กินเค็ม อันตราย
จากการที่ผมเข้าโรงพยาบาล มอ. เมื่อกลางปีนี้ ได้รวบรวม เรื่องปริมาณเกลือในอาหาร จาก ฝ่ายโภชนการ ของโรงพยาบาล มาเล่าสู่กันฟังดังนี้
ปริมาณโซเดียมที่มีในเครื่องปรุงรส
เครื่องปรุงรส ปริมาณ โซเดียม(มิลลิกรัม)
น้ำปลา 1 ช้อนชา 465-600
ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ 960-1,420***
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ 1,150**
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ 420-490
น้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนโต๊ะ 202-227
ซอสพริก 1 ช้อนโต๊ะ 220
ผงชูรส 1 ช้อนชา 492
ผงฟู 1 ช้อนชา 339
ปริมาณโซเดียมที่มีในอาหารต่างๆ
อาหาร ปริมาณ น้ำหนัก(กรัม) โซเดียม(มิลลิกรัม)
ปลาสลิดหมักเกลือ 1 ตัว 40 1,288***
เนื้อปลาทูทอด ½ ตัว(กลาง) 100 1,081**
น้ำพริกกระปิ 4 ช้อนโต๊ะ 60 1,100**
น้ำปลาหวาน 1 ช้อนโต๊ะ 10 191
เต้าหู้ยี้ 2 อัน 15 560
น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ 15 275
ผักบุ้งใส่เต้าเจี้ยว 1 จาน 150 894
ปอเปี้ยะสด 1 จาน 150 562
น้ำพริกกลางดง 2 ช้อนโต๊ะ 15 170
บะหมี่สำเร็จรูป 1 ห่อ 50 977**
บะหมี่หมูแดง 1 ชาม 350 1,480***
ข้าวผัดหมู 1 จาน 295 416
ข้าวต้มหมู 1 ชาม 390 881
ก๊วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว 1 จาน 354 1,352***
บะหมี่ราดหน้าไก่ 1 ชาม 300 1,819***
ปอเปี้ยะทอด 1 จาน 60 235
ผัดผักบุ้งน้ำมันหอย 1 จาน 110 426
ปลากะพงนึ่ง 1 ชิ้น 50 110
แกงส้มผักรวม 1 ถ้วย 100 1,130
ส้มตำ 1 จาน 100 1,006**
เบคอน 1 ชิ้น 6 101
แฮม 1 ชิ้น 30 395
ก๋วยเตี๋ยวหมูสับ 1 ชาม 300 1,450***
ข้าวราดปลาผัดฉ่า 1 จาน 240 1,117**
แฮมเบอร์เกอร์ 1 ชิ้น 98 463
ข้าวโพดแผ่นอบ 15 ชิ้น 30 177
ต้องจำไว้นะครับ ว่า”ร่างกายต้องการปริมาณโซเดียม ไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม” ฉะนั้นอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมาก ต้องลดปริมาณให้น้อยลง หรือเว้นบ้าง เช่น กินส้มตำ วันละ 2 จาน ได้รับโซเดียม 2,012 มก. เกิน
กินก๋วยเตี๋ยวหมูสับ วันละ 2 ชาม ได้รับโซเดียม 2,900 มก. เกิน
ปลาสลิดหมักเกลือ วันละ 2 ตัว ได้รับโซเดียม 2,576 มก. เกิน
บะหมี่สำเร็จรูป วันละ 2 ห่อ ได้รับโซเดียม 1,954 มก. มาก
การได้รับเกลือมากเกินเกณฑ์ นอกจากท่านจะมีโอกาสได้ล้างไตแล้ว ยังมีผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งสองโรคนี้ มีผลทำให้เกิดอาการของโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
ฉะนั้นจากตัวเลขที่นำมาให้ดู ใครที่กินอาหารที่มีเกลือ มากๆ เป็นประจำทุกๆวัน ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการกินเสียครับ เว้นบ้าง กินให้น้อยลง กินของจืดแทน
เพื่อสุขภาพของทุกๆ คน โปรดระวัง หลีกเลี่ยง กินจืดให้มากขึ้น
- บล็อกของ นายบุญลือ
- อ่าน 8243 ครั้ง
ความเห็น
นายบุญลือ
30 พฤศจิกายน, 2010 - 14:09
Permalink
ครับ
เมื่อเช้าผมก็ฟังพอดี
นึกขึ้นได้ว่าเราก็เคยเขียนเรื่องนี้ จึงเอาบทความที่ผมเขียน แจกในงานเกษียณอายุ เมื่อ กย. 53 มาให้ สมช. ดูกัน โดยเฉพาะ ตัวเลขที่ มีค่าโซเดียมสูงมากๆ
ตองอู
30 พฤศจิกายน, 2010 - 13:50
Permalink
พี่บุญลือ..^__^..
แย่แล้วล่ะ...อูอ่ะขาดเค็มไม่ได้เลย..>>__<<..
MSN/MAIL/HI5 : Tongau_oomsin[at]hotmail[dot]com
นายบุญลือ
30 พฤศจิกายน, 2010 - 14:06
Permalink
ฮื่อ
ทำไม เพียงแค่นี้ อูจะทำไม่ได้ จิ๊บจ้อยมาก
chai
30 พฤศจิกายน, 2010 - 13:53
Permalink
อาจารย์บุญลือ
ขอบคุณมากครับที่นำข้อมูลดีมาบอกกัน
ผมคนหนึ่งละครับที่ทานรสจัดมาก
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
มนต้นกล้า
30 พฤศจิกายน, 2010 - 13:56
Permalink
ง่า....ซีอิ้วขาว
นึกว่า น้ำปลาเค็มกว่า จะมีผลกับไตมากกว่า
เอ๋เลยเลี่ยง มากินซีอิ๊วขาวแทน :bad-atmosphere:
จะให้เลิกคงยาก ติดนิสัยตั้งแต่เด็กอ่ะค่ะ
งั้นตอนนี้เอาแบบติดปลายช้อนนิดๆแล้วกันเนอะ :bye:
ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน
นายบุญลือ
30 พฤศจิกายน, 2010 - 14:04
Permalink
ต้องให้ได้อย่างนี้ซิ
ครับ เยี่ยมมาก เลิกไม่ได้ แต่เพียงติดปลายช้อนนิดๆ
แค่นี้ก็ปลอดภัยกว่าเดิมหลาย 100 %แล้วครับ
มาย
30 พฤศจิกายน, 2010 - 14:15
Permalink
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ อ.บุญลือ ที่นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปัน
ส่วนตัวจะต้องระวังมากขึ้นแล้วล่ะ โดยเฉพาะเรื่องการกินเค็ม..
there is a will , there is a way .
จันทร์เจ้า
30 พฤศจิกายน, 2010 - 15:47
Permalink
รู้หละ
แต่ทำไม่เคยได้เลย ซักที อิอิ
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
ข้าวเหม่า
30 พฤศจิกายน, 2010 - 19:00
Permalink
ยากมากเลยค่ะ ลดเค็มนี่
ยากมากเลยค่ะ ลดเค็มนี่ เพราะเป็นคนชอบอาหารรสจัด แต่ต้องพยายามแล้วค่ะ
น้อย สวนบุรีรมย์
30 พฤศจิกายน, 2010 - 19:14
Permalink
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ ขออนุญาตก๊อปเก็บไว้ด้วยนะครับ
เกลือบางตัวมันอันตรายมากเพราะมันไม่เค็ม ใส่กันทีละช้อนสองช้อนเลย อันนี้ต้องระวังมันมาแบบไม่รู้ตัว
สวนเกษตรบุรีรมย์การเกษตรแบบเสาร์เว้นเสาร์ เน้นที่เราปลูกเองกินเอง
บริการจัดทำและดูแลเว็บไซต์ ถูก ดี มีประสิทธิภาพ
หน้า