ผิดเป็นครู มาดูของจริง
ลุงพี ผมลองทำแล้ว ไม่ได้ผลอ่ะ
ลุงพี หนูก็เคยลองทำ เหม็นบูดค่ะ
ลุงพี ทิ้งไว้ตั้งนานไม่เห็นมีน้ำมันแยกออกมาเลย
ลุงพี ถุงมันป่องๆ จะระเบิดมั๊ยคะ
และอีกหลายๆคำถามที่มีเข้ามา เมื่อสมาชิกหลายๆท่านได้ไปทดลองทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นด้วยวิธีหมักแบบธรรมชาติ ทำให้ผมต้องไปทดลองและค้นคว้าเพิ่มเติม จนได้ข้อมูลที่น่าสนใจมาดังนี้คือ
การหมักด้วยวิธีธรรมชาตินั้น น้ำมันจะแยกตัวออกจากเนื้อกะทิและน้ำด้วยปฏิกริยาในการแตกห่วงโซ่โปรตีนในเนื้อกะทิด้วยขบวนการทางจุลชีวะของเอนไซม์ในเนื้อมะพร้าว หรือแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ด้วยการให้กะทินั้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คืออุณหภูมิระหว่าง 35-40องศา และความชื้นไม่เกิน 75% เป็นเวลามากกว่า 10 ชั่วโมง
ข้อสังเกตุตรงนี้หละครับที่เราน่าจะนำมาพิจารณาถึงปัจจัยหลักในการที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ในการทดลองครั้งแรกของผมนั้นนับว่าอยู่ในสภาวะที่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขแบบฟลุ๊คๆ จากการที่ผมไปซื้อกะทิที่ได้จากมะพร้าวที่เพิ่งปอก นำมาขูดและคั้นกะทิสดๆ เก็บไว้ในรถยนต์ที่จอดไว้กลางแดดไม่ต่ำกว่าสี่ชั่วโมง ซึ่งในครั้งนั้นผลผลิตน้ำมันประมาณ 800 mlจากเนื้อมะพร้าวสองกิโลซึ่งนับว่าสูงมาก ส่วนในครั้งที่สองที่ผมทำในปริมาณมะพร้าวขูดสิบกิโลแต่ได้น้ำมันเพียงสองลิตรกว่าๆ ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคืออุณหภูมิในการเก็บถุงบรรจุกะทิในช่วงของการหมัก
ในส่วนของเรื่องความสะอาด ผมได้ทดลองไปซื้อมะพร้าวที่ร้านเค้าขูดทิ้งไว้ในกาละมังมาหนึ่งถุง น้ำหนักครึ่งกิโลกรัม
จากนั้น นำมาผสมด้วยน้ำอุ่น (ทดลองตามคำแนะนำของลุงพูน) ปริมาตรครึ่งลิตร ในภาชนะที่ล้างด้วยน้ำก๊อกธรรมดา
แล้วใช้มือ(ที่ล้างด้วยน้ำธรรมดา ไม่ใช้สบู่) ขยำๆ แล้วบีบคั้นกะทิ
ได้ปริมาตรเกือบ 600 cc เพราะยังมีกากปนอยู่อีกนิดหน่อย (ลองเอาเม้าส์ไปชี้ดูจะเห็น) นำมาใส่ถุงวางคู่กับหางกะทิจากร้านที่คั้นด้วยการผสมน้ำเย็น
ทางซ้ายคั้นด้วยมือผสมน้ำอุ่น ทางขวาหางกะทิคั้นด้วยเครื่องผสมน้ำเย็น
สภาพเมื่อวางทิ้งไว้ 3 ชั่วโมงจะสังเกตุเห็นการแยกชั้นของน้ำและเนื้อกะทิ ในน้ำนี้จะมีแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายปนอยู่มากคุณสมบัติคล้ายๆน้ำมะพร้าว ถ้าในช่วง 3 ชั่วโมงแรกนี้เรานำถุงนี้วางไว้ในตู้เย็นก็สามารถที่จะแยกน้ำส่วนนี้ออกมาแล้วนำไปปรุงเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารได้ และหลังจากวางถุงทิ้งไว้เกิน 12 ชั่วโมง(เม้าส์จิ้ม) จะสังเกตุเห็นชั้นน้ำมันแยกตัวออกมาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะถุงทางซ้ายที่คั้นด้วยการผสมน้ำอุ่น (ข้อนี้คงต้องรอผลการทดลองว่าสอดคล้องกับของลุงพูนหรือไม่ ผมสันนิษฐานว่า การใช้น้ำอุ่นเป็นการกระตุ้นให้เอนไซม์ในน้ำกะทิตื่นตัวและทำงานได้ดีขึ้น)
ส่วนหางกะทิที่ผสมน้ำเย็นธรรมดานั้น ยังไม่มีชั้นน้ำมัน มีฟองก๊าซ ถุงบวม ฮ่าๆ แบบนี้นี่เอง
จากรูปที่ผมได้เปิดปากถุงระบายอากาศออกไปบ้างแล้ว ยังสังเกตุได้ว่ามีฟองอากาศอยู่ และมีตะกอนนอนก้นน้อยมาก (ปรกติเมื่อมีขบวนการหมัก เช่นไวน์หรือน้ำส้มสายชู จะมีตะกอนโปรตีนนอนก้น ผมเรียกว่าซากศพของจุลชีพ) แสดงว่าเอนไซม์หรือจุลชีพต่างๆทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อุณหภูมิ)
ด้วยเหตุนี้ผมจึงจะทำการทดลองควบคุมปัจจัยต่างๆเพิ่มขึ้น โดยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในการหมัก เช่นกระตุ้นให้เอนไซม์ทำงานด้วยการผสมน้ำอุ่น สร้างตู้หมักที่ควบคุมอุณหภูมิได้ โปรดติดตามตอนต่อไป
- บล็อกของ ลุงพี
- อ่าน 11311 ครั้ง
ความเห็น
เจ้โส
23 กันยายน, 2010 - 19:38
Permalink
ลุงพี
ตอนนี้เจ้ทำใช้วิธีเคี้ยว ยังไม่กล้าสกัดเย็น เพราะกลัวจะเสียของ กลัวจะเป็นครู อิ อิ
garden_art1139@hotmail.com
น้อย สวนบุรีรมย์
23 กันยายน, 2010 - 19:53
Permalink
คิดว่าเจ้โสน่าจะหมายถึง
คิดว่าเจ้โสน่าจะหมายถึง 'เคี่ยว' นะครับ
สวนเกษตรบุรีรมย์การเกษตรแบบเสาร์เว้นเสาร์ เน้นที่เราปลูกเองกินเอง
บริการจัดทำและดูแลเว็บไซต์ ถูก ดี มีประสิทธิภาพ
แจ้ว
23 กันยายน, 2010 - 19:44
Permalink
เข้ามาเยี่ยมคุณครู
ลุงพีทำทุกอย่างอย่างมีหลักการ.....แล้วจะติดตามตอนต่อไปค่ะ
มะโหน่ง
23 กันยายน, 2010 - 19:49
Permalink
จะติดตามผลงาน
จะติดตามผลงานของลุงพีในตอนถัดไปค่ะ^^
สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี
ลุงพูน
23 กันยายน, 2010 - 19:52
Permalink
ลุงพี
พอทดลองเสร็จ ลุงพีตั้งโรงงานได้เลยครับ
กะทิเมื่อวางทิ้งไว้ 3 ชม เริ่มมีการแยกชั้น ระหว่างน้ำกับหัวกะทิ ระยะนี้แยกน้ำออกมาใช้ประโยชน์ได้เลยครับ เทเอาแต่หัวกะทิใส่ภาชนะทรงสูง ทิ้งไว้ต่อไป น้ำจะแยกตัวออกมาได้อีก การแยกน้ำออกมาจากกะทิก่อนนี้ จะทำให้กลิ่นเปรี้ยวลดลง เนื่องจากน้ำจะเริ่มเปรี้ยว หากให้อยู่รวมกันนานๆ จะทำให้น้ำมันมีกลิ่นด้วยครับ
ลุงพี
23 กันยายน, 2010 - 20:21
Permalink
ลุงพูนสอนผมอิกแระ
ขอบคุณครับลุงพูน "ภาชนะทรงสูง" และ "การแยกน้ำออกมาจากกะทิก่อนนี้ จะทำให้กลิ่นเปรี้ยวลดลง" ใช่เลยครับ เป็นการลดปริมาณและพื้นผิวสัมผัสของน้ำมัน(ผลผลิต) และนำหมัก(ของเสีย) ได้อย่างดีเลยครับ ผมจะรีบนำไปปฏิบัติครับ
ผมยังไปอ่านพบอีกว่า ถ้านำน้ำมะพร้าวมาผสมในการคั้นกะทิจะช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณกรดลอริคได้อย่างมีนัยสำคัญ (ข้อนี้ผมสันนิษฐานว่าเอนไซม์ที่เป็นตัวการในขบวนการหมัก คงจะมีอยู่ในน้ำมะพร้าวซะเป็นส่วนใหญ่ด้วยอ่ะครับ)
พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง
ลุงพูน
23 กันยายน, 2010 - 20:30
Permalink
ลุงพีครับ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ อย่าถือว่ามาสอนกันเลยครับ เป็นการเติมเต็มความรู้ที่แต่ละบุคคลมี ให้แก่ สมช
ผมใช้ "ภาชนะทรงสูง" เพราะว่า ตักหรือเทน้ำมันออกมาได้ง่ายครับ หากปากกว้างๆ จะช้อนน้ำมันออกมาได้ยากกว่าครับ
การนำน้ำมะพร้าวมาผสมในการคั้นกะทิ หากเอาน้ำมันไปให้แม่ค้าขายกะทิทำให้คงวุ่นวายน่าดู ถ้าเราเอากะทิมาแล้ว ตักน้ำมันมะพร้าวใส่ลงไป แล้วเขย่าๆ ให้เข้ากัน น่าจะได้เหมือนกัน ต้องฝากให้ลุงพี ช่วยทดลองแล้วแหละครับ
ทราย
23 กันยายน, 2010 - 19:53
Permalink
ลุงพี
เข้ามาชมค่ะ จะรอติดตามตอนสรุปนะคะ
สายพิน
23 กันยายน, 2010 - 20:16
Permalink
ขอบคุณวิธีการอย่างละเอียด
คุณ ลุงพี ขอบคุณมากค่ะ สำหรับวิธีการอย่างละเอียด เคยลองทำน่ะค่ะ เจอว่ามีรสเปรี้ยว มีโอกาสจะลองทำใหม่
chai
23 กันยายน, 2010 - 20:21
Permalink
ลุงพี
เข้ามาเรียนรู้ครับ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
หน้า