เรียน ทำ ลอง มะเขือเปราะ
เรียน ทำ ลอง มะเขือเปราะ
สวนจักรพัฒน์
หลังจากเริ่มต้นทำสวนแบบพอเพียง เมื่อเดือนสิงหาคม พึ่งจะปลูกมะเขือเปราะเป็นครั้งแรก แต่ปลูกมะเขือเจ้าพระยามาตั้งแต่สิงหาคมแล้ว ซึ่งตอนแรกตั้งใจจะปลูกมะเขือเปราะ แต่ซื้อเมล็ดพันธุ์มาผิด คิดว่าเหมือนกัน
อายุหลังเพาะ ๕๖ วัน
เริ่มเพาะ ๑๗ ม.ค. ๒๔ ถุง
๒๑ ม.ค. ๒๔ ถุง
และ ๒ ก.พ. ๒๔ ถุง
วัสดุเพาะ ใช้ปุ๋ยหมัก ผสมดินดี ๑ : ๓ ในถุงใสขนาด ๔ x ๖ นิ้ว
เมล็ดพันธุ์ ใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมชนิดซอง ราคา ๒๐ บาท
การปลูก
แปลงปลูกกำลังปรับดิน แถว๑-๒ แตงไทย แถว๓-๔ มะเขือยาว แถว ๕ มะเขือเปราะ ชุด ๑ ด้านบนและด้านล่างยังปรับดินไม่เสร็จ ปลูกระยะ
ระหว่างต้น ๑ ม. ระหว่างแถว ๑.๒ เมตร แถวละ ๓๖ ต้น รวม ๗๒ ต้น
ชุด ๑ ปลูก ๔ มี.ค. ๑๒ ต้น อายุหลังเพาะ ๖๐ วัน หลังปลูก ๑๔ วัน
ชุด ๒ ปลูก ๑๗ มี.ค. ๑๒ ต้น อายุหลังเพาะ ๕๖ วัน
ชุด ๓ ปลูก ๑๘ มี.ค. ๑๒ ต้น อายุหลังเพาะ ๕๖ วัน
ขุดหลุมปลูกขนาดผ่ากลาง ๔๐ เซน ลึก ๒๐ เซน หรือดินประมาณ ๓ บุ้งกี๋
ผสมหน้าดิน ๒๔ บุ้งกี๋ ต่อปุ๋ยหมัก ๘ กระเป๋งปูน ใส่ได้ ๑๒ หลุม
ผสมดินใส่หลุม แถว๒ อายุหลังเพาะ ๖๐ วัน หลังปลูก ๑๔ วัน
ถอดถุงเพาะเก็บไว้ใช้อีก ลงปลูกแล้วรดน้ำด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์น้ำซาวข้าวและน้ำส้มควันไม้
ชุด ๑ สมบูรณ์ดี แต่เพลี้ยกำลังมา
สรุปค่าใช้จ่าย ถึง ๑๗ ม.ค.-๓๑ พ.ค.
ค่าเมล็ดพันธุ์ ๒๐ บาท ค่าปุ๋ยหมัก ๕ ถุง ๒๐๐ บาท (ขี้วัว และรำ) รวม ๒๒๐ บาท
รายรับ
ขายส่งรถกับข้าว(ก.ก.ละ ๑๐ บาท) และขายปลีก (๓๐๐-๓๓๐ กรัม ๕ บาท) รวม ๒๗๘ บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม
๓๐ มี.ค.๕๓
ชุด๑ สมบูรณ์ดี อายุหลังปลูก ๒๖ วัน ดอกกำลังออกแต่ยังไม่บาน เช้า ถอนหญ้ารอบโคน เย็น พ่นยาสูตรเดิม ผสมจุลินทรีย์น้ำซาวข้าวอีก ๕๐ ซีซี
๑๔ เม.ย.๕๓
อายุ ๔๑ วัน เริ่มมีผลชุดแรก
ขนาดที่เก็บจำหน่าย ๕ ลูก หนัก ๓๐๐ กรัม จำหน่าย ๕ บาท ถ้าต้นไม่สมบูรณ์เป็นโรคจะเก็บลูกเล็กกว่านี้ เพราะเมล็ดจะแก่ก่อนกำหนด
ราคามะเขือเปราะตลาดสี่มุมเมือง ปี ๒๕๕๓
|
เฉลี่ย |
สูงสุด |
ต่ำสุด |
ม.ค. |
12.30 |
22.00 |
3.00 |
ก.พ. |
9.28 |
16.00 |
5.00 |
มี.ค. |
13.19 |
20.00 |
8.00 |
เม.ย. |
12.80 |
15.00 |
10.00 |
พ.ค. |
16.54 |
23.00 |
12.00 |
ปัญหาที่พบ
๑.เพลี้ยอ่อน เริ่มระบาดแล้ว ตอนเช้า๑๙ มี.ค. ฉีดด้วยน้ำส้มควันไม้ ๑ ลิตร หมักกับ พริกป่น ๑ ขีด กระเทียมบด ๑ ขีด ยาสูบป่น ๑/๒ ขีด ใส่๑๐๐ ซีซี ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
ผล ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
๒.ลมพัดแรงต้นล้ม เนื่องจากขุดหลุมกว้างและเนื้อดินร่วนซุย จึงล่มง่าย จะแก้ไขโดยการค้ำยัน และต่อไปจะเปลี่ยนระยะปลูกเป็น ๘๐x๑๕๐ แทน แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ทำเลย
๓.โรคขอบใบไหม้ ยังไม่ได้หาวิธีแก้ไข แต่จะฉีดสูตรตามข้อ ๑ ไปพลางๆ ก่อน
- บล็อกของ dang6652
- อ่าน 22299 ครั้ง
ความเห็น
ป้าเล็ก..อุบล
19 มีนาคม, 2010 - 21:19
Permalink
เก่งๆ
ทำจริง ได้เห็นจริง
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
ยายอิ๊ด
19 มีนาคม, 2010 - 21:26
Permalink
ป้าเล็ก ปร้านู้
ป้าเล็ก ปร้านู้ ที่บล็อกม่วงเบา เขาล้วงลับตับแตกกันแล้วคะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ป้าเล็ก..อุบล
19 มีนาคม, 2010 - 21:36
Permalink
ป้าเล็กเปิดไฟเลี้ยว
เข้าไปอ่านแล้ว เห็นเขาแหลง หลักสี่ ดอนเมือง ป้าเล็กนี่ สระบุรีเลี้ยวขวา
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
เจ้โส
19 มีนาคม, 2010 - 21:25
Permalink
สู้ๆๆๆ
ขอเป็นกำลังใจให้น๊ะจ๊ะ
garden_art1139@hotmail.com
sothorn
19 มีนาคม, 2010 - 21:35
Permalink
เพลี้ยอ่อน คือเพลี้ยแป้งหรือเปล่า
เพลี้ยอ่อนคือเพลี้ยแป้งหรือเปล่าครับ
ถ้าเป็นเพลี้ยแป้ง ใช้สูตรนี้ครับ
http://www.rakbankerd.com/agriculture/page?id=511&s=tblplant
สูตรการกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยบอระเพ็ด :
ส่วนผสม
1. บอระเพ็ด
2. ยาฉุน (ใบยาสูบ)
3. น้ำยาล้างจาน(ใช้เป็นสารจับใบ)
วิธีทำสมุนไพรกำจัดเพลี้ยแป้ง :
1. นำบอระเพ็ดมาหั่นเป็นท่อน ยาวพอประมาณ จากนั้นนำไปให้แหลง(สังเกตุดูจากความหนืดเหนียวของเถาที่ถูกตำ)
2. นำบอระเพ็ดที่ตำแหลกแล้วไปหมักกับน้ำเปล่า ใช้อัตราส่วนบอระเพ็ด 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้จนได้น้ำเมือกเหนียว(ไม่จำกัดเวลา ให้สังเกตุดูว่าน้ำหมักที่ได้มีความเหนียวหนืดเมื่อไหร่ก็สามารถนำไปใช้ได้ เลย) เพื่อให้สารในบอระเพ็ดละลายออกมา
2. ผสมยาสูบลงไปในน้ำละลายบอระเพ็ดที่เตรียมได้ ประมาณ 1-2 กำมือ คนให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที
4. ก่อนนำน้ำหมักบอระเพ็ดที่เตรียมได้ไปใช้ ควรผสมกับน้ำยาล้างจาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับติดตัวแมลงหรือพื้นที่ผิวของใบพืช และควรนำน้ำหมักที่ได้ไปผสมน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเข้มข้นของน้ำสมุนไพร (กะความเข้มข้นพอประมาณ) ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับพืชหากใช้ในปริมาณที่เข้มข้นมากเกิน ไป
***สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สกัดได้จากสมุนไพรนั้นจะให้ผลดีที่สุด เมื่อใช้สด กล่าวคือ นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำหรือนำไปต้มกับน้ำให้ได้ความเข้มข้น และก่อนนำไปใช้กับพืช ควรทำการปสมน้ำสกัดที่ได้กับน้ำเปล่าก่อนทุกครั้ง โดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 20 ลิตร การใช้สารนั้นจะใช้การฉีดพ่นหรือให้ไปกับระบบน้ำในตอนเย็นเท่านั้น และควรฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 2-3 วัน เพื่อให้เกิดผลดีสุด และไม่ทำให้แมลงเกิดการดื้อยา
***การใช้สารที่ความเข้มข้นสูงเลยในทันที นอกจากจะทำให้พืชใบไหม้เสียหายได้แล้ว ยังทำให้แมลงเกิดการดื้อยาได้ง่ายอีกด้วย หากการใช้ในครั้งแรกทำไม่ถูกหลักการ และคุมแมลงไม่อยู่ Good Tip :T_Anukanon
rose1000
19 มีนาคม, 2010 - 21:39
Permalink
เพลี้ยอ่อน กับเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยอ่อน ไม่ใช่เพลี้ยแป้ง แต่สารกำจัดเพลี้ยแป้งได้น่าจะจัดการกับเพลี้ยอ่อนได้ด้วยครับ
จันทร์เจ้า
19 มีนาคม, 2010 - 21:49
Permalink
สูตรนี้แหละ
ที่จะทดลองทำ ต้องหาบอระเพ็ดให้ได้ก่อน เพลี้ยแป้งที่บ้านเยอะมากๆ มีมดมาเกาะแกะตามต้น และ ยอดก่อน สักพักเป็นสีขาวๆ ต่อมาก็ดำเลย ต้นไม่ก็เฉา
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
dang6652
19 มีนาคม, 2010 - 22:15
Permalink
ใส่รูปแล้วมันขึ้นซ้ำกัน
ขออภัยผู้อ่านนะครับ ใส่รูปแล้วแต่ไม่ได้แสดงตัวอย่างก่อน มันขึ้นรูปซ้ำกันไปหมด กว่าจะแก้เสร็จ ผู้อ่าน อ่านไปแล้ว ๗๕ คน คงจะงงน่าดู
dang6652
19 มีนาคม, 2010 - 23:01
Permalink
ระบบน้ำมะเขือ ทำไงประหยัด
ขอคำแนะนำระบบน้ำมะเขือด้วยครับ (แบบประหยัดสุด)
มีท่อเมนขนาด ๑ นิ้ว ทำกาลักน้ำจากสระ สูงต่างระดับกันประมาณ ๕ เมตร
จันทร์เจ้า
20 มีนาคม, 2010 - 04:59
Permalink
ใช้บัวรดน้ำ
โห...ความพยายามมากๆค่ะ บัวรดน้ำเหนื่อยมากเคยทำมาแล้วค่ะ ดิฉันแก่แล้วคงทำไม่ไหว
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
หน้า