บล็อกน้ำแห้งภาค 2

หมวดหมู่ของบล็อก: 

แหม บายใจจัง น้าแผนยอมแพ้ คำทาย เอาเป็นว่าเราเสมอกัน ตากระดานหน้า น้าแผนหาคำทายมาแก้มือก็แล้วกัน

เอ้า ... ขอเฉลยปัญหาสมาชิกก็แล้วกัน  คำตอบอยู่ในคำถามนะขอรับ

น้ำลดตอผุด 

พริกหลุดจากขั้ว  

ลงน้ำดำหัว 

เรือรั่วอุดชัน 

อะไรเอ่ย   ตอบว่า  น้ำพริกลงเรือ  

      อันว่าน้ำพริกลงเรือนี้  ในปัจจุบันหากินยาก  ด้วยว่าเป็นสูตรตำหรับชาววัง  แม่ครัวท่านแรก

ที่คิดสูตรน้ำพริกลงเรือนี่เห็นจะเป็นเจ้าจอมองค์หนึ่งในสมัยพระพุทธเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  เมื่อครั้งประพาสต้น ครั้งนั้นมีการคิดประดิษฐ์ประดอย

สูตรน้ำพริกนี้ขึ้น  ผมจำความได้จากหนังสือเล่มใดก็เลือนๆเต็มที  หากผู้รู้ท่านใดผ่านมาอ่านได้โปรดแนะนำเพิ่มเติม  เอาเป็นว่า

เป็นสูตรน้ำพริกโบราณก็แล้วกัน  ไว้ถ้าป้าเล็ก  พี่แจ้ว  มีสูตรก็ฝากสูตรน้ำพริกนี้ไว้ในบ้านสวนบ้าง 

   กลับมาที่ต้นตาลกันต่อ  .... ตาลนี้  เป็นต้นไม้มีคุณมีประโยชน์ มีคุณแทบทุกองค์ประกอบ  วานนี้พูดถึงน้ำหวาก น้ำหวากเป็นเมรัย(เมรัยคือของหมัก

ไม่เหมือนกับสุรา  ที่หมักแล้วมากลั่น )  กระบวนการเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลโตนดนั่นแล  น้ำตาลสดบนต้นตาล - บากเกล็ดไม้เคี่ยมใส่ลง

ไปรสฝาดเผื่อน  - หมักคาต้นไว้  - ไม่กี่ชั่วโมงก็เป็นเมรัย เป็นน้ำตาลหมัก  คล้ายๆน้ำแป้งข้าวหมาก  มีแอลกอฮอล์เกิดขึ้นจากการย่อยสลายน้ำตาล

ของยีสต์  ดื่มแล้วพอเมาได้  ไม่เสียหายต่อสุขภาพ  คนบ้านนอก คนพื้นเพแต่เดิมก่อน  ใช้น้ำหวากเป็นน้ำประสานมิตร เป็นน้ำประสานแรง  ลงแขกลงงาน

ไม่ว่าจะเกี่ยวข้าวหรือปลูกบ้าน  ประสานสามัคคี  แม้ยามเย็นก็แลกเปลี่ยนเรื่องราวข่าวสารกันใต้โคนโหนด  ยุคนี้โลกเปลี่ยนวิวัฒน์ไป อันที่จริงจะเรียกวิวัฒน์พัฒนา

ก็ไม่ค่อยจะถูก  เพราะวิวัฒน์ต้องเจริญขึ้น  และ โลกปัจจุบันนับวันจะเสื่อมถอย  ....

      ขอบคุณบ้านสวน ที่เป็นโลกยุคใหม่ และ สร้างสรรสร้างเสริมให้โลกยุคก่อนยังคงอยู่  ขอบคุณน้องโสทร ผู้สร้างสรร เวบไซต์

ความเห็น

ได้ความรู้เยอะเลยครับน้ำหวากก้คือน้ำตาลเมานี้เอง

ใช่ครับพี่บ้านหลังนี้มีอดีตมากมายเล่าสู่กันฟังแบ่งปันน้ำใจSmile

     ผาน หมูบ้านนี้ ผาน ๆ  กระต่ายดำเหอ ผญ. ไฟเขียวส่ง ซิกว่า อย่าดังๆ  (อย่าเอ็ดไป) เดี่ยวนาย(ตำรวจ)มา   .... 

ความจริงแล้วทุกสิ่งอันทีเป็น ภูมิปัญญาที่ดีๆของทอ้งถิ่นนั้น สังคมควรที่จะอนุรักษ์ เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักสืบทอด ถึงประเพณี วัฒนธรรม ที่เก่าแก่และดั้งเดิม เอาไว้ชั่วลูกชั่วหลาน  ภูมิปํญาแต่ละอย่างล้วนมีอัตลักษณ์ ของตัวเอง แต่ก็ช่วยต่อยอด ให้เกิดภูมิปํญญาด้านอื่นเพิ่มขึ้นมาอีก เหมือน ระบบนิเวศน์แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น  แต่เดีย่วนี้ เจ้าของหรือต้นตำรับแห่งภูมิรู้เหล่านั้นเริ่มล้มหายตายจากหรือไม่ก็ขาดผู้รับช่วงต่อ ...หมายถึง ระบบนิเวศน์ทางภูมิปัญญา กำลังจะล่มสลายลงไป แล้วสังคม จะอยู่รอดได้อย่างไร ถึงอยู่รอดก็ขาด องค์ประกอบหลักคือ ...ความสุขของชุมชน..นั่นเอง

ตามรอยพ่อคิด ด้วยวิถีชีวิต ที่เพียงพอ

หน้า