พาเที่ยวป่ายาง...
เคยอ่านบล็อกการทำสวนยางให้เป็นป่ายางของผู้ใหญ่โสทรแล้วมีความรู้สึกอยากทำบ้าง แต่พอไปดูป่ายางของแม่ผมนั้นไม่ต้องทำให้เป็นป่าเลยครับเพราะมันเป็นป่าของมันเองอยู่แล้ว ไม่ต้องไปปลูกมัน เพียงแต่ของที่เห็นว่ามีประโยชน์เราไม่ไปทำลายมันไปครับไปเที่ยวป่ายางกัน...
รกๆแบบนี้แหละครับจึงเรียกว่าป่าในป่ามีไผ่ป่าครับเมื่อก่อนขึ้นมาแม่จะฟันทิ้งหมดเพราะกลัวไปแย่งปุ๋ยต้นยาง หลังๆขึ้นมาเยอะเกินเลยขี้คร้านฟันจึงปล่อยซะ จนเดี๋ยวนี้มีหน่อไม้ให้เก็บกินเป็นประจำ แบ่งปันให้เพื่อนบ้านมาหาไปก็เยอะ ความ"ขี้คร้าน"ก็มีประโยชน์เหมือนกันเห็นไหมครับ
ในความรกมี"ยันหนัด"ครับเอามาแยงๆไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มปลูกยางใหม่ๆจนเดี๋ยวนี้ยางจะโค่นแล้วยังมีให้เก็บกินเพราะเก็บแล้วไม่เคยเอาหัวจุกกลับบ้านยังคงแยงๆไว้เหมือนเดิมโดยเคล็ดลับอยู่ที่การแยงต้องเอาเท้ากระทืบตามหนักๆ 1 ที 555
หมากเม่าครับ ไม่ได้ปลูกเหมือนกันอยู่เคียงคู่ต้นยางมาแต่ไหนแต่ไรมีอยู่ 3-4 ต้นพอให้เก็บกิน เอายอดมาแกงเลียงเคยกับปลาย่าง หรือต้มกะทิกับปลาหมึก"หรอยแรง" จะสังเกตว่าในป่ายางมีต้นเทียมหรือสะเดาช้างขึ้นอยู่ทั่วๆไปทั้งหมดดำเนินการปลูกโดยค้างคาวครับ
อันนี้ชอบมากต้นกุ่ม(กุ่มน้ำ) เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีที่ไหนให้เห็นแล้วแต่ยังมีอยู่ในป่ายางของแม่ผมขึ้นอยู่ตลอดริมห้วยออกยอดพร้อมดอกให้เก็บกินปีละครั้งในช่วงหน้าแล้ง ยอดอ่อนและดอกเอามาดองกับน้ำซาวข้าว ดองเสร็จใส่น้ำตาล"หนอยๆ" รสเปรี้ยวๆหวานขอบอกว่า"หรอยจังหูพี่น้องเห้อ" เอาผักเสี้ยนดองมาแลกก็ไมยอม
หมากหมกก็มีครับ เอาใบมาแกงเลียงเคยแล้วเอามาซด"ได้แรงอกหนัด"
ระกำครับเคยปลูกไว้ที่บ้านแม่บอกไม่ดีกลัวมีกรรมติดบ้าน กินแล้วรู้สึกหวานดีก็เลยเอาเมล็ดมาโยนๆทิ้งไว้ในป่ายางมันขึ้นของมันเองอีกแล้วครับท่าน เฮ้ยแล้วมันจะเกี่ยวกับกรรมยังไงเนี่ย
ดอกโมกแดง ดอกไม้สวยๆประจำป่ามีอยู่หลายต้นในป่ายางดอกมีกลิ่นหอมชวนให้หลงไหลผมชอบเด็ดมาดอมดมเป็นประจำเวลากรีดยางเสร็จช่วยให้หายเหนื่อยได้เยอะครับ
เพราะเป็นป่าเลยมีของติดไม้ติดมือกลับบ้านเป็นประจำ ทั้งหมดเกิดจากการแยง โยน แล้วก็ปล่อยครับไม่ได้ปลูกแต่อย่างใดและเชื่อหรือไม่ว่าป่ายางของแม่ผมมีการใส่ปุ๋ยน้อยมากบางปีก็ไม่ได้ใส่เลยแต่ทำไมน้ำยางยังออกได้ออกดี ปุ๋ยก็มาจากพวกใบไม้กิ่งไม้นาๆพันธุ์หล่นทับถมกันโดยมีพวกจุลินทรีย์ต่างๆเป็นผู้ย่อยสลายนั่นเหละครับ แล้วเคยเห็นมีไครบรรทุกปุ๋ยไปใส่ป่ากันบ้างล่ะครับแต่ทำไมสภาพดินตอนเปิดป่าใหม่จึงได้ดีนักหนา
- บล็อกของ Yo
- อ่าน 4992 ครั้ง
ความเห็น
ก้อยกิ่ง
19 พฤษภาคม, 2011 - 17:40
Permalink
ป่าสวนยาง
ในสวนยางมีครบครัน ทั้งหญ้ามากมาย ผลไม้เยอะแยะ ดอกไม้นานาชนิด ต้นยางต้นก็โต๊ โต เอาไว้ก้อยกลับบ้านจะถ่ายมาให้ชมกันบ้างนะคะ สวนยางรกๆๆเหมือนกันค่ะ
Kunlaya
19 พฤษภาคม, 2011 - 18:13
Permalink
เที่ยวป่ายาง
เปิ้ลเคยเห็นสวนยางแถวระยอง ระหว่างรอ่งยาง มันเตียนโล่งมาก ๆ แม้แต่หญ้ายังไม่ขึ้นเลย
แต่สวนยางของคุณโย เป็นป่ายางจริง ๆ ด้วยคะ ร่มรื่น กว่ากันเย๊อะเลย
อยากลงไปเป็นเกษตรกร แต่ยังไม่กล้าทิ้งชีวิตมนุษย์เงินเดือนคะ
Yo
19 พฤษภาคม, 2011 - 19:30
Permalink
เหมือนกันครับ
ส่วนใหญ่สวนยางแถวๆบ้านผมก็โล่งเตียนเหมือนกันหมดทุกเจ้าครับ มีแต่สวนของผมนี่แหล่ะที่รกผิดหูผิดตาอยู่เจ้าเดียว ยางเล็ก 2-3 ปีของผมก็รกเหมือนกันครับแต่มีการจัดสรรพื้นที่ในการปลูกพืชต่างๆแซมเข้าไป ไม่ปล่อยให้ขึ้นแบบธรรมชาติเหมือนยางใหญ่ วันหลังเดี๋ยวจะเก็บภาพป่ายางเล็กมาให้ชมกันบ้างนะครับ
วิถีพอเพียงคือวิถีแห่งความสุข
sothorn
19 พฤษภาคม, 2011 - 18:46
Permalink
แบบนี้แหละ
แบบนี้แหละที่ผมต้องการ
ขอบคุณครับที่นำภาพมาให้ชม
Yo
19 พฤษภาคม, 2011 - 20:18
Permalink
ด้วยความยินดี
ด้วยความยินดีครับ แต่ผมว่าอีกหน่อยป่ายางของผู้ใหญ่ต้องรกกว่านี้แน่ๆเพราะว่าของแม่ผมอีกไม่กี่ปีก็จะโค่นขายไม้ยางแล้วคงต้องสร้างป่าใหม่กันอีกเรา ว๊าเสียดายจัง
วิถีพอเพียงคือวิถีแห่งความสุข
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
19 พฤษภาคม, 2011 - 19:03
Permalink
คุณ สหายโย
สววนป่ายางนี้น่าเที่ยวมาก มีหลายอย่างให้ดูเพลิน ไม่โล่งๆเตียนๆ แบบนั้น ชวนวังเวง
Yo
19 พฤษภาคม, 2011 - 19:57
Permalink
วังเวง
วังเวงเพราะสวนโล่งเตียน หรือวังเวงเพราะเป็นป่ารกกันละครับคุณสหายแก้ว
รกๆแบบนี้แหละเวลากรีดยางตอนดึกๆชวนวังเวง
วิถีพอเพียงคือวิถีแห่งความสุข
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
19 พฤษภาคม, 2011 - 20:03
Permalink
กรีดยางตอนดึก
ระวังงูมานะคะ ท่าทางมีจะสะสมไว้อยู่หลายกันนะเนี่ย
วันดี
19 พฤษภาคม, 2011 - 19:03
Permalink
ป่ายางจริงๆ
เห็นภาพที่ 1-2 คิดว่าใครแอบถ่ายภาพสวนเรา อิอิ.. เป็นป่ายาง แบบนี้เดะเลยคะ
เพราะมีสาระพัดเช่นกัน ว่างๆจะเข้าไปถ่ายภาพ ต้นเต่าร้างมาให้ดู
Yo
19 พฤษภาคม, 2011 - 19:26
Permalink
ต้นเต่าร้าง
เฮ้ ต้นเต่าร้างเป็นยังไงเหมือนๆกับในป่ายางของผมจะมีแต่ไม่รู้จักอิอิ...ชักอยากเห็น รีบๆถ่ายมาให้ดูนะครับ
วิถีพอเพียงคือวิถีแห่งความสุข
หน้า