กินเค็ม อันตราย

หมวดหมู่ของบล็อก: 

จากการที่ผมเข้าโรงพยาบาล มอ. เมื่อกลางปีนี้ ได้รวบรวม เรื่องปริมาณเกลือในอาหาร จาก ฝ่ายโภชนการ ของโรงพยาบาล มาเล่าสู่กันฟังดังนี้

 

ปริมาณโซเดียมที่มีในเครื่องปรุงรส

เครื่องปรุงรส  ปริมาณ    โซเดียม(มิลลิกรัม)

น้ำปลา              1 ช้อนชา             465-600

ซีอิ้วขาว            1 ช้อนโต๊ะ           960-1,420***

ซอสปรุงรส         1 ช้อนโต๊ะ              1,150**

ซอสหอยนางรม  1 ช้อนโต๊ะ            420-490

น้ำจิ้มไก่            1 ช้อนโต๊ะ            202-227

ซอสพริก           1 ช้อนโต๊ะ                220

ผงชูรส              1 ช้อนชา                 492

ผงฟู                 1 ช้อนชา                  339


ปริมาณโซเดียมที่มีในอาหารต่างๆ

  อาหาร              ปริมาณ  น้ำหนัก(กรัม) โซเดียม(มิลลิกรัม)

ปลาสลิดหมักเกลือ         1 ตัว               40                  1,288***

เนื้อปลาทูทอด          ½ ตัว(กลาง)      100                 1,081**

น้ำพริกกระปิ              4 ช้อนโต๊ะ          60                  1,100**

น้ำปลาหวาน              1 ช้อนโต๊ะ          10                    191

เต้าหู้ยี้                          2 อัน               15                    560

น้ำพริกเผา                 1 ช้อนโต๊ะ          15                    275

ผักบุ้งใส่เต้าเจี้ยว           1 จาน             150                  894

ปอเปี้ยะสด                    1 จาน             150                  562

น้ำพริกกลางดง           2 ช้อนโต๊ะ          15                   170

บะหมี่สำเร็จรูป               1 ห่อ                50                  977**

บะหมี่หมูแดง                1 ชาม              350              1,480***

ข้าวผัดหมู                    1 จาน               295                416

ข้าวต้มหมู                    1 ชาม               390                881

ก๊วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว           1 จาน               354              1,352***

บะหมี่ราดหน้าไก่           1 ชาม               300              1,819***

ปอเปี้ยะทอด                  1 จาน                60                 235

ผัดผักบุ้งน้ำมันหอย        1 จาน               110               426

ปลากะพงนึ่ง                  1 ชิ้น                  50                110

แกงส้มผักรวม               1 ถ้วย                100              1,130

ส้มตำ                            1 จาน                100              1,006**

เบคอน                           1 ชิ้น                    6                 101

แฮม                               1 ชิ้น                  30                395

ก๋วยเตี๋ยวหมูสับ              1 ชาม                 300             1,450***

ข้าวราดปลาผัดฉ่า           1 จาน                 240             1,117**

แฮมเบอร์เกอร์                 1 ชิ้น                    98                463

ข้าวโพดแผ่นอบ             15 ชิ้น                    30               177

ต้องจำไว้นะครับ ว่า”ร่างกายต้องการปริมาณโซเดียม ไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม” ฉะนั้นอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมาก ต้องลดปริมาณให้น้อยลง หรือเว้นบ้าง เช่น กินส้มตำ วันละ 2 จาน ได้รับโซเดียม 2,012 มก. เกิน

กินก๋วยเตี๋ยวหมูสับ วันละ 2 ชาม ได้รับโซเดียม 2,900 มก. เกิน

ปลาสลิดหมักเกลือ วันละ 2 ตัว ได้รับโซเดียม 2,576 มก. เกิน

บะหมี่สำเร็จรูป วันละ 2 ห่อ ได้รับโซเดียม 1,954 มก. มาก

     การได้รับเกลือมากเกินเกณฑ์ นอกจากท่านจะมีโอกาสได้ล้างไตแล้ว ยังมีผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งสองโรคนี้ มีผลทำให้เกิดอาการของโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

     ฉะนั้นจากตัวเลขที่นำมาให้ดู ใครที่กินอาหารที่มีเกลือ มากๆ  เป็นประจำทุกๆวัน  ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการกินเสียครับ  เว้นบ้าง  กินให้น้อยลง  กินของจืดแทน

     เพื่อสุขภาพของทุกๆ คน  โปรดระวัง  หลีกเลี่ยง  กินจืดให้มากขึ้น

ความเห็น

คุณ ปุ๊ก ครับ โรคอ้วน ลดไม่ยาก ถ้า ใจเข้มแข็ง
-อะไร ที่เป็นแหล่งแป้ง พลังงาน ไขมัน หนีไปให้ใกล
-กินของที่โภชนะน้อย แต่อิ่มท้อง (ของที่ไม่ค่อยมีคุณค่า มีกากมาก กินเท่าไร ถ่ายออกมาแทบไม่เหลือ)
นั้นแหละครับ อดใจได้หรือไม่ 5555

 ควรงดอาหารที่มีรสเค็ม ของทอด ของหวาน

พอเพียงเพื่อเพียงพอ


jabee_68@hotmail.co.th

    ขอบคุณ คุณบุญบือมากๆครับที่แบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ เป็นการย้ำเตือนพวกเราในเรื่องอาหารการกินครับ

    ผมเคยไปส่งแม่ฟอกไตที่ ร.พ.เอกชนแห่งหนึ่ง ใน อ.เมืองพะเยา สังเกตุเห็นคนไข้ที่มาฟอกไตบางคนอายุยัง 30 ต้นๆ พยาบาลยังบอกว่าสถิติอายุคนไข้มีอายุน้อยมีมากขึ้นเรื่อยๆ เด็กอายุ 14 ปีมีแล้วครับ  ปริมาณคนไข้ที่เป็นโรคไตมีจำนวนสูงขึ้น คุณหมอบอกว่าสาเหตุหลักคือเรื่องอาหารการกินที่ทานเข้าไป  ปัจจุบันเรานิยมใช้เครื่องปรุงรสสารพัดชนิดที่มีปริมาณโซเดี่ยมสูง บางอย่างไม่ได้มีความเค็มออกไปทางให้รสทางหวานด้วยซ้ำ จึงยังต้องเติมน้ำปลาเข้าไปอีก  นอกจากนั้นยังมีสารพิษต่างๆที่มากับขบวนการผลิตอาหารตั้งแต่การเลี้ยง การปลูก เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า สารเร่งดอก,ใบ,ราก สารเร่งเนื้อแดง ยาปฎิชีวนะ สารเหล่านี้แม้แต่ในน้ำดิ่ม น้ำใช้ยัง มีปะปนตกค้าง  ไตคนเราที่ทำหน้าที่กรองสารพวกนี้รับภาระหนัก เนื้อเืยื่อถูกทำลาย  นอกจากนั้นยาต่างๆที่ทานกันเป็นประจำก้อมีผล เช่นยาแก้ไข แก้หวัด แก้ปวด บางคนเป็นหวัด ปวดหัว ตัวร้อนนิดหน่อย ก้อจะหายาพวกนี้มาทาน  บางคนไปเดินตากแดด ตากฝน มาจะทานไว้ก่อนก้อมี  

    ผมเห็นแม่ทรมานก่อนเสียชีวติ ต้องฟอกไตอยู่เกือบ 2 ปี เป็นโรคภัยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษและพฤติกรรมการกินอยู่ของคนไทยในปัจจุบัน สิ่งที่เราป้องกันตัวเองได้บ้าง คือการปรับพฤติกรรมการกินของเรา ลดการปรุงแต่งรสอาหารให้น้อยลงครับ


คุณ บ้านสวนต้นน้ำวังทอง

      ณ วันนี้ เราหนีสารเคมีไม่พ้นเลย โดยเฉพาะคนที่ทำงานตามสำนักงาน ต้องกินหารร้านค้า อาหารถุงเป็นประจำ

     เด็กนักเรียน เลิกเรียน หน้าโรงเรียนมีอาหารขยะ อาหารเติมสารปรุงแต่ง มากมาย กินกันทุกวัน

     ดังนั้นทุกคน จึงต้องทำอาหารกินเองบ้าง (อย่าซื้ออาหารสำเร็จ ทุกมื้อ) ลดสารปรุงแต่ง กินจืดๆ เข้าไว้

     หลีกเลี่ยงวัตถุดิบที่เป็นโทษให้มากเท่าที่จะทำได้

แค่นี้ก็เป็นการช่วยตัวเองขั้นต้นได้แล้ว

ขอบคุณ สำหรับ ข้อมูลดีๆ ครับ

ขอบคุณนะคะที่เอาช้อมูลเพื่อสุขภาพมาฝาก  ใช่คะ....ควรกินให้จืดที่สุด 

เป็นข้อมูลที่ได้ประโยชน์มาก ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันโรคภัยต่อสุขภาพได้อย่างดี

กุ้งเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินเค็ม  ...เห็นข้อมูลอย่างนี้แล้ว..ต้องลดแล้วค่ะ   ขอบคุณค่ะ

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

คนไทย ส่วนใหญ่ขอบกินอาหารรสเค็ม หรือเค็มจัด ดังนั้นต้องทำใจให้เข้มแข็งไว้ กินให้เค็มน้อยลงกว่าเดิม ทุกๆ วัน ในที่สุดก็ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมกินเค็มได้ครับ
ถือคติ กินเพื่ออยู่ จืดก็ช่าง ให้อิ่มท้องก่อนเป็นดี
ทุกอย่างอยู่ที่ใจ

วันนี้รายการนี้ก็นำมาออกอากาศค่ะ..

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

หน้า