พืชผักในบ้านสวนพอเพียง : หมักหมก, หมากหมก

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     ต้นไม้ชนิดนี้จะชื่อ หมักหมก หรือหมากหมก เท่าที่ค้นดูชื่อที่ถูกต้องเห็นจะเป็น "หมากหมก"  แต่ผมเรียก "หมักหมก" มาตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ประทับใจหมักหมกมาตั้งแต่เด็กคือ คือความอร่อยของแกงเลียงหมักหมก ซึ่งเอาผักเหมียงมาแลกก็ไม่ยอม จริงๆ ครับ เพราะถ้าเอาหมักหมกมาแกงเลียง จะอร่อยกว่าผักเหมียงเป็นไหนๆ  แต่หมักหมกไม่ได้ปลูกง่ายอย่างผักเหมียงนี่ซิครับ มันถึงหากินได้ยาก ไม่มีใครปลูกได้สำเร็จ ที่ได้กินอยู่ก็มันขึ้นเองตามธรรมชชาติ ผมพยายามที่จะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ก็ต้องผมแพ้ไปยกหนึ่งแล้ว ว่าจะลองใหม่อีกซักยก ถึงแม้ว่าจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้แต่มันเป็นพืชที่โตช้าเอามากถึงมากที่สุด

ดอกหมักหมก

ต้นหมักหมกในสวนซึ่งผมคาดว่าต้นนี้อายุน่าจะพอๆ กับผม หรือมากกว่าผม

อันนี้ใบแก่นะครับแบบนี้เอามาแกงเลียงไม่ได้

ลูกหมักหมกที่ยังไม่สุก

ลำต้นของหมักหมก

กิ่งหมักหมก

    พื้นที่บ้านผม 5 ไร่มีหมักหมกประมาณ 10 ต้นเห็นจะได้ ทั้งรักทั้งหวงเลยครับ เพราะปีหนึ่งจะได้กินแกงเลียงหมักหมกแค่ไม่กี่ครั้งเอง

เนื้อหาทางวิชาการที่ผมค้นหารมาได้จาก http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.
 
ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 – 2 เมตร  ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ  รูปยาวรีปลายแหลม   หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียม กว้างประมาณ 3 –7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง     ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง   ช่อหนึ่งมี 3-5
 ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์

    ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด  หรือใช้หัวตากให้แห้ง บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง  ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง    ราก(หัว)  กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ 

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

หมายเหตุ: ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา)  จะพบเห็นหมากหมกได้
ตามบริเวณ สายดม แนวเขตบ้าน   ปัจจุบันพบเห็นบ้าง  เฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

 

ความเห็น

หมากหมกแตกยอดสวยเลยค่ะ อย่างนี่ต้องแกงเลียงให้อร่อยไปเลย เป็นที่น่าสังเกตุว่า ใบหมากหมกเวลาแกงเลียงจะเขียวตลอดเลย อร่อยมาก ๆ

Laughing  แกงเลียงผักหมากหมก น่าอร่อยนะคะ ทานเผื่อบ้างนะคะ  ดอกชบาสีสวยๆๆมีหลากหลายสีนะคะ

       Laughing มีผลสีแดงสีเหลืองน่าทานได้ น่าอร่อยดีนะคะ ท่านประธานแจ้วบอกเอาไว้ ภาคอิสานแถวๆๆบ้านไม่เคยเห็นเลยคิดว่าไม่มีเลยจ้า

เข้ามาเก็บข้อมูลครับพี่ๆๆสมาชิกทุกท่าน

ที่บ้านผมไม่มีครับถ้าใค่รมีช่วยแบ่งปันให้กระผมเอาไปทำพันธ์สักเม็ดสองเม็ดนะครับ

ขอบคุณครับ

เงินทองเป็นมายาข้าวปลาเป็นของจริง

toy_za2519@hotmail.com

แกงเลียงหมากหมก แล้วก็ยำลูกมุด 

เมื่อเด็ก ๆ มีเต็มสวนยาง ตอนนี้หายากจริง

ยังมีผักอีกอย่าง ในสวนยางที่บ้านเก็บมาแกงเลียงกับหมากหมก

จำได้ว่าที่บ้าน เรียกดูเด  บ้าน ผญ.มีมั้ย  

จำได้แต่ชื่อ นึกหน้าตาไม่ออกแล้ว

อยากได้มาปลูกทางเหนือบ้างครับผู้ใหญ่ ท่านใดมีขอแบ่งหน่อยนะครับ

ของป่ามีมากมายที่มีประโยชน์ น่าชื่นใจที่มีคนอนุรักษ์ ร่วมด้วยค่ะ

:admire: :cheer3: น่าสนใจครับ

หน้า