"หิ่งห้อย ความหวัง และลำพู"
"หิ่งห้อย ความหวัง และลำพู"
...ในคืนแรม ฟ้ามืดสนิท แสงริบหรี่ช่างมีความหมาย...
ชีวิตวัยเด็กริมคลองน้ำใส เห็นกุ้ง ปลาตัวน้อย แหวกว่าย ระเริงเล่น
บางวันไหนหน้าน้ำล้นแม่ปูตัวใหญ่ เดินเปะปะ ไม่ตรงทางขึ้นสู่ฝั่ง
ลูกปูตัวเล็กยั้วเยี้ยในท้องที่อ้าออกน้อยๆเกาะไต่ตัวแม่ อีกบางตัวหลุดร่วงจากกาย
แต่ก็ยังคลานไม่ตรงทางตามแม่ด้วยขาเล็กๆอย่างมีสัญชาติญาณ
...ภาพสวยของแม่ปูกับลูกยังงามตรึงในความทรงจำ
...อีกภาพที่ประทับไว้ไม่รู้ลืม...แสงระยิบระยับรอบลำพูต้นใหญ่ในคืนเดือนมืดสนิท
...นิทานแห่ง “สัญญาที่ไม่ลืมกันของชายหนุ่มที่ถือโคมไฟข้างต้นลำพูหวังรอหญิงอันเป็นที่รักกลับมา”...
วันนี้ต้นลำพูที่ได้มา แม้จะด้อยด้วยราคา แต่ช่างมีความหมาย
...ความหวังที่แม้ลางเลือน แต่ก็ยังหวัง หวังจะได้บ้าง “...แสงหิ่งห้อย ...เหมือนวันวาน...”
...นิทานแห่ง “สัญญาที่ไม่ลืมกันของชายที่ถือโคมไฟข้างต้นลำพูหวังรอหญิงอันเป็นที่รักกลับมา”...
...นิยายชีวิตจริงที่ในวันนี้มีต้นลำพูแล้ว “สัญญาที่ไม่ลืมกันของโคมไฟน้อยๆจะคืนมาเคียงคู่กับต้นลำพู”....
...หวัง....
หิ่งห้อยตัวน้อยจะมาเยือน สว่างไสวยิ่งนักในราตรีเดือนมืด
เฉกเดียวกับดวงดาราระยิบบนฟ้าคืนจันทร์แรม
ดุจแสงรำไรที่ปลายอุโมงค์
....ราตรีนี้ที่นี่....มีลำพู...
...ที่นี่...คืนอันมืดสนิทนี้ หิ่งห้อยน้อยจะมาเยือน เหมือนวันวาน
ขอเพียงวันนี้มีความหวัง เพื่อสร้างแรงฝันก้าวไปให้ถึงสัญญาที่ไม่ลืมกัน
...“หิ่งห้อย ความหวัง และลำพู”...
หมายเหตุ
- เรื่องราวต้นลำพู
ลำพู เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 8-20 เมตร เมื่ออายุน้อยเปลือกเรียบ และแตกเป็นร่องลึก เป็นสะเก็ดเมื่ออายุมากขึ้นรากหายใจยาว 70 ซม. หรือยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนราก 4-5 ซม. เรียวแหลมไปทางปลายราก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนาน แกมรูปรี ขนาด2-5 x 4-13 ซม. ปลายใบแหลมทู่ ถึงเป็นติ่งสั้นๆ ฐานใบรูปลิ่ม เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบค่อนข้างแบน ยาว 0.2-0.4 ซม. สีแดงเรื่อๆ ดอกออกเดี่ยวๆที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดตื้นๆ รูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 แฉก รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกยาวกว่าหลอด โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีออกแดง กลีบดอกรูปแถบ ขนาด 0.1-0.2 x 1.5-2.5 ซม. สีแดงเข้ม อยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 2.5-4 ซม. โคนก้านสีแดง ปลายสีขาว ร่วงง่ายภายในวันเดี่ยว ออกดอกเดือน สิงหาคม-ธันวาคม ส่วนผลมีเนื้อและมีเมล็ด ขนาดเล็กหลายเมล็ด ฝังอยู่ในเนื้อผล ผลรูปกลมด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง 4.5-7x2.5-3.5 ซม. สีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแผ่บานออก ผลสุกมีกลิ่นหอมและนิ่ม ออกผลเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์
- เรื่องราวหิ่งห้อย
หิ่งห้อย
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย (Firefly Glow-wormLighteningbug) เป็นชื่อเรียกแมลงปีกแข็งในวงศ์แลมพายริดี้ (Lampyridae) อันดับโคลีออบทร่า (Coleoptera) ทั่วทั้งโลกมีทิ้งถ่วงประมาณ 2,000 ชนิด
รูปร่างลักษณะ
ทิ้งถ่วงตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก บางชนิดมีปีกสั้นมาก (Brachypterous) ชนิดที่ไม่มีปีกรูปร่างลักษณะคล้ายตัวหนอน หนอนของทิ้งถ่วงเป็นตัวห้ำกินหอยฝาเดียว ไส้เดือน กิ้งกือ และแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร ทิ้งถ่วงมีลักษณะเด่น คือสามารถทำแสงได้ทั้งระยะหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ส่วนระยะไข่ทำแสงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น
การทำแสง
ทิ้งถ่วงมีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอน มีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว เกือบทุกปล้องแสงของทิ้งถ่วงเกิดจากปฏิกิริยาของสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับออกซิเจน มีเอนไซม์ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate,ATP) เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง ทิ้งถ่วงกระพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกัน
http://dekmaeklong.blogspot.com/2008/05/blog-post_20.html
ทำไม หิ่งห้อยจะเปล่งแสง....หิ่งห้อยเปล่งแสงเพื่อหาคู่
ทำไม หิ่งห้อยต้องอยู่กับต้นลำพูด้วย..เพราะว่า ใบที่มีขนของต้นลำพู เป็นแหล่งเก็บน้ำค้างอย่างดี หิ่งห้อยมาชุมนุมกันข้างต้นลำพูเพราะต้นลำพูมีเพลี้ยมาก หิ่งห้อยจึงมากินไข่ของเพลี้ย
การเจริญเติบโต ขึ้นในเขตป่าชายเลนค่อนข้างจืด หรือมีช่วงระยะเวลา ที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยเป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียว และลึก
ขอขอบคุณข้อมูลเรื่องราว ภาพ ของต้นลำพู หิ่งห้อย และตำนานที่ประกอบในการเขียนบล็อกนี้ซึ่งได้มาจากเว็บไซต์
www.scitour.most.go.th/index.php?option=com...
www.bloggang.com/mainblog.php?id=calalily...
www.bansuanrak.com/activity/hinghoy%20activity.htm
paweerada-noname.blogspot.com/ - guru.google.co.th/guru/thread?tid=20cf86017bd994d5
guru.google.co.th/guru/thread?tid=20cf86017bd994d5
- บล็อกของ สายพิน
- อ่าน 11710 ครั้ง
ความเห็น
กมลวรรณ
12 พฤศจิกายน, 2010 - 23:08
Permalink
คุณสายพิน
ขอให้คุณสมปราถนานะคะ ขอให้ได้เห็นแสงหิ่งห้อยอีกครั้ง
สายพิน
12 พฤศจิกายน, 2010 - 23:23
Permalink
คุณกมลวรรณ
ไม่เห็นหิ่งห้อยมานาน ถ้าได้เห็นที่บ้านด้วยยิ่งดีเลย ขอบคุณที่ติดตามให้กำลังใจค่ะ
คนยอง
12 พฤศจิกายน, 2010 - 23:09
Permalink
หิ่งห้อย
เมื่อก่อนตอนเด็กๆที่บ้านมี เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว
ขอบคุณครับพี่ เกือบลืมหิ้งหอยไปแล้ว
สายพิน
12 พฤศจิกายน, 2010 - 23:28
Permalink
คุณคนยอง
คุณ คนยอง เวลานี้หิ่งห้อยมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากที่ที่หิ่งห้อยจะอยู่ได้เหลือน้อย ถ้าหากมีหิ่งห้อยมากขึ้น สมดุลธรรมชาติน่าจะดีขึ้นได้บ้าง
ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมชมและช่วยกันทวนความจำวัยเด็กน่ะค่ะ
น้ำหวาน
12 พฤศจิกายน, 2010 - 23:28
Permalink
พี่สายคนสวยจ๋า
อ่านแล้วคิดถึง คู่กรรม เลยค่ะ
ใต้ลำพูรอคู่กรรม.........
หวานไม่เคยได้เห็นหิ่งห้อยมานานมากแล้วค่ะ
ขอบคุณพี่สายนะคะ เมื่อไหร่ต้นลำพูโตหวานจะไปนั่งรอใครสักคน
ใต้ต้นลำพูนะคะ
สายพิน
12 พฤศจิกายน, 2010 - 23:43
Permalink
น้องหวาน อ่านไปกี่รอบ
น้องหวาน อ่านคู่กรรมไปกี่รอบ บอกมาเลยว่าใช้ทิชชูหมดไปกี่กล่อง จะได้จดสถิติไว้
...พอปลูกไปได้หน่อย สงสัยว่าหิ่งห้อยจะไม่ยอมมาน่ะค่ะ แพ้แสงนีออนที่บ้านกระมังคะ เดี๋ยวต้องหาที่อยู่ใหม่ให้ต้นลำพูซะแล้ว ต้นโตจะชวนมานั่งนับหิ่งห้อยด้วย ไม่ให้นั่งรอใคร เพราะคนรอคนเดิมรอมานานจนเป็นตำนานไปแล้วน่ะค่ะ ถ้าน้องหวานรอใครอีกเดี๋ยวจะได้อีกตำนานหนึ่ง
นายวิษณุ พรมอินทร์
13 พฤศจิกายน, 2010 - 01:50
Permalink
นึกถึงบึงขุนทะเล
ทำให้นึกถึงบึงขุนทะเล สุราษฎร์ธานี
สายพิน
13 พฤศจิกายน, 2010 - 12:32
Permalink
บึงขุนทะเล สุราษฎร์ธานี
คุณวิษณุ ที่บึงขุนทะเล สุราษฎร์ธานี มีมากเลยไหมคะ โชคดีจริงๆที่ยังมีให้เห็นอยู่
chai
13 พฤศจิกายน, 2010 - 03:58
Permalink
หิงห้อย
เป็นแมลงที่แปลกเหมือนกันนะครับมีไฟในตัวด้วย
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
สายพิน
13 พฤศจิกายน, 2010 - 12:30
Permalink
หนุ่มชัย
เห็นด้วยค่ะ ว่าเป็นแมลงที่แปลก อ่านเจอว่ามีการเก็บใส่ขวดไว้หลายๆตัวแล้วเอามาทำเป็นกระบอกไฟฉาย ส่องสว่างก็มี แต่ยังไม่เคยเห็น
หน้า