สัพเพ รวมๆกันมา
เมล็ดฟักข้าวที่แช่น้ำไว้และเอามาบ่มไว้ในกระป๋องเดิม เพื่อไม่ให้เมล็ดจมน้ำ จนบางเมล็ดเริ่มงอกรากออกมา ก็ได้เวลาจับลงปลูกในกระป๋อง
หลังจากปลูกแล้ว ก็ออกไปเอาเปลือกไข่และเปลือกสับปะรดและเศษผัก
เปลือกไข่ เต็มกระสอบ แต่เหยียบให้แหลก
ฝนกำลังตกหนัก เน็ตก็ติดๆดับๆ ขอส่งแค่นี้ก่อนครับ
เหลือครึ่งถุง
ต่อไป ไปเอาเปลือกสับปะรด
มะละกอดิบ
กองนี้ มีทั้งเปลือกสับปะรด มะละกอดิบที่หั่นแล้ว ทางออก(ออกดิบ) เหลือจากการขาย ไม่เอากลับบ้าน
น่าสังเกตว่า แม่ค้าหลายคน ต่างเก็บเศษผักใส่ถุงไว้เรียบร้อย คนทำความสะอาด ทำได้ง่าย
ถังใบที่สอง เต็มแล้ว เปลือกไข่ในถัง เอามาจากร้านขายโรตี วันเดียวได้เปลือก 5 แผง หรือ 150 ฟอง
ถังที่สามกำลังเปิดฝา อีกวันสองวันคงได้เห็น
เปลือกไข่จากฟาร์ม เป็นไข่แตก ปริ เขาจะตอกเอาไข่แดงขายให้ร้านทำขนม
แต่ถ้าไข่แดงแตกเขาจะทิ้ง ใส่ถุงไว้ ดังนั้น เปลือกไข่จากฟาร์ม
จึงมีทั้งเปลือกและไข่แดง
พอเทใส่ถังหมัก ก็เหลือให้ เจ้าดำ นิดหน่อย มุดหัวเข้าไปเลย
อีกมุม ถ่ายได้ถ่ายไป ผมไม่สนแล้ว กินไข่ดีกว่า
อาหย่อย ลุงครับ มีอีกไหม
- บล็อกของ ลุงพูน
- อ่าน 9290 ครั้ง
ความเห็น
มนต้นกล้า
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:00
Permalink
ลุงพูน..น้ำหมัก
น้ำเอนไซน์ กับน้ำหมักชีวภาพต่างกันยังไงคะ
ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน
ลุงพูน
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:28
Permalink
คุณมนต์
น้ำหมักชีวภาพเป็นของเหลวที่ได้จากการหมักพืชหรือสัตว์ โดยใช้จุลินทรีย์จากธรรมชาติ หรือ จากจุลินทรีย์ที่คัดเลือกไว้ ผักและผลไม้ที่เอามาหมัก อาจจะแยกชนิดแยกถังหมัก หรืออาจจะหมักรวมๆกัน แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความรู้ และประสบการณ์ของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม
น้ำหมักนี้แรกเริ่มก็นำไปใช้ทางการเกษตร ทดแทนปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช และอื่นๆ
บางคนก็มีกรรมวิธีทำที่สะอาด ใช้ผลไม้ที่ยังบริโภคได้ ใช้น้ำตาลที่บริโภคได้ และหมักในภาชนะที่สะอาด น้ำหมักที่ได้ ก็จะดูดี ยิ่งมีการทำความสะอาดด้านนอกด้านในภาชนะ จนสะอาดเกลี้ยงเกลา ก็ทำให้กล้าที่จะนำไปบริโภคได้ด้วยความสนิทใจ บางครั้งการหมักก็ไม่ได้ใส่เชื้อจุลินทรีย์เพิ่มเติมลงไป นอกเหนือจากที่ติดไปตมธรรมชาติ การเปิดฝาภาชนะขึ้นมาดูหรือทำความสะอาดภายใน ในระยะที่หมักไปแล้วช่วงเวลาหนึ่ง ก็อาจจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติบางตัว ตกหล่นลงไป และบังเอิญสภาพของของเหลวในถังเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวใหม่ ก็จะได้สารบางอย่างเกิดขึ้น เช่น เกิดเป็นวุ้นลอยอยู่เหนือน้ำหมัก หรือบางครั้งอาจจะเกิดเป็นฝ้า ลอยอยู่ที่ผิวน้ำหมัก คล้ายๆกับ ฝ้าที่เกิดขึ้นในใหผักกาดดองสมัยก่อน (สมัยนี้ผักกาดดองไม่มีฝ้า)
ข้อความอักษรสีน้ำเงิน ของเหลวที่ได้จากการหมักแบบนี้ บางท่านเรียกว่า เอ็นไซม์
คงจะเป็นคำตอบนะครับ
มนต้นกล้า
16 พฤศจิกายน, 2010 - 00:01
Permalink
ขอบคุณค่ะลุงพูน
ขอบคุณค่ะลุงพูน
ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน
แดง โคกโพธิ์
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:29
Permalink
ลุงพูน
น้ำไม่ท่วมแล้วใช่ไหมครับ ?
ลุงพูน
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:32
Permalink
คุณแดง โคกโพธิ์
ตอนนี้แถวสวนผมไม่ท่วมแล้วครับ แต่ดูจากแผนที่อากาศที่หนูนิวส่งให้แล้วก็ยังไม่สนิทใจครับ ประกอบกับฟังจาก ดร.สมิธ ที่ออกทีวีอยู่หลายช่องก็ยิ่งไม่ค่อยแน่ใจเพิ่มขึ้นครับ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ ตุนไข่ไว้สองแผง ข้ามต้มผงๆ อีกหลายซอง ครับ
ขอขอบคุณในความห่วงใยครับ
แดง โคกโพธิ์
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:34
Permalink
เหลือแผงครึ่ง
เหมือนกันเลยครับ แต่ที่บ้านผมเหลือแผงครึ่ง กับ อาหารประเภทเส้นอีกหน่อยครับ รอบคอบไว้ก่อน
ลุงพูน
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:38
Permalink
คุณแดง โคกโพธิ์
พอหมดสักแผงก็ต้องไปเอามาตุนไว้อีก และขนมด้วย โดยเฉพาะพวกทองทั้งหลาย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด
ป้าหน่อย
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:38
Permalink
เห็นเมล็ดฟักข้าวลุงพูน
เห็นเม็ดฟักข้าวลุงพูน
ได้แรงฮึดอีกแล้วค่ะ
เดี๋ยวลองใหม่อีกที
หลังจากท้อไปหลายรอบ
ลูกอิสานกันดารแท้ แต่บ่อเหี่ยวทางน้ำใจเด้อ
หากแหม่นใหลหลั่งรินปานฝนแต่เมืองฟ้า
มาเด้อพวกพี่น้อง สานสัมพันธ์ให้มันแก่น
ให้ยืนยาวแนบแน่นพอปานปั้นก้อนข้าวเหนียว เด้อพี่น้อง
ลุงพูน
6 พฤศจิกายน, 2010 - 15:48
Permalink
ป้าหน่อย
วันก่อนเคยเขียนไว้ทีหนึ่งที่ http://www.bansuanporpeang.com/node/6656 ต้องแกะเปลือกออก ให้มือเบาๆ อย่าให้ไปโดนเนื้อเมล็ด จะทำให้เมล็ดเน่าได้ง่าย ที่สำคัญต้องเปลี่ยนน้ำ ผมเปลี่ยน เช้า เย็น สักสี่ห้าวันก็แอบดู อาจจะเห็นตุ่มเล็กๆโผล่ขึ้นมา ก็เอากระดาษทิชชูใส่ลงไปด้วย เติมน้ำนิดๆพอให้กระดาษเปียกๆ แต่อย่าให้ท่วมเมล็ด เก็บไว้อีกสองสามวันค่อยแอบดูใหม แต่อย่าลืม อย่าให้น้ำขัง
ป้าเล็ก..อุบล
6 พฤศจิกายน, 2010 - 16:05
Permalink
มาดูลุงพูน
ฝักข้าว ปลูก 2 รอบ ก็เหมือนเดิม คือ ไม่งอก
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
หน้า