแผ่นดิน บรรพบุรุษทุกผู้ทุกนามที่ได้ร่วมสร้างแผ่นดินเกิดนี้มา


พอในขั้นที่ ๖  คือทาน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ คนเจ็บ คนป่วย คนพิการ   เด็ก  รวมทั้งธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม


ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม  มีศักยภาพในการผลิตอาหารอย่างพอเพียง หล่อเลี้ยงคนของตนเอง  เมื่อมีพอแล้ว  การแบ่งปันไปยังประเทศอื่นที่ยังขาดแคลนด้วยการให้  มิใช่ขาย  จะยังประโยชน์ให้เกิดมิตรประเทศมากมาย  เหมือนเพื่อนบ้านที่เอื้อเฟื้อต่อกัน  อยู่กันด้วย มิตรจิตมิตรใจ  สิ่งหนึ่งที่พระเจ้าอยู่หัวย้ำตลอดเวลา  คือ “ทานมีฤทธิ์” การให้จะสะท้อนสิ่งดีๆ กลับมาให้กับ “ผู้ให้”  เสมอ   และการให้ยังก่อให้เกิด  “วงจรดี”  ที่ ผู้ได้รับจะส่งต่อการให้ไปยังผู้อื่นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ซึ่งจะยังให้เกิดความสงบสุข  ร่มเย็น  แทนการแย่งชิง


พอในขั้นที่ ๗  คือ รู้จักเก็บ  แปรรูป  สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น  การแปรรูปอาหาร  การเก็บรักษาสมุนไพรแห้งมาเป็นยา  การรู้จักคิดค้นเครื่องมือ อุปกรณ์สร้างสรรค์เทคโนโลยีต่างๆ นี่คือ ความพอเพียงขั้นที่ ๗


ในขั้นที่ ๘  “เมืองใดไม่มีพาณิชย์เลิศ  เมืองนั้นย่อมเกิดขัดสน” เมื่อมีของเหลือกิน  เหลือใช้ หลังจากที่ทำบุญ  แจกจ่ายเป็นทาน เก็บสะสมไว้ในยามจำเป็นแล้ว จึง “ขาย” การค้า  การพาณิชย์  การบัญชี  เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง  เพียงแต่ไม่ใช่ขั้นแรก  ประเทศจำเป็นต้องมีการค้า  เราสนับสนุนให้มีการค้า แต่ถ้าพื้นฐาน ๗ ขั้น ยังไม่แข็งแรง การมุ่งแต่การค้าก็เป็นความประมาท  ถ้าเรามีอยู่  มีกิน  มีใช้  เป็นคนมีน้ำใจต่อญาติพี่น้อง ทำบุญทำทาน  ไม่เห็นแก่ตัว  แม้ไปทำการค้าแล้วเจ๊งกลับมา ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงก็โอบอุ้ม  ยังมีของกินของใช้เหลือเฟือ ทำการค้าขาดทุนมาก็ไม่เดือดร้อนเพราะ  ฐานมั่นคง  มีภูมิคุ้มกัน  นี่คือความหมายของความเจริญจนขั้นทำการค้าได้


ขั้นที่ ๙ คือ กองกำลังเกษตรโยธิน คือหมู่คนที่กำลังดำเนินชีวิตตามบันได  สู่ความพอเพียง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม  สิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง  เมื่อปฏิบัติมาก ๆ เป็นหมู่เป็นกลุ่มจะเป็นพลัง ผลักดันให้คนอื่นเอาอย่าง ปัจจุบันในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ  เรามีสังคมในรูปแบบที่กล่าวมาตามระดับขั้นต่างๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศในรูปแบบศูนย์เรียนรู้กว่า ๕๐ ศูนย์  เป็นชุมชนในระดับ ๑๐ ครอบครัว แต่เราอยากเห็นการรวมกันสัก ๑,๐๐๐ ครอบครัว เป็นตำบลที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแบบเครือข่ายพวกเรา ความพยายามนี้กำลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างที่จังหวัดชุมพร และนครนายก เราต้องการสร้างสังคม เพราะสังคมดีไม่มีขายอยากได้ต้องช่วยกันสร้าง และเป็นเครื่องยืนยันว่า “ที่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงต้องไปอยู่หลังเขา  ไปอยู่ท้องไร่ท้องนานั้นไม่จริง  ปรัชญานี้ท่านไม่ได้ให้ไว้เพื่อการนั้น  แท้ที่จริงท่านพระราชทานไว้สำหรับการสร้างสังคมใหม่ด้วยซ้ำไป”


บทสรุปสุดท้าย


การต่อสู้กับนักรบใหม่  ในสมรภูมิเก่าต้องจับดาบความรู้  ถือเกราะคุณธรรม  เดินตามยุทธศาสตร์พอเพียงจึงจะชนะ


 


 


(จากหนังสือจุดเปลี่ยน โดย ดร.วิวัฒน์  ศัลยกำธร)

ความเห็น

:cute: ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน

ขอบคุณค่ะที่นำแนวคิดและแนวทางมาแบ่งปัน

แรงกาย+แรงใจ ลงมือทำในวันนี้ เพื่อชีวิตที่พอเพียง

อ่านแล้วกระจ่างขึ้นมาเลยครับ

ขอขอบคุณ

จะกลับมาอ่านอีกหลายๆรอบ

.. ขอบคุณมากครับ ..


 


:admire2:


ปล. กระทู้แรกของสมาชิกใหม่(สมัครวันนี้)

:admire: เข้ามาอ่านครับ


เก็บเป็นแนวคิดนำไปประยุกใช้

หน้า