ระบบท่อ
ระบบท่อ ทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าสู่แปลงปลูก ในการติดตั้งระบบน้ำ
ในการติดตั้งระบบน้ำ เพื่อที่จะให้น้ำมีแรงดันพอที่จะหมุนหัวมินิสริงเกลอร์ และไหลออกในปริมาณที่ต้องการ จำเป็นต้องแบ่งท่อเป็น 3 ขนาด คือ
1. ท่อประธาน (Main pipe) เป็นท่อขนาดใหญ่ที่สุด ส่งน้ำในปริมาณที่พอเพียงทั้งแปลง
2. ท่อรองประธาน(Sub-main pipe) เป็นท่อขนาดรองลงมา ส่งน้ำเพียงบางส่วนของแปลง
3. ท่อย่อย(Lateral pipe) เป็นท่อขนาดเล็ก ส่งน้ำเฉพาะแถวของต้นไม้ ซึ่งมีต้นไม้ไม่กี่ต้น
ตัวอย่างภาพการต่อระบบท่อ
ภาพที่ 1
แบ่งการให้น้ำเป็น 4 โซน แต่ละโซน มีประตูน้ำ คือ ที่1 , ที่2 , ที่ 3 และ ที่ 4
ดังนั้น แต่ละโซน ให้น้ำ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด
**ท่อย่อย สีดำ ตามแถวพืช แต่ละเส้น ยาว จึงต้องใช้ท่อใหญ่กว่าภาพที่ 2
ภาพที่ 2
แบ่งเป็น 4 โซน แต่ละโซนรับผิดต้นไม้ 1/4 ของสวน แต่วางท่อรองประธาน ห่างกัน ทำให้
ท่อย่อย แต่ละเส้นสั้นกว่า ภาพที่ 1 (นับจากท่อแยกไป) จึงใช้ท่อขนาดเล็กกว่า ภาพที่ 1 ได้
ทั้ง ภาพที่ 1 และ 2 จำนวนแถวต้นไม้ ระยะแถว ระยะต้น เท่ากันทุกประการ
ภาพที่ 3
พื้นที่แคบและยาว ดังนั้นจึงวางท่อประธานและรองประไว้ข้างแปลง ส่วนท่อย่อยวาง
ตามแนวที่แคบ และแบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน ดังนั้นท่อรองประธานยาว จึงต้องใช้ท่อใหญ่กว่า
ภาพที่ 4
ภาพที่ 4
แบ่งเป็น 4 โซน ดังนั้นท่อรองประธานแต่ละช่วง สั้นกว่า จึงใช้ท่อเล็กกว่าได้
การที่เราต้องแบ่งโซนให้เล็กๆ เพราะ
สมมตว่า ภาพที่ 3 เปิดที่เดียวพร้อมกันทั้งแปลง นาน 20 นาที ภาพที่4 เปิดน้ำให้ที่ละโซน ๆ ละ 20 นที รวม 80 นาที การใช้งานจะมีลักษณะดังนี้
1. การแบ่งโซนเล็กๆ ใช้ปัมป์ขนาดเล็กลง เช่น ภาพที่ 3 เราอาจใช้ปัมป์ ขนาดน้ำออก ชั่วโมงละ 1200 ลิตร แต่ภาพที่ 4 เราใช้ปัมป์ขนาดนำ้ออก เพียง 300 ลิตร
2. ใช้ท่อประธาน ท่อรองประธาน หรือท่อย่อย ขนาดเล็กลงเช่นกัน
จาก 2 ข้อ ทำให้ประหยัดค่าปัมป์ และท่อ
3. กรณีหน้าร้อน น้ำซึมขึ้นจากบ่อช้า เราใช้ตามภาพที่ 3 น้ำจะหมดบ่อก่อนเวลา 20 นาที แต่ถ้าใช้าพที่ 4 ใช้น้ำน้อยกว่า ดังนั้นเราสูบน้ำต่อกันไป 80 นาที ตาน้ำไหลขึ้นมาทัน
คราวนี้ มาพูดถึงขนาดท่อประธาน และรองประธาน
**ท่อขนาดเล็กกว่า ในความยาวเท่ากัน จึงเกิดแรงดันน้ำสูญเสียมากกว่าท่อขนาดใหญ่ จึงทำให้ แรงดันน้ำปลายท่อไม่พอให้มินิสปริงเกลอร์หมุนได้
**ฉะนั้นอย่าลดขนาดท่อประธาน เช่น จาก 2 นิ้ว เหลือ 1.5 นิ้ว เหลือ 1 นิ้ว และปลายสุดเหลือ 3/4 นิ้ว ควรใช้ขนาด 2 นิ้ว ตลอด แรงดันน้ำจะลดลงน้อยกว่า
ภาพที่ 5 แสดงความดันสูญเสียในท่อยาว 100 เมตร
ตามภาพ สมมตว่า ต้องการน้ำออก ชั่วโมงละ 2 ลบ.เมตร ใช้ท่อยาว 100 เมตร ถ้า
1. ใช้ท่อ 1/2 นิ้ว แรงดันปลายท่อลดลง 40 เมตร น้ำไม่มีแรง
2. ใช้ท่อ 3/4 นิ้ว แรงดันปลายท่อลดลง 10 เมตร น้ำเหลือแรงดันน้อย
3. ใช้ท่อ 1 นิ้ว แรงดันปลายท่อลดลง 3.5 เมตร แรงดันน้ำเหลือมากพอ
4. ใช้ท่อ 1 1/4 นิ้ว แรงดันปลายท่อลดลง 0.7 เมตร
5. ใช้ท่อ 1 1/2 นิ้ว แรงดันปลายท่อลดลง 0.35 เมตร
ตามตาราง จะเห็นว่า การใช้ท่อขนาดเล็ก จะเกิดแรงเสียดทานในท่อมาก ทำให้น้ำที่ออกมามีแรงดันน้ำเหลือน้อย ไม่พอให้หัวมินิสปริงเกลอรืหมุนได้ นะครับ
**ฉะนั้นจากความคิดที่ว่า ท่อยิ่งรีดให้เล็กลง น้ำยิ่งออกแรง เป็นความเข้าใจผิด แต่ถ้าเราใช้ ท่อ 1.5 นิ้ว ยาว 100 เมตร แล้วรีดปลายท่อให้มีขนาดเล็ก 1/2 นิ้ว ยาวเพียง 2-3 นิ้ว น้ำพุ่งแรงแน่**
- บล็อกของ นายบุญลือ
- อ่าน 16707 ครั้ง
ความเห็น
ชวิน
2 พฤศจิกายน, 2010 - 20:48
Permalink
ขอบคุณครับ
ไว้ต้องเข้ามาปรึกษา เรื่องการวางท่อน้ำ บ้างแล้ว
พอเพียงเพื่อเพียงพอ
jabee_68@hotmail.co.th
นายบุญลือ
2 พฤศจิกายน, 2010 - 20:52
Permalink
ครับ
ช่วงนี้สบายมาก ผมว่างงานแ้ล้วครับ
prasatk
2 พฤศจิกายน, 2010 - 22:00
Permalink
สอบถามครับ
ผมขอบสอบถามความเห็น ระหว่าง ปั๊มหอยโข่ง กับ ปั๊มชัก ในด้านความประหยัดและประสิทธิภาพ ผมใช้สำหรับรดน้ำผัก (ฟักแม้ว) เนื้อที่ประมาณ 2 งาน ซึ่งตอนนี้ผมใช้ปั๊มหอยโข่งขนาด 1 hp.ใช้สปริงเกอร์สลับรด 4 ครั้ง ใช้เวลามาก เป็นชั่วโมงจึงทั่วแปลง พื้นที่ลาดชันเล็กน้อย อันไหนเหมาะกว่ากันครับ /ประสาท.- email:prasatk777@gmail.com
นายบุญลือ
2 พฤศจิกายน, 2010 - 22:17
Permalink
ต้องมีข้อมูล แรงดัน และ ค่า Q ของปัมป์
คุณ prasatk ครับ เพียงข้อมูล ปัมป์ 1 แรงม้า คงตอบอะไรไม่ได้ เพราะ
1. ต้นฟักแม้ว มีกี่ต้น กี่หลุม
2. หัวฉีด ขนาด กี่ลิตร/ชม. กี่หัว
3. ปัมป์ ค่า H และ Q เท่าใด
อย่างน้อยต้องรู้ข้อมูล 3 อย่างนี้ จึงพอจะให้คำตอบได้บ้าง
สำหรับพื้นที่ 2 งาน ใช้ปัมป์ 1 แรง รดน้ำสลับกัน 4 ครั้ง
แสดงว่า ครั้งหนึ่ง รดน้ำในพื้นที่เพียง 200 ตารางเมตร ( 10 X 20 เมตร)
คิดคร่าวๆ ก็น่าจะใช้ปัมป์ใหญ่เกินไป หรือใช้หัวปล่อยน้ำที่น้ำออกมากเกินไป
ปกติผมคิดว่า ฟักแม้ว 1 ต้น ถ้าได้รับน้ำ วันละ 20 ลิตร ก็เหลือเฟือแล้ว
ดาวเรือง
2 พฤศจิกายน, 2010 - 22:24
Permalink
ความรู้ทั้งนั้น
ถ้ามีสวนของตัวเองคงต้องปรึกษาบ้างแล้วล่ะค่ะ ต้องไปเข้าคิวยาวเหยียดแน่นอนค่ะ
รัตนพงษ์
3 พฤศจิกายน, 2010 - 00:38
Permalink
หลักการดีมาก
ขออนุญาตินำไปศึกษาและปรับใช้การการทำงานจริงในสวนครับ ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ที่ดี ผมอ่านในหนังสือคำนวณอยากมาก ปวดหัว แต่ดูที่นี่แล้วพอเลาๆ อาจจะต้องนำไปปรับบ้าง ขอบคุณครับ
มิตรภาพไร้พรมแดน
นายบุญลือ
3 พฤศจิกายน, 2010 - 07:26
Permalink
ตัวสุดท้าย คือ หัวปล่อยน้ำ
คุณรัตนพงษ์ ครับ นี้ เฉพาะ ระบบท่อ ครับ
ถ้านำ เรื่อง แหล่งน้ำ ปัมป์ ระบบท่อ และ หัวปล่อยน้ำ มาติดต่อกัน แล้ว จะได้ระบบน้ำ ที่ทุกคนสามารถทำได้ ง่ายๆ ครับ
รอ บล็อคต่อไป เกี่ยวกับ หัวปล่อยน้ำครับ
ทุกอย่างที่นำมาแนะนำ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ บอกหรือแนะนำคนอื่นๆ ต่อไปได้เลย
ใบเตย
3 พฤศจิกายน, 2010 - 11:14
Permalink
กำลังหาข้อมูลเรื่องการว่างท่อน้ำเหมือนกัน
ขอบคุณมากนะคะ กำลังคิดจะทำสวน และวางระบบท่อน้ำอยู่ เป็นคำแนะนำที่ดีมากเลยค่ะ
วัฒนา เปรมจิตร
5 พฤศจิกายน, 2010 - 18:38
Permalink
ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันครับ
จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ครับ
ทรัพย์สมบัติ คือภาระของความใหญ่โต สวัสดิภาพ คือความสมบูรณ์ ของชีวิต ดร กรุณา กุศลสัย
อยากพอดี
3 เมษายน, 2013 - 12:18
Permalink
Re: ระบบท่อ
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ
หน้า