อนุรักษ์ภาษาถิ่น

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    ได้แรงบันดาลใจจากพี่เล็ก ที่พยายามนำภาษาถิ่นใต้มาเสนอ ก็เลยคิดว่าเรามีแบบฟอร์มไว้สำหรับกรอกภาษาถิ่นก็น่าจะดี เลยทดลองทำให้ได้ทดลองใช้กัน ที่

http://www.bansuanporpeang.com/node/6978

ทดลองกรอกไปก่อนครับ ส่วนเรื่องการนำมาใช้หรือการนำมาแสดงผลให้ดูง่าย เก็บไว้เป็นการบ้านก่อน

ความเห็น

Laughingเคยได้ยิน เจี้ยนไข คือ ทอดไข่


                  เจี้ยนสี่  คือ  ตะหลิว


          เจี้ยนสี่ ในปัจจุบันแถวบ้านผมยังใช้ปกติ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ถ้าอยากรู้จักภาษาใต้มากๆ ต้องไปคุยกับคนแก่ๆครับ จะได้เยอะมากเพราะภาษายังไม่เพี้ยน


เดี่ยวนี้มีคำที่เป็นภาษากลางมาแทนเยอะแต่เป็นสำเนียงใต้


 

ว่าออออ นุ่งกางเกงขายาวสาวไม่ชอบพี่น้องเหอ คนถือจอบมาดแมนนั้นแหละแฟนฉาน นะสาวเหอ

มุ้งมิ้ง คำนี้ น่าจะยังไม่ลืมกันนะ

งงนิ คุณพ่อแปลให้ด้วยต่ะ

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

น้องมะโหน่งผมแปลแทนน้องดมให้นะ(แย่งซีนเขาเฉย) มุ้งมิ้งคือพลบค่ำ หวัน(ตะวันหรือดวงอาทิตย์) ตะวันพลบค่ำดวงอาทิตย์ตกดินแต่ยังพอมองเห็นทางเดินบ้างนิดหน่อยไม่ถึงกับมืดสนิท คือใกล้ๆจะมืดว่างั้นเถอะ

กรอกลงฟอร์มไปเลยครับพี่ดม

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการอนรักษ์ ภาษาถิ่นใต้

แต่ขอเสนอแนะ 2 ข้อ คือ

1. เขียนสะกดคำ วรรณยุกต์ ให้ตรงกับสำเนียงเดิมที่สุด อย่าเขียนคำภาษากลาง เช่น

    หมุ่งหมิ่ง น่าจะออกสำเนียงตรงกว่า มุ้งมิ้ง ซึ่งฟังเป็นภาษากลาง

    แล่งต๊าย น่าจะออกสำเนียงตรงกว่า แหลงใต้ ซึ่งเป็นภาาากลางแน่ๆ

    หน้ามหงับ น่าจะออกสำเนียงตรงกว่า หนามงับ ซึ่งเป็นภาษากลาง

2. ควรระบุถิ่น หรือจังหวัดด้วย เพราะแต่ละถิ่น สำเนียงจะเพี้ยนกันไปเรื่อยๆ เช่น

    ตะหลิว คุณเสิน  ใช้ เจี้ยนสี่

               ยายอิ๊ด  ใช้ เจี้ยนที่

               ปะนาเระ ใช้ เจียนฉี

               ภูเก็ต     ใช้ เกี่ยนสี

    การที่เราพยายามเขียน สะกด ใช้วรรณยุกต์ถูกต้อง เวลาคนภาคอื่นมาอ่าน เขาก็จะอ่านตามเสียงวรรณยุกต์ที่เราเขียน เสียงก็จะไม่เพี้ยน คงสำเนียงได้ถูกต้อง นะครับ

    นี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ  ซึ่งคิดว่าจะทำให้สำเนียงใต้ไม่เพี้ยนไปมากนัก  แต่เขียนยากสักหน่อย  คนอ่านก็อ่านยาก  แต่อ่านแล้วเพี้ยนน้อย

ขอบคุณมากค่ะ เป็นคำแนะนำที่ดีมากค่ะ จะพยายามให้ดีที่สุดค่ะ ต้องพันหนี่...ฉ๋ายด้ายม้าย

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

     พันหนี่และ  พอฉ่ายด๊าย


   สำเนียงแบบนี้ค่อนข้างเหมือนมากๆ  ครับ


   (บางคำแม้ว่าจะสะกดอย่างไรก็ตาม  เสียงก็ไม่เหมือนทีเดียวครับ  แต่เกือบเหมือนมากๆ)


 


 

- ฝนตก ๆ แถวบ้านเติ้น แพล็ด ๆ หม้ายห่ะ...ไปหมกหัวมันที่บ้านน้องแอนหวา


- อย่าหล๊อก ๆ แรงทิ แขบไปไหนห่ะผู้ใหญ่


 พอใช้ได้หม้าย....ยากพอ ๆ กับภาษาประกิดหมึงท่า


 

หน้า