..... วิธีการทำปลาร้าสำหรับคนไกลบ้าน .....

หมวดหมู่ของบล็อก: 




ปลาร้ากับคนไทยดูจะเป็นอะไรที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ น้ำพริก หรืออาหารสารพัดดูจะขาดความอร่อยไปเลยถ้าไม่ได้ปลาร้าเป็นตัวชูโรง แต่เมื่อไม่ได้อยู่ในเมืองไทยจะทำยังไง ใครที่หาซื้อได้ในร้านจีน ร้านเอเชียก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าไม่มีและกังวลเรื่องความสะอาดจะทำเองได้มั้ย


นี่เลยจ๊าวิธีและขั้นตอนในการทำปลาร้า โดยใช้วัสดุที่เราหาซื้อได้ในต่างแดน น้องเจ้าของสูตรเป็นกุ๊กอยู่ประเทศสวีเดน โพสเอาไว้ให้ในเว็ปไซค์อาหารของนัท จะไปก๊อปมาก็เกรงใจเพราะรูปและสูตรไม่ใช่ของนัทเอง ก็เลยคิดว่าจะเหมาะกว่าที่จะโพสลิ้งค์ค่ะ


หากเพื่อนสมาชิกสนใจอยากลองทำไว้กินเองบ้าง คลิ๊กดูวิธีทำที่ลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ


http://www.food-lover.co.uk/phpBB3/viewtopic.php?f=32&t=246


ขอบคุณบ้านสวนพอเพียงและทุกๆคนที่แวะมาทักทายกันนะค่ะ

ความเห็น

ใช่ค่ะคุณตุ้ย..เหลือการทำน้ำปลา อีกอย่างที่ต้องลองทำเก็บไว้กินเอง อีกหน่อยอาจลามปามไปถึงขั้นทำปลาหมึกแห้งปลาเค็มเนอะ :uhuhuh:

 การหมักน้ำปลาก็ไม่ยากอีกเช่นกัน ใช้ปลาไส้ตัน (anchovy) ผสมกับเกลือ ในอัตราส่วน 3:1 ภาชนะหมักควรเป็นโอ่งดินเคลือบ หรืออ่างเคลือบ เมื่อผสมปลากับเกลือเสร็จแล้ว ก่อนนำลงหมัก ต้องรองก้นภาชนะหมักด้วยเกลือจำนวนหนึ่ง เทปลาผสมเกลือลงไปหมดแล้ว ปิดหนาด้วยเกลืออีกชั้นหนึ่ง ปิดปากภาชนะด้วยตาข่ายตาถี่ๆ หรืออาจะเป็ยฝาปิดธรรมดา เพื่อป้องกันแมลงลงไป ไม่ต้องปิดสนิทไม่ให้อากาศเข้าเหมือนหมักปลาร้า ตั้งหมักทิ้งไว้กลางแจ้งโดยให้โดนแสงแดดได้ หมักนาน 9 ขึ้นไป ถ้าจะให้ดีก็ 1 ปี หลังจากหมักได้ที่ ก็นำมากรองให้ใส ขั้นตอนต่อไปก็ต้องนำมาปรุงรส ตามต้องการ ทำไมต้องปรุงรส ก็เพราะน้ำปลาที่ได้อาจเค็มมากไปต้องปรับให้ความเค็มพอดี และเติมน้ำตาลลงไปด้วยเพื่อให้รสชาติกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น น้ำปลาที่วางขายทุกยี่ห้อต้องปรุงรสก่อนบรรจุขวดขายทั้งสิ้น สูตรใครสูตรมัน บางยี่ห้อออกรสหวานมากหน่อย บางยี่ห้อหวานน้อยหน่อย ที่หวานมากที่สุดจะเป็นน้ำปลาเวียดนาม

 การทำน้ำปลาจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ที่ยากน่าจะเป็นขั้นตอนการกรองซ๊ะมากกว่า และต้องปรุงรสด้วย หรือถ้าไม่ปรุงแต่งอะไรเลยก็ไม่ผิดกติกา แต่รสชาติอาจจะเค็มมากไปเท่านั้น การหมักน้ำปลาต้องแน่ใจว่าเค็มถึง ไม่เช่นนั้น น้ำปลาจะไม่เป็นน้ำปลา และที่ยากอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกลิ่นที่อาจรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง โดยเฉพาะขั้นตอนการหมัก การกรอง เมื่อบรรจุลงขวดแล้วก็หมดปัญหานี้ จึงควรมีพื้นที่ว่างโล่งรอบบริเวณบ้านเพื่อใช้วางภาชนะหมัก

ขอมีส่วนร่วมนิสสนึง :uhuhuh: :uhuhuh: :uhuhuh:  มันมีความหมายด้วยนะ

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทำปลาร้า

คำศัพท์

ความหมาย

ปร้า

ปลาร้าหรือปลาแดก

ปลาแดก

ปลาร้า

ปลาหนัก

ลักษณะการแบ่งพวกของปลาที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก ปลาหมอไทย และปลาหมอช้างเหยียบ

ปลาเบา

ลักษณะการแบ่งพวกของปลาที่มีขนาดกลางถึงเล็ก ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ

เกลือดิบ

เกลือที่มีลักษณะเป็นก้อนออกสีน้ำตาลเล็กน้อย มีรสชาติเค็มจัดกว่าเกลือที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป

แปรปร้า

เป็นภาษาโคราช หมายถึง การนำข้าวสารเจ้าที่คั่วสุกแล้วแต่ไม่ไหม้ มาโม่หรือตำให้ละเอียด มาใส่และนวดกับปลาที่หมักเกลือไว้

ข้าวเบือ

ข้าวสารเจ้าที่คั่วสุกแต่ไม่ไหม้ บดละเอียด

ไหซอง

ไหปากสองชั้น ชั้นในต่ำกว่าชั้นนอก

ปลาแดกหอม

ปลาร้าที่มีกลิ่นหอมสีแดงน่ารับประทานทำจากปลาตัวโต โดยส่วนประกอบของปลา เกลือ และคั่วหรือรำ คือ 4:2:1

ปลาแดกนัวหรือปลาแดกต่วง

ปลาร้าที่หมักให้มีกลิ่นนุ่มนวลทำจากปลาขนาดกลางและเล็ก โดยส่วนประกอบของปลา เกลือ และคั่วหรือรำ คือ 4:1.5:1

ปลาแดกโหน่ง

ปลาร้าที่มี กลิ่นอันร้ายกาจ รสชาติแปลกประหลาด สีออกดำคล้ำ นิยมใช้ปรุงส้มตำ ทำจากปลาขนาดเล็ก โดยส่วนประกอบของปลา เกลือ และคั่วหรือรำ คือ 4:1:1

:uhuhuh::uhuhuh: ชอบๆข้อมูลนี้..เพราะไม่มีความรู้ด้านปลาร้านอกจากจะมีหน้าที่กินอย่างเดี่ยว

เหมือนกันเลยค่ะ กินเป็นอย่างเดียว.. :uhuhuh:

ขอบคุณมากๆค๊าคุณตาแป๊ะ  ปกติกินอย่างเดียว ไม่รู้ที่มาที่ไป.. :uhuhuh:

อื่ม... ถ้าแถวบ้าน ข้าวเบือ หมายถึงข้าวเหนียวแช่น้ำไว้ แล้วเอามาตำผสมสำหรับแกงงเประหรือแกงใส่พวกย่านาง ทำให้น้ำเหนียว ข้นมากขึ้น แต่ถ้าเอาข้าวมาคั่ว ไหม้นิดหน่อยแล้วตำหรือบด  อาจจะเหนียวหรือจ้าวก็ได้ จะเรียกว่าข้าวคั่ว สงสัยจะต่างถิ่นกันเลยเรียกไม่เหมือนกัน:sweating:

ไปอยู่ไหนก็ไม่ลืมปลาร้าเลยนะคะคุณนัท แถมยังทำเองอีก เยี่ยมมากเลย

สวัสดีค่ะคุณสมจิต นัทยังทำไม่เป็นค่ะ สูตรนี้เป็นของน้องในเว็บเค๊าโพสไว้ให้ แต่อนาคตทำเองแน่นอนค๊า แล้วจะส่งผลงานให้ดู :uhuhuh:

ปลาร้าต้องมีหนอนที่ปากไห  555  หรอย .....  หรอย      Foot in mouth

หน้า