ศุกร์สบาย กับ ไม้มงคล

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

 

      Laughing สวัสดีครับทุกท่าน ศุกร์สบายวันนี้มีเรื่องขำนิดๆ พร้อมด้วยสาระความเข้าใจในเรื่องที่มาที่ไปของชื่อต้นไม้บางต้น ที่เราๆท่านๆได้พบเจอ และบางท่านอาจได้ประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้วก็เป็นได้  ผมเจอเรื่องนี้ จากหนังสือนิทานธรรมนำให้คิด โดย สูญศูนย์ และมองเห็นว่าเป็นเรื่องราวที่ชวนให้คิด เตือนสติก่อนตัดสินใจซื้อต้นไม้บางต้นได้ จึงได้นำมาฝากเตือนสติกัน  ติดตามเรื่องราวกันเลยครับ

 

พญาวานร หรือ ฮวานง็อก ส่วนด้านขวา ไพลดำ

           ไม้มงคล

    พ่อค้าคนหนึ่งอยู่ภาคกลาง กำลังจะเปิดร้านขายของ จึงเดินทางมาที่วัด พร้อมกับนำกระถางต้นขนุนและต้นมะยมมาให้เจ้าอาวาสเจิมและเขียนคำว่า “อุดหนุน” และ “นิยม” ที่ป้ายชื่อต้นไม้ทั้งสองต้น เพื่อจะนำไปปลูกเป็นศิริมงคลไว้หน้าร้าน เจ้าอาวาสซึ่งมีภมิลำเนาเดิมอยู่ทางภาคเหนือ จึงสอบถามเหตุที่นำต้นไม้ดังกล่าวมาให้เจิม

     พ่อค้าจึงอธิบายให้ฟังว่า ไม้ทั้งสองต้นเป็นไม้มงคล ต้นขนุนชื่อไปใกล้เคียงกับคำว่า ”อุดหนุน” เลยขอให้เขียนป้ายให้ว่า “อุดหนุน” จะได้ช่วยทำให้มีคนมาอุดหนุนมากๆ ส่วนต้นมะยมชื่อไปใกล้เคียงกับคำว่า “นิยม” เลยขอให้เขียนป้ายให้ว่า “นิยม” จะได้ช่วยให้คนนิยมชมชอบ

    เจ้าอาวาส : แต่ที่บ้านอาตมา    คำว่าอุดหนุน หมายถึงปิดกั้นทางที่จะส่งเสริมให้สูงส่งขึ้น และคำว่านิยม หมายถึงหนี้อ่วมนะโยม

                        *****

         สาธยาย

    คำว่า “อุด” ในภาคเหนือบางท้องถิ่นหมายถึง “ปิด”  “ไม่ให้ไหลออกมา” ส่วนคำว่า “หนุน” หมายถึง “ทำให้สูงขึ้น” “ส่งเสริมให้สูงขึ้น”  รวมแล้วคำว่า “อุดหนุน” จึงหมายถึง “ปิดกั้นทางที่จะส่งเสริมให้สูงส่งขึ้น “

    ส่วนคำว่า “นิ” ในภาคเหนือบางท้องถิ่นหมายถึง “หนี้” และคำว่า “ยม” หมายถึง “อ่วม”  “น่วม”  “อ่อนเพลีย” รวมแล้วคำว่า “นิยม” จึงหมายถึง “หนี้อ่วม”

    ดังนั้นแม้แต่คำว่า “อุดหนุน” และคำว่า “นิยม” ที่บางคนบอกว่าเป็นคำที่มีความหมายเป็นมงคลยิ่งนั้น สำหรับในบางท้องถิ่นก็อาจมีความหมายที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่งก็เป็นได้

    บางท่านบางคนมีความหลงเชื่อถือ ยึดถือมงคลจากคำเรียกขานต่างๆมาก ขนาดที่แม้แต่คำบางคำไม่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกัน แต่บังเอิญไปออกเสียงใกล้เคียงกับคำที่มีความหมายไปในทางที่ดี  เช่น ชื่อต้นไม้ทั้งสองต้นที่กล่าวมา ก็พากันไปยึดถือว่าต้นไม้นั้นๆเป็นไม้มงคล  ทำให้เดี๋ยวนี้ผู้ที่ค้าขายไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ต่างก็พากันตั้งชื่อให้ต้นไม้ต่างๆเสียใหม่  โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีชื่อเดิมไม่เพราะหรือเป็นพันธุ์ไม้ใหม่ๆให้มีชื่อที่เพราะๆ ความหมายดีๆทั้งนั้น เพื่ออาศัยความเชื่อนี้ในการทำมาหากิน

 

ชื่อนั้นสำคัญไฉน? ถ้าต้นไม้มีประโยชน์ มิใช่อยู่ที่ชื่อ ไพเราะเพราะพริ้งมิใช่หรือ?

สวัสดี. 

ความเห็น

ขนุนก็คือ ขนุน แต่ไม่ใช่ อุดหนุน ผมก็ว่าได้กินแน่นอนครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

เสียดายกับชื่อเดิม ๆ ค่ะ เมื่อสมัยเด็กเคยชินกับต้นไม้หน้าตาแบบนี้ชื่อแบบนี้ เดี๋ยวนี้อ้าว...มันชื่อนี้ตั้งกะเมื่อไหร่กัน ทำเอาสับสนน่าดูเลยค่ะ

คนแต่ก่อนเขาตั้งชื่อต้นไม้ มีที่มาที่ไปเหมาะสมกับต้นไม้นั้นๆ ปัจจุบันตั้งชื่อให้คนหลงประเด็น แต่ถูกใจพวกบ้ายอและไร้เหตุผล 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ระกำ ห้ามปลูก แต่พอได้กบ มาขอระกำบ้านเรา ซะงั้น

ถ้าส่งมาให้ชิมสักถ้วย น่าจะอนุโลมกันนะป้า

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

คุณครูนวลบอกว่า ระกำ ห้ามปลูก เพราะอะใรค่ะคุณเสิน

เจ็บช้ำ ระกำทรวง ทำนองว่าชื่อพ้องเสียงเจ็บปวดทำนองนั้นแหละครับ และอีกอย่าง ระกำ หนามเยอะด้วย เข้าทางความขี้เกียจของคน ฮ่า

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ไพลดำ พอออกดอก หนูเก็บมากินกับแกงหน่อไม้ อร่อยมากค่ะลุงเสิน

ใช่ๆ ใส่แกงเลียง ลวกจิ้มน้ำพริกอร่อยด้วยจ้า

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

หน้า