กลไกการงอกของเมล็ดตาล

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 มีใครเคยสังเกตการงอกของเมล็ดตาลบ้างไหม?

ผมเก็บลูกตาลสุกมาจากหาดดงตาล หน้าฐานทัพเรือสัตหีบ ว่าจะเอามาเพาะเพื่อปลูกที่ที่ตัวเอง เพราะชอบต้นตาลมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะเมื่อสมัยก่อนหลังบ้านเก่าเต็มไปด้วยต้นตาลโตนด เอามาเพาะโดยที่ไม่มีความรู้ว่าเมล็ดตาลงอกอย่างไร รากยาวแค่ไหน งอกเป็นต้นอย่างไร ก็เลยเป็นอย่างในรูป เพาะในถุงเพาะชำธรรมดา ภาษาอีสานต้องบออกว่า "ฮ่วย เพาะไปได้จั๋งได๋ ตาลเพาะในถุงเพาะชำ" ก็เพาะไปแล้วจะให้ทำยังไง ที่เห็นน่ะไม่ได้ตะแคงรูปหรอกนะ แต่เป็นเพราะถุงล้ม เมล็ดตาลหลุดออกมานอกถุง รากที่งอกออกมาก็ทำตามกฎธรรมชาติคือแทงลงดินตามปกติ

เช่นเดียวกับเมล็ดนี้ ที่งอกแล้วระยะหนึ่งแล้วผมจับย้ายที่ โดยยังไม่ได้จับใส่ถุงเพาะชำ วางทิ้งไว้เฉยๆ จนลืม ปลายรากก็เลยทิ่มลงดินตามธรรมชาติ

เกี่ยวกับกลไกการงอกของตาล เคยมีคนบอกไว้ว่าต้นอ่อน (embryo) ของตาลจะอยู่ที่ปลายราก เมื่อเมล็ดตาลงอก รากจะหยั่งลึกลงในดินประมาณ 1 เมตร แล้วต้นอ่อนจึงจะแทงขึ้นมาเหนือผิวดิน ซึ่งเป็นกลไกที่น่าทึ่งมาก การที่ตาลหยั่งรากลึกลงไปในดินถึง 1 เมตร ก่อนที่จะแทงยอดออกมาจากปลายรากเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาเพื่อการอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์ตาลมิให้สูญพันธุ์ไปง่ายๆ เพราะในดินลึกในระดับนั้นย่ิอมมีความชื้นเพียงพอที่ต้นกล้าตาลจะเจริญเติบโตจนเป็นต้นใหญ่ต่อไปได้ ผมรู้เรื่องราวนี้จากคอมเม้นในบล็อกของคุณหยอยเกี่ยวกับต้นตาล ส่วนผู้ที่ให้ความเห็นนี้ผมจำไม่ได้(ขออภัย) พอดีผมเพาะตาลไว้ด้วยจึงได้โอกาสพิสูจน์ในเรื่ิองนี้

นี่คือข้อพิสูจน์ ว่าต้นอ่อนตาล(Embryo)อยู่ที่ปลายราก ด้านนี้คือด้านปลายที่เริ่มเห็นต้นนอ่อนแทงสวนขึ้นมาจากด้านล่างที่หยั่งลึกลงในดิน

ดูตรงๆ ชัดๆ เห็นก้านใบตาลชัดเจน แต่ยังไม่เห็นใบ

ยังมีพืชชนิดอื่น ที่มีต้นอ่อนอยู่ที่ปลายรากเหมือนตาล ในรูปคือลูกของต้นรัง ที่กำลังงอก ลูกต้นรังก็มีกลไกในการงอกที่น่าอัศจรรย์เช่นกัน คือ ลูกที่หล่นอยู่กับพื้นได้ระยะหนึ่งก็จะมีรากงอกออกมาโดยไม่ต้องมีดินกลบ โดยรากจะพยายาม คืบคลานไปหาดินเอง เมื่อเจอพื้นดิน รากจะหยั่งลงสู่เบื้องล่างทันที

สังเกตให้ดีจะเห็นต้นอ่อนของรัง อยู่ที่ปลายรากที่กำลังงอกยาวออกมาจากผล นี่แหละธรรมชาติที่น่าพิศวง 

ความเห็น

ลุงโรส ช่างสังเกตและจดจำจริง ๆ ธนนันท์ก็ชอบกินลูกตาลอ่อน ๆ ชอบมาก บางครั้งกินจนอืดท้อง แต่ไม่เคยคิดเก็บมาเพาะ เพราะรู้สึกว่าต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะเห็นลูก ตาลสุก ที่เขาเอามาทำขนมตาลก็ชอบค่ะ หอมดี

ความพิศวงของธรรมชาติยังมีอีกมากเลยนะคะ ในเรื่องที่เรายังไม่เคยทราบ เราต้องค้นหาจริงมั๊ยค่ะ ....ต้องตามไปดูค่ะ :confused:

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 


ได้ความรู้ใหม่ๆอีกแล้ว ขอบคุณมากครับ :cute2:

ปลูกต้นตาลที่สวนใช้วางไว้ที่จะปลูกเลยค่ะ เพราะเห็นเค้าว่ารากลึกและยาวมาก


 

 ใช่ครับ นี่ผมต้องไปหาลูกตาลสุกมาเพาะใหม่ เพราะที่เพาะไว้แล้วคงขุดไม่ได้ เพราะรากลึกมากอย่างที่บอก

ตอนที่ยังเขียนอยู่ที่ G2K เคยอ่านวิธีการเพาะลูกตาลของสมาชิกท่านหนึ่ง เขาแนะนำว่า ให้แช่น้ำไว้สักอาทิตย์หนึ่งแล้วเอามาวางบนพื้น และใช้กระสอบปิดไว้อีกสัก เดือนนึง แล้วค่อยเอาไปฝังดิน ผมหาลูกตาลได้จากแม่ค้าขนมตาลก็ลองทำตาม แล้วก็ลืมไป หายไปนานเป็นเดือนๆ ตอนหลังมาพบว่า มีใบตาลงอกขึ้นมาจากที่ผมวางลูกตาลเอาไว้ ต่อมาเอาใหม่ หลังจากที่แช่น้ำไว้ครบอาทิตย์แล้ว ผมก็เอาไปฝังดิน บริเวณที่จะปลูก ก็พบว่า มีใบตาลโผล่ขึ้นมาครับ แต่ว่าใช้เวลานานมาก น่าจะเกือบปีนึงครับ

ต่อมาเจอชาวสวนใกล้ๆบ้าน เขาเห็นผมเก็บลูกตาลมาปลูก เขาก็แนะว่า ต้นตาล มีต้นตัวผู้และตัวเมีย ถ้าต้องการให้เป็นต้นตัวผู้ ให้จับลูกตาลนอนคว่ำ ส่วนต้นตัวเมียคงไม่ต้องบอกว่าวางอย่างไร กว่าจะรู้ผล อีก 25 ปี ไม่ทราบว่าจะพอหรือไม่

ข้อสังเกตุ ต้นตาลเมืองไทย กับอินเดีย ต้นตาลเมืองไทย กาบใบจะติดอยู่ที่ต้น แต่ต้นตาลที่อินเดีย ต้นโล่งเตียนเหมือนต้นมะพร้าว

คืนนี้ต้องคอยระวังน้ำจะเข้าในบ้าน หลังขนำน้ำผุดขึ้นมาปริ่มๆ หน้าบ้านเต็มถนน ในรอบ ๖ ปีที่อยู่บ้านเพิ่งจะเจอปีนี้แหละ 


เรื่องเม็ดตาล ถ้ามันงอกขึ้นมาแล้ว ชาวบ้านบอกว่าฆ่าอย่างไรก็ไม่ตาย 555 ถึงบางอ้อแล้วแม่นบ่ แล้วจะรีบส่งให้มีเป็นตันๆที่รำแดง พื้นที่ทำงานในช่วงนี้จ้า ไม่ลำบากอะไรเลย 

เพิ่งจะทราบว่า ลูกตาลใช้เวลาเพาะนานขนาดนี้ ที่กรุงเทพฯ มีชาวบ้านมาขายเยอะเลยค่ะ ตอนนั้นก็ไม่ค่อยได้สนใจ เพราะไม่ได้ชอบ แต่จากนี้คงจะเปลี่ยนวิธีคิดใหม่แล้ว เรื่องราวของลูกตาลน่าสนใจดี ขอบคุณค่ะ

ไม่เคยสังเกตุละเอียดอย่างนี้เลยค่ะ มีแต่ ชอบกินลูกตาลอย่างเดียว...

ชีวืตที่เพียงพอ..

เหมือนเอเลี่ยนแล๊บลิ้นเลย น่าสนใจดีค่ะ

หน้า