การสร้างบ่อเก็บขยะ
การจัดทำบ่อกักเก็บขยะ
โดย: ม.ว. 2556
การสร้างบ่อกักเก็บขยะเริ่มต้นต้องศึกษาจาก ”ข้อมูลธรณีวิทยา” ในบริเวณที่จะจัดสร้าง “บ่อกักเก็บขยะ” น่าจะหาได้ที่เทศบาลนครเชียงใหม่ เพราะผู้เขียนเคยเอาแผนที่นำร่องในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปมอบให้ เป็นแผนที่หลายๆอย่าง พิมพ์สีในกระดาษ A 0 เกือบ 10 แผ่น โดยแผนที่ครอบคลุมทั้ง”จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน” บุคลากรที่รับเอกสาร จำชื่อไม่ได้ แต่เรียกกันว่า “นายน้องน้อย” เป็น MC 10 โยมี หนังสือ Journal ภาษาอังกฤษ 1 เล่มด้วย ทั่นส่งมอบให้ “ฝ่ายโยธา” = เท่าที่รู้ แผนที่ดังกล่าวได้มาจาก
”โครงการนำร่องเรื่องส่งแวดล้อมและการจัดการ หลายๆ กรณี ไม่ใช่แค่ “ขยะ”โดยกรมทรัพยากรธรณีร่วมกับ BGR (กรมทรัพยากรธรณี ของเยอรมนี) ได้ทำการสำรวจและสรุปไว้ เป็นแผนที่ที่ว่าโดยใช้ software ทาง GIS มาช่วยเช่น ArcGIS 9.0 และ ArcView โดยข้อมูลต่างๆขะถูกป้อนเข้าไป เป็น “Buffer” เช่น 1) ต้องอยู่ห่างจากทางน้ำเท่าไหร่ (ปกติ 500 เมตร ขึ้นไป) 2) ห่างจากหมู่บ้ารหรือชุมชนเท่าไหร่ 3) ต้องมีชั้นหินหรือดินที่เป็น ชั้นแบบ Impermeable Layer (ดินหรือหินที่น้ำซึมผ่านไม่ได้) กันน้ำเสียลงไปปะปนน้ำบาดาล ฯลฯ
เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วจากข้อมูลดังกล่าวก็จะนำมากำหนดในการจัดทำบ่อกักเก็บขยะในหมู่บ้านในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นได้โดยจะเริ่มด้วย
1) การปรับพื้นที่ให้ราบเรียบและเอียงเทไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยทำมุมกับแนวราบเล็กน้อย (ประมาณ 2-3 องศา) แล้วเทคอนกรีตซึ่งผสมน้ำยากันซึมด้วย
2) รอจนคอนกรีตแข็งตัวแล้ว (2-3 วัน) จึงปูทับด้วยแผ่น PVC เพื่อกันน้ำเสียซึมลงใต้ดินอีกชั้น
3) จัดทำท่อ ESLON ขนาด 1 ½ ถึง 2 นิ้ว เจาะรูรอบๆ จาก ส่วนบนสุดของพื้นที่เอียงที่ปูด้วยแผ่น PVC จนถึงปลายล่างที่พ้นแผ่น PVC โดยใช้ท่อวางห่างกันประมาณ 1 เมตร จนทั่ว พื้นฐานที่ปูด้วยแผ่น PVC ท่อเหล่านี้จะลำเลียงน้ำเน่าที่เกิดจากขยะให้ไหลไปลง long sump (ขุมหรือบ่อแนวยาว) ที่ทำไว้ด้านปลายสุดของแผ่น PVC โดยบ่อแนวยาวนี้เอียงไปจนหมดระยะของบ่อกักเก็บขยะโดยน่าจะมีความกว้างสัก 20-30 เซนติเมตร และขุมหรือบ่อนี้เอียงไปในทิษทางหนึ่งไปลงบ่อกว้างและยาวพอประมาณ 1.00 x 1.00 เมตร ซึ่งจะเป็นพื้นที่หรือปล่องที่จะรับแสงอาทิตย์มาเพื่อระเหยน้ำเน่าเหล่านี้
4) เตรียม ท่อ ESLON ลักษณะเดียวกันเพื่อวางในแนวตั้ง เวลานำขยะมาใส่ เพื่อ ลำเลียง ก๊าซ ที่เกิดจากขยะหมักหมมเกิดเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้ และ คอยต่อท่อขึ้นไปเรื่อยๆ เวลานำขยะมาเติมจนท่วมท่อ ESLON
5) กักเก็บขยะจนเต็มแล้วโรยด้วยปูนขาวแล้วปูทับด้วยแผ่น PVC อีกที เพื่อจะได้ ก๊าซ ชีวภาพไปใช้ในครัวเรือนที่อยู่ใกล้เคียงได้
6) วิธีการนี้ จัดทำขึ้นในสมัยที่ยังไม่ได้มีเทคโนโลยีในการ”รีไซเดิล” หรือ “คัดแยกขยะ” จึงควรจะนำ เทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์เข้าด้วยจะสามารถลดปริมาณขยะได้
ผนังของบ่อก็สร้างโดยใช้ซิเมนต์ที่ผสมน้ำยากันซึมด้วย น่าจะเป็นการหล่อคอนกรีต ถ้าเป็นไปได้
- บล็อกของ นายสุรศักดิ์ จิวะธานนท์
- อ่าน 7044 ครั้ง